วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

พระหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา


พระหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
วัดเขาอ้อ แต่เดิมเป็นสำนักเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ล้วนแต่มีพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางไสยเวทย์มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้ ชื่อเสียงของ "ศิษย์" ในสายสำนักวัดเขาอ้อยังคงมีสืบสายต่อกันมาอย่างไม่ขาดระยะ แม้ว่าวัดดอนศาลาจะสิ้นพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ไปเมื่อปี พ.ศ. 2517 แต่ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2506 ศิษย์ฆราวาสสายสำนักวัดเขาอ้อ นาม "นำ แก้วจันทร์" ก็ได้เดินทางสู่ร่มกาสาวพัสตร์
เป็นพระอาจารย์นำ ชินวโร ที่โดดเด่นยิ่ง ซึ่งหากกล่าวถึงการศึกษาร่ำเรียนในสายสำนักวัดเขาอ้อแล้ว พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ ก็เป็น "ศิษย์" ร่วมสมัยเดียวกับพระครูสิทธยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) แห่งวัดดอนศาลา และพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม แห่งวัดเขาอ้อ
เหนืออื่นใดพระอาจารย์นำ ชินวโร เป็นบุตรชายของพระอาจารย์เกลี้ยง แก้วจันทร์ ผู้เป็นศิษย์สำนักวัดเขาอ้อร่วมยุคพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (ทองเฒ่า)
พระอาจารย์เกลี้ยง แก้วจันทร์ เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันกับพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ผู้เป็นอาจารย์คือ พระอาจารย์เอียด เหาะได้ แห่งวัดดอนศาลา หากอาวุโสของพระอาจารย์เกลี้ยงอ่อนกว่าพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (ทองเฒ่า)
พระหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลาเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ในทุกด้าน และที่โดดเด่นในเรื่องพุทธคุณเป็นเหรียญเนื้อโลหะบ้านเชียง ของเก่าโบราณนับพันปี ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักที่มีเฉพาะเหรียญรุ่นนี้เท่านั้น เอกลักษณ์สำคัญของเนื้อโลหะบ้านเชียง ที่ปรากฏอยู่บนผิวเหรียญอย่างเห็นได้ชัด คือ ผิวเหรียญจะกระดำกระด่างทุกเหรียญ และรอยกระดำกระด่างนั้นจะปรากฏบนผิวแต่ละเหรียญไม่เหมือนกัน นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเหรียญพระอาจารย์นำรุ่นนี้
ในการสร้างรูปเหมือนขนาดเล็กของท่านอาจารย์นำ ได้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และคณะผู้จัดสร้างได้มีความประสงค์นำเอารายได้ จากการบูชาไปสร้างถาวรวัตถุในวัดดอนศาลาเป็นการกุศล จึงได้กราบเรียนให้ท่านอาจารย์นำทราบถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างครั้งนี้ เมื่อทราบวัตถุประสงค์แล้วท่านอาจารย์นำก็ได้นั่งนิ่งอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า ถ้าจะสร้างก็ต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว เพราะชีวิตอาตมาใกล้เข้ามาแล้ว เกรงจะไม่ทันการ ทำเอาคณะผู้จัดสร้างนิ่งอึ้งไปตามๆกัน เพราะว่าขณะนั้นท่านอาจารย์นำก็กำลังอาพาธอยู่แล้วท่านอาจารย์นำก็ได้กล่าวต่อไปอีกว่า การสร้างนั้นเป็นสิ่งดี เพราะจะได้เป็นครั้งสุดท้าย แต่ขอให้รีบทำเถิด จากนั้นท่านก็ขอให้คณะผู้จัดสร้างนำเอาแผ่นโลหะมาให้ท่านเพื่อที่จะลงยันต์เป็นเชื้อชนวนในการสร้าง หลังจากที่ได้นำเอาแผ่นโลหะจำนวนมากไปให้ท่านอาจารย์นำตามที่ต้องการแล้ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๙ คณะผู้จัดสร้างก็ได้เดินทางไปรับแผ่นยันต์จากท่าน ซึ่งแผ่นยันต์เหล่านั้นท่านอาจารย์นำได้ลงไว้อย่างเรียบร้อย และได้กล่าวว่าลงให้สุดท้ายแล้ว”.นอกจากแผ่นยันต์ที่ท่านอาจารย์นำได้ลงจารให้ไว้ ยังมีชนวนศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง พร้อมทั้งพระบูชาสมัยเก่าที่ชำรุด และโลหะสมัยบ้านเชียงอีกเป็นจำนวนมากซึ่งคณะผู้สร้างได้นำไปถวายท่านอาจารย์นำปลุกเสกอีกครั้ง ก่อนที่จะทำการหล่อหลอม และท่านก็ได้ร่วมปลุกเสกพร้อมกับกล่าวว่าขอให้สร้างให้เสร็จเดือนหน้า เพราะใกล้เต็มที่แล้ว”(หมายถึงเดือนกันยายน) แต่ปรากฏว่า การดำเนินการสร้างในครั้งนั้นไม่อาจที่จะสร้างสิ้นในเดือนกันยายนได้ เพราะการจัดสร้างได้ทำอย่างพิถีพิถันที่สุด คณะผู้จัดสร้างจึงได้เดินทางไปกราบเรียนท่านอาจารย์นำว่า พระยังไม่เสร็จ เมื่อกราบเรียนแล้วปรากฏว่าท่านอาจารย์นำได้นั่งนิ่งไม่พูดว่าอะไร ตามองออกไปข้างหน้าในลักษณะที่ยากจะคาดเดาได้ว่าท่านคิดอย่างไร ทำเอาคณะที่ไปครั้งนั้นอึดอัดใจไปตามๆกัน ท่านนั่งนิ่งอยู่อย่างนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นก็กล่าวว่าเอาเถอะ!อย่าให้เกินเดือนตุลาคม พ่อจะรอ ถ้าเกินจากนั้นไม่รอแล้ว”.จากนั้นคณะผู้จัดสร้างก็ได้กลับไปดำเนินการสร้างต่อไป ซึ่งในการสร้างได้พิถีพิถันเรื่องเนื้อพระจะต้องออกมาสวยงาม จึงต้องเพิ่มทองคำและเงินลงไปอีกจำนวนมาก จนได้เนื้อเป็นที่พอใจ จากนั้นก็ได้เริ่มเทหล่อพระ ซึ่งได้รูปเหมือนขนาดเล็กทั้งหมดเพียง ๑,๖๐๐ องค์เท่านั้น



เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๙ พระได้หล่อเสร็จเรียบร้อย จึงได้รีบนำเอาพระไปที่วัดดอนศาลา เมื่อกราบเรียนให้ท่านอาจารย์นำทราบปรากฏว่าท่านรู้สึกดีใจจนเห็นได้ชัด จากนั้นก็ได้นำเอาพระไปวางไว้ในพระอุโบสถวัดดอนศาลา โดยเอาผ้าขาวคลุมพระไว้.ในวันที่๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เมื่อทุกอย่างจัดเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกคนก็เห็นว่าท่านอาจารย์นำ ซึ่งนอนมาหลายวันแล้วเพราะอาพาธอยู่ แต่วันนั้น ท่านกลับลุกขึ้นด้วยความสดชื่นกว่าปกติ แล้วก็ได้เข้าไปจุดเทียนชัย และนั่งเข้าสมาธิเพ่งพลังจิตปลุกเสก ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางคาถาอาคมของสายใต้เช่น พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง,พ่อท่านหมุน วัดเขาแดง,อาจารย์ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ฯลฯเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง ขณะที่กำลังปลุกเสกอยู่ด้วยความเงียบสงบภายในพระอุโบสถวัดดอนศาลา ท่ามกลางความเงียบที่ทุกคนนั่งชมพิธีอยู่นั้น ได้ปรากฏมีเสียงเปรี๊ยะดังออกมาจากกองพระเครื่องที่คลุมผ้าขาวในปริมณฑลพิธี แต่เนื่องจากพิธียังไม่เสร็จสิ้นจึงยังไม่มีใครไปเปิดดู. ครั้นเมื่อท่านอาจารย์นำออกจากสมาธิแล้วก็ได้บอกว่าสำเร็จแล้ว จากนั้นคณะผู้จัดสร้างก็ได้เข้าไปเปิดผ้าขาวที่คลุมพระเครื่องออกดู เพื่อให้รู้ว่าเสียงดังเปี๊ยะนั้นมาจากอะไร และเมื่อเปิดผ้าขาวออก ทุกคนเห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์กันทุกคนคือ ลังไม้ที่บรรจุพระเครื่องได้แตกออก และพระเครื่องได้กระจายทั่วไป.การที่พระเครื่องซึ่งบรรจุอยู่ในลังไม้ได้กระจัดกระจายเพราะลังไม้แตกนั้น จะเป็นไปเพราะสาเหตุใดไม่ได้ แต่เป็นไปเพราะพลังจิตที่ท่านอาจารย์นำ และพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสก ได้เพ่งตรงไปรวมที่กองพระเครื่อง และอัดจนแน่น เป็นพลังที่เต็มที่กระทั่งดันลังไม้แตก
หลังจากเสร็จสิ้นพิธีปลุกเสกนั้น บรรดาลูกศิษย์ก็ได้ประคองพาท่านอาจารย์นำกลับกุฏิ เมื่อถึงกุฏิแล้ว ท่านก็ได้บอกกับบรรดาลูกศิษย์ว่าอีก ๓ วันพ่อจะไปแล้วนะ”.ครั้นเมื่อ ๓ วันผ่านไปจากวันที่ท่านได้บอกบรรดาลูกศิษย์ คือวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งเป็นวันกำหนดที่ท่านอาจารย์นำได้บอกลาลูกศิษย์ไว้ เวลากลางคืนบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านหลายคนได้ไปหาท่านที่กุฏิ ซึ่งท่านก็ได้สนทนาและบอกลาลูกศิษย์กับชาวบ้านด้วยใบหน้าปกติและสดชื่น ไม่มีแสดงอาการเจ็บปวดจากการอาพาธแต่อย่างใด ครั้นเมื่อเวลา ๒๒:๐๐ น. ท่ามกลางความมืดของกลางคืน ท่านอาจารย์นำได้กล่าวอำลาบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเสียงปกติว่าพ่อลาแล้ว จากนั้นท่านก็ล้มตัวลงนอนและละสังขารไปอย่างสงบ และขณะที่ท่านอาจารย์นำได้ละสังขารไปนั้น ท่ามกลางความเงียบสงบของเวลากลางคืน และท่ามกลางความเศร้าโศกของบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็ได้ปรากฏเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้นมาอีก คือได้ปรากฏมีเสียงบรรเลงของแตร สังข์ กังวาลรอบๆบริเวณวัดดอนศาลา ทั้งๆที่บริเวณนั้น ไม่มีบ้านใครจัดงานบรรเลงเลย แล้วเสียงแตร สังข์นั้นมาจากไหน?
ลักษณะของรูปเหมือนรุ่นนี้ช่างได้แกะพิมพ์ได้อย่างสวยงาม และเหมือนองค์จริงของท่านมาก การพริ้วของผ้าสังฆาฎิและริ้วจีวรดูเป็นธรรมชาติ เป็นรูปเหมือนของท่านอาจารย์นำ นั่งสมาธิพาดสังฆาฏิ มือประสานวางบนหน้าตัก ที่ฐานด้านหน้าเขียนว่าชินวโรซึ่งเป็นฉายาของท่านอาจารย์นำ ด้านหลังมีตอกโค้ดตัวนะไว้ที่ปลายสังฆาฏิในรูปวงกลม สำหรับตัวนะของท่านอาจารย์นำ เป็นลักษณะเฉพาะของท่าน ไม่เหมือนกับนะของพระเกจิอาจารย์ท่านอื่น ส่วนที่ฐานเป็นอักขระขอม  ส่วนบริเวณก้นหรือฐานด้านล่าง ได้เจาะเป็นช่องว่างบรรจุผงอนันตคุณ ซึ่งเป็นผงวิเศษที่ท่านอาจารย์นำ ได้เพียรพยายามสร้างมานาน แล้วก็ใช้แผ่นเงินอุดปิดทับไว้ ที่เป็นแผ่นเงินซึ่งอุดปิดทับไว้ก็จะเป็นตัวหนังสือเขียนว่าชินวโรเช่นกัน
ประสบการณ์ของรูปเหมือนของท่านอาจารย์นำรุ่นนี้ มีครบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และคงกระพัน มีคนเขาเจอกันมามากแล้ว สำหรับของปลอมนั้น ได้มีการทำออกมาหลอกขายกันมาเป็นสิบกว่าปีแล้ว คือทำออกมาไล่ๆกับของแท้ที่ออกจากวัดเลย แต่ของปลอมจะมีลักษณะเบลอ ไม่ค่อยคมชัด ขอให้ระวังให้ดี
ในการสร้างรูปเหมือนนี้มีการสร้างทั้งหมด 3 เนื้อคือ
1.เนื้อทองคำก้นอุดทองคำ
2.เนื้อเงินก้นอุดทองคำและก้นอุดเงิน
3.เนื้อนวโลหะก้นอุดเงิน

ข้อมูลสำคัญพระรูปเหมือนรุ่นแรก พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา ปี 2519
1.รูปเหมือนหล่อโดยกรรมวิธีฉีด องค์พระมีพิมพ์เดียว
2.พระสร้าง 3 เนื้อคือ ทองคำ เงินและนวโลหะ
3.พระทุกองค์ตะไบก้นลักษณะเดียวกันหมด เจาะรูก้นบรรจุผงอนันตคุณ
4.ปิดก้นที่เจาะด้วยแผ่นปั้มทองคำหรือเงิน อักษรนูน ชินวโร โดยแผ่นอุดก้นมี 3 พิมพ์ 4 แบบ ดังนี้
พิมพ์ทองคำ ว.มีขีด
พิมพ์ทองคำ ว.ไม่มีขีด ( เกิดจากปั้ม ว.มีขีดไปมากๆแล้วขีดติดจางไปเรื่อยๆ)
พิมพ์ น.ขีด
พิมพ์ โร ขีด
4..พระตอกโค้ด นะ ในวงกลมที่ชายสังฆาฏิด้านหลัง มีโค้ดตัวเดียว
1.พระทุกองค์พิมพ์รวมเหมือนกันหมดและพิมพ์เหมือนองค์ในหนังสือพระเครื่องจังหวัดพัทลุง
2.ตะไบก้นเหมือนกันหมดและตะไบเหมือนในองค์หนังสือพระเครื่องจังหวัดพัทลุง
3.โค้ดที่ตอกชายสังฆาฏิด้านหลัง เหมือนกันหมดและโค้ดเหมือนองค์ในหนังสือพระเครื่องจังหวัดพัทลุง
4.แผ่นอุดก้นในหนังสือพระเครื่องจังหวัดพัทลุง มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ทองคำ ว.มีขีด กับพิมพ์ โร ขีด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น