พระกริ่งไชยบัญชรหลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม
หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เกจิสายพุทธาคม
"สมเด็จลุน" แห่งนครจำปาสัก หรือที่ชาวบ้านเรียก “ญาท่านอ่อง” เกิดในสกุลอัจฉฤกษ์
เมื่อวันวันพุธที่ ๕ กันยายน ๒๔๗๑ เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด อายุ ๑๔ ปี บรรพชา
โดยมีพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
คอยอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่แพง จันทสาโร
ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาอักขระขอมธรรมลาวและวิทยาคม รวมทั้งศึกษาวิชากรรมฐาน
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์
เข้าพิธีอุปสมบท มีพระครูโสภิตพิริยคุณ (หลวงปู่ฤทธิ์) วัดสระกุศกร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรวิริยกิจ
(ชู) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริปุญญรักษ์ (สวน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ฐิตธัมโม มีความหมายว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นในธรรม
หลังอุปสมบท
ปฏิบัติกิจแห่งสงฆ์โดยครบถ้วน ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ
ขณะศึกษาธรรม
ท่านยังมีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณควบคู่ไปด้วยจนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป
ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ ท่านหันมาให้ความสนใจศึกษาวิทยาคม
ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด ตั้งใจทบทวนวิทยาคมที่เรียนมาจากหลวงปู่แพง
เครื่องรางหรือวัตถุมงคลที่หลวงปู่ญาท่านอ่องจัดสร้างอย่างกว้างขว้าง
ล้วนแล้วแต่เป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตามในวาระครบรอบ ๘๙ ปี หลวงปู่ท่านเมตตาให้จัดสร้างสุดยอดวัตถุมงคลแห่งปี
อุบลราชธานีศรีวนาลัย “พระกริ่งไชยบัญชรอีสานใต้” ประกอบพิธีเททอง
หล่อนำฤกษ์ (ดินไทย) เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๙
พระกริ่งไชยบัญชรอีสานใต้ พระขันธ์
และตะกรุตหัวใจนาคราช สามกษัตริย์ อุดชันโรง จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑.สร้างพัฒนาสถานปฏิบัติธรรม พระครูสถิตธรรมมงคล
๒.เพื่อเป็นกองทุนดูแลสุขภาพยามหลวงปู่เจ็บไข้
๓.เพื่อเป็นทุนการศึกษานักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน และ
๔.ร่วมสร้างเจดีย์วัดโพธิ์ไทร โดยจะประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกวาระสุดท้าย ๑๖ ตุลาคม
๒๕๕๙ ตรงกับวันเพ็ญ ณ วัดโพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร
หลวงปู่ญาท่านอ่อง
ออกเดินธุดงค์ค้นหาครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาด้านพุทธาคม อบรมตนด้วยการฝึกนั่งสมาธิ
บำเพ็ญจิตภาวนา ในวิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ มิได้ขาดจากความเพียร
มากน้อยบ้างตามจริตนิสัยและโอกาสอำนวยฝึกฝนอบรมจิต จนรวมเอกัคคตารมณ์ จิตสงบรวม
สู่ฐานสมาธิ หลีกหนีจากวัฏสงสารตามแนวทางผู้เป็นอาจารย์
จากนั้นเดินธุดงค์ในแทบแม่น้ำโขงตามภูเขาน้อยใหญ่ต่างๆ
ที่ค้นหาครูบาอาจารย์ ร่ำเรียนวิชา ศึกษาด้านพุทธาคมในประเทศลาวและประเทศไทย
ทั้งภาคเหนือภาคใต้ ผ่านภูเขาควาย เข้าภูมะโรง เพื่อฝึกฝนจิตใจ สมาธิให้แข็งแกรง
ผ่านเข้าพรรษาที่ ๑๐ เพื่อคอยดูแลรับใช้หลวงปู่กรรมฐานแพง การเรียนสรรพวิชา
เวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ ในสายสำเร็จจลุน ญาท่านกรรมฐานแพง ท่านกล่าวว่า ผู้ที่จะเรียนวิชาในสายนี้จะต้องถือสัจจะ
คือ เมื่อเรียนสำเร็จจะต้องบวชไม่สึกจนกว่าชีวิตจะหาไม่
วิชาที่ท่านร่ำเรียน ได้แก่ มูลสังกจายน์
วิชา ธาตุ ๔ นะ มะ พะ ทะ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะโมพุทธายะ นะปัตตลอด หนุนธาตุ กลับธาตุ
วิชาหุงนวด หุงปรอด และสุดยอดวิชา คือวิชาหุงหิน
วิชาโบราณที่น้อยคนจะมีวาสนาร่ำเรียนวิชานี้สำเร็จได้
โดยการใช้ไฟบริกรรมคาถาขับธาตุให้เกิดเป็นแร่กายสิทธิ์ มีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์
ครอบคุมเข้มขลังในตัว ตลอดจนหมดสิ้นวิชาที่เรียนได้รับตำรายันต์ทำผง ตรีนิสิงเห
ผงพุทธคุณ ผงมหาราช ผงปถมัง ผงอธิเจ รัตนมาลา เขียนเองลบเอง ปลุกเสก
ภายหลังจนหมดสิ้นวิชาทุกแขนง
แม้หลวงปู่อ่องจะสืบสายพุทธาคมมาอย่างเข้มขลัง แต่ท่านไม่เคยอวดโอ่แสดงวิชาให้ใครเห็น
ด้วยเคยได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่แพงว่า “หากไม่มีเหตุจำเป็นอย่าแสดงแผลงฤทธิ์เดชใดๆ”
กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๐๙
หลวงปู่แพง มรณภาพชาวอำเภอตระการพืชผล นิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ
แต่หลวงปู่อ่องปฏิเสธและออกท่องธุดงควัตรและจำพรรษาในหลายสถานที่
อีกทั้งยังช่วยสร้างวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง ครั้นถึง พ.ศ.2536
หลวงปู่อ่องกลับมายังวัดสิงหาญอีกครั้ง และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสิงหาญ
ใน พ.ศ.๒๕๔๗ ต่อมาพ.ศ.๒๕๕๐
รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามที่ พระครูสถิตธรรมมงคล
ปัจจุบันย้ายมาพำนักจำพรรษาอยู่ในกุฏิกลางป่าทุ่งนา
สถานปฏิบัติธรรมพระครูสถิตธรรมมงคล อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี สละสิ้นทิ้งลาภยศ
ละทิ้งกิเลศ หลีกหนีสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยสถานที่มีความสัปปายะหลีกเร้นจากผู้คน
เหมาะสำหรับการปฏิบัติภาวนา เดินจงกลม นั่งสมาธิ
ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสร้างพัฒนาสถานปฏิบัติธรรมและเพื่อเป็นกองทุนดูแลสุขภาพยามหลวงปู่เจ็บไข้ได้ที่
โทร.๐๘-๖๘๗๙-๐๒๗๘ และ ๐๘-๘๑๑๔-๖๖๗๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น