วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕



พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕
พระหลวงปู่ทวด โด่งดังเป็นที่เลื่องลือในอภินิหารยิ่งและเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของผู้มีไว้ในครอบครองอย่างสูงสุด  เพราะพระเครื่องหลวงปู่ทวดได้แสดงอภินิหารปกป้องคุ้มครองชีวิตเขาให้รอดพ้นอันตรายมาได้ด้วยปาฏิหาริย์มาแล้ว อย่าว่าแต่คนไทยที่เชื่อถือศรัทธาพระเครื่องหลวงปู่ทวดเลย  แม้แต่ฝรั่งชาวยุโรป ก็ยังศรัทธาเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์อย่างหมดหัวใจ และฝรั่งชาวยุโรปที่ว่า ไม่ใช่ธรรมดาเสียด้วยหากเป็นถึงท่านผู้นำประเทศที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดประเทศหนึ่ง
ท่านผู้นั้นคือ ประธานาธิบดีเดอโกลส์แห่งประเทศฝรั่งเศสท่านประธานาธิบดีท่านนี้เคยถูกปองร้ายหมายชีวิตจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นศัตรูทางการเมือง โดยการลอบยิงและถูกวางระเบิดถึง 7 ครั้ง แต่ก็แคล้วคลาดรอดพ้นอันตรายทุกครั้งอย่างน่าอัศจรรย์ ประชาชนชาวฝรั่งเศสยกย่องประธานาธิบดีของเขาว่าเป็นผู้นำที่โชคดีที่สุดในโลก แต่ตัวท่านประธานาธิบดีเดอโกลส์รู้อยู่แก่ใจท่านดีว่าเหตุที่ท่านรอดชีวิตมาได้ถึง 7 ครั้ง 7 ครานั้น เนื่องจากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากประเทศไทยคุ้มครอง
พระหลวงปู่ทวดพิมพ์หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕  มีการสร้างและพิธีกรรมปลุกเสก ครั้งใหญ่ (นับเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากที่มีการจัดสร้างครั้งแรกในปี ๒๔๙๗) มี พระหลวงพ่อทวด หลากหลายรูปแบบที่เข้าพิธีปลุกเสก เช่น เหรียญ พระบูชา รูปหล่อลอยองค์ พระชุดหลังเตารีด ชนิดหล่อตัดช่อแบบโบราณ เป็นต้น หนึ่งในนั้นมี พระรูปเหมือน ปั๊ม ชุดหลังหนังสือ ทั้งพิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อทองเหลืองรมดำ ส่วนเนื้อพิเศษ เช่น เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองเหลืองผิวไฟ  มีบ้างแต่พบเห็นน้อยมาก
พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕ ได้จัดทำที่ กรุงเทพมหานคร และจัดส่งไปทางรถไฟ เป็นช่วงๆ เพื่อเข้าพิธีปลุกเสกโดย พระอาจารย์ทิม ที่วัดช้างให้ เป็นที่ทราบกันดีว่า พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕ แบ่งออกได้ ๔ พิมพ์หลัก คือ พิมพ์เล็ก มีตัว ท, พิมพ์เล็ก ว จุด, พิมพ์เล็ก วงเดือน และ พิมพ์เล็ก ธรรมดา แต่ละพิมพ์ที่ว่านี้ ยังแบ่งออกได้เป็นพิมพ์ย่อยๆ อีกหลายพิมพ์ ซึ่งมักแบ่งย่อยตามลักษณะโครงหน้าของพระหลวงพ่อทวด และลักษณะของตัวหนังสือที่แตกต่างกันในรายละเอียด




พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕ เท่าที่วงการเล่นหา มีการแบ่งย่อยออกไปหลายพิมพ์ โดยการแบ่งลักษณะพิมพ์ย่อยจะมองไปที่ลักษณะด้านหน้าองค์พระเป็นสำคัญ เช่น ขนาด และตำแหน่งของเม็ดตา รูปร่างของใบหู และลักษณะโครงหน้า เป็นต้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ด้านหลังองค์พระจะเหมือนกันกล่าวคือ จะมีตุ่มเล็กๆ ที่ปลายหัว ตัว และมีแพของเส้นเสี้ยนกระจายในแนวรัศมีตรงบริเวณนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ จุด อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกพิมพ์หนึ่ง ที่ด้านหลังเป็นเหมือนพิมพ์ จุด ทุกประการ แต่ด้านหน้ามีรูปแบบเฉพาะ นั่นคือ พระพิมพ์เล็ก มีตัว ซึ่งสามารถแบ่งด้านหลังออกเป็น ๒ แบบพิมพ์ คือ แบบพิมพ์ หลัง จุด ธรรมดา และ แบบพิมพ์ หลัง จุด-หลังกลึง
ขอขอบคุณเว็บ ลานพระ ที่เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น