วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร วัดหนัง


เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร วัดหนัง
หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร วัดหนัง ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม (ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2469 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 72) แต่วัตถุมงคลของท่านซึ่งมีมากมายหลายประเภทล้วนทรงพุทธาคม เป็นที่นิยมและแสวงหาของนักบูชาและสะสมพระเครื่อง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่อดีตสืบจนปัจจุบัน
เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเคารพนับถือเป็นการส่วนพระองค์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ในหลวงจะได้รับสั่งให้ขุนวินิจฉัยสังฆการีนิมนต์เข้าไปในงานพระราชพิธีต่าง ๆ เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยม รุ่นแรก ยันต์สี่ ปี 2467ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ท่านอนุญาตให้มีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก โดยลูกศิษย์ชื่อ โกศล สิริเวชกุล หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า หมอกิมมีการจัดสร้างเป็น เนื้อเงินและเนื้อทองแดง จำนวน 5,000 เหรียญ นอกจากนี้ยังได้สร้างแบบพิเศษขึ้นอีก แต่มีจำนวนน้อยตามผู้สั่งทำ อาทิ เหรียญฉลุยกหน้า เนื้อทองคำและเนื้อเงิน เหรียญฉลุเนื้อทองคำ เหรียญฉลุเนื้อทองคำลงยา เป็นต้น
ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบเสมา หูในตัว ขอบเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลังแกะลวดลายกนกอย่างงดงาม พิมพ์ด้านหน้ามีเพียงพิมพ์เดียว ภายในกรอบกนกมีรูปจำลองหลวงปู่เอี่ยมนั่งเต็มองค์บนอาสนะขาสิงห์ ใต้โต๊ะและข้างแขนทั้งสองข้างมีลายกนกเล่นลายอุณาโลม เหนือศีรษะหลวงปู่มีอักขระ พุทโธด้านล่างใต้อาสนะขาสิงห์มีอักขระขอมเป็นชื่อท่าน คือภาวนาโกศลเถระรอบเหรียญมีหนังสือไทยอ่านได้ว่า วัน ๖ เดือน ๑๑ ปีมะโรง จัตวาศกพิมพ์ด้านหลัง ตรงกลางเป็น ยันต์สี่ลักษณะเป็นการล้อมรอบอักขระขอมเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยที่ปลายแต่ละด้านบรรจุอักขระขอมไว้ปลายละหนึ่งตัว คือ นะ โม พุท ธา โดยเฉพาะ ตัว ยะจะถูกล้อมด้วยกรอบยันต์สี่อีกชั้นหนึ่ง ข้าง ตัว ยะมี นะ ปถมังอันเป็นหัวใจของยันต์ บนสุดเป็น อุณาโลมใต้ลงมามีตัว มะ อะ อุซึ่งเป็นหัวใจ พระรัตนตรัย ในตำแหน่งเดียวกันแต่อยู่ข้างล่างเป็นตัว นะ มะ พะ ทะ อันเป็นหัวใจธาตุทั้งสี่ ขอบเหรียญมีการระบุปีสร้างคือ ปี พ.ศ.๒๔๖๗พิมพ์ด้านหลังยังแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์
โดยในวงการจะเรียกชื่อตาม จุดไข่ปลาที่ข้างตัว พ.พานและ เลข คือ ถ้ามี 4 จุด จะเรียกว่า ยันต์สี่ สี่จุดมีประมาณ 4,000 เหรียญ แต่ถ้ามี 3 จุด เรียกว่า ยันต์สี่ สามจุดมีประมาณ 1,000 เหรียญ
นอกจากนี้ การตัดขอบเหรียญหลังจากการปั๊มทุกเหรียญ จะตัดขอบด้วยการใช้เลื่อยฉลุ บางท่านจึงมักเรียกว่า เหรียญข้างเลื่อยนั่นเอง
หลักการดู เหรียญเบญจภาคี
1. ดูความชัดเจนของเหรียญ ความลึกขององค์หลวงพ่อ และตัวหนังสือ ตลอดจนความเรียบร้อยของเหรียญ
2. ดูเนื้อของเหรียญ และความเก่าของเหรียญ
3. ดูพื้นเหรียญ เหรียญเบญจภาคีส่วนใหญ่ เป็นเหรียญปั๊ม พื้นผิวจึงเรียบ ไม่ขรุขระ
4. ดูขอบเหรียญ เหรียญที่สร้างก่อน พ.ศ.2500 ขอบเหรียญจะมีรอยเลื่อย
ขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ เจาะลึกเหรียญหลวงปู่เอี่ยม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น