วิธีการดูพระเครื่องประเภทเหรียญ
ปัจจุบันเป็นยุคไฮ....เทคโนโลยี เนื่องจากพระเครื่องในหลายๆรุ่นจะมีราคาสูง
ดังนั้นจึงมีการปลอมแปลงพระเครื่องประเภทเหรียญกันอย่างมากมาย ทำให้เล่นยากและดูยากมากว่าแท้หรือเก๊
เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์ แต่ในความคิดของผม
ผมว่าเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้
1. เมื่อพบเหรียญใด ๆ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่
ถ้าบวมหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น
เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ
2. เมื่อเหรียญไม่บวมก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ
ไปได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิ ก็คือ เก๊แน่นอน
จากแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2
กรณีคือ
1.แท้
2.เก๊คอมพิวเตอร์
3. การแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว
ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ
และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ
หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ
รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่ ถ้า
พิจารณาโดยละเอียดตามขั้นตอนข้างต้นนี้ละก้อ เหรียญเก๊ทุกประเภท ไม่ได้แอ้มคุณท่านหรอกครับ
• อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ
เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง
• กระไหล่หรือรมดำ
ต้องเก่าตามอายุเหรียญ
• เหรียญสึก
ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของเหรียญต้องคมชัด
และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊ม
• การดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบจะเรียบครับ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบตะไบ ครับ แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มากครับ แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้
• เหรียญห่วงเชื่อม
รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า
• ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้
ยกเว้น เหรียญดูง่าย
เทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญ
ด้วยวิธีการที่ง่าย นั่นก็คือ การศึกษาธรรมชาติของเหรียญ
โดยอาศัยหลักพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่
1.ความคมชัดของตัวหนังสือ
หรืออักขระยันต์
2.พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง
ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
3.การเจาะรูหูเหรียญ
ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ
4.วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ
ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย
ทั้ง 4
ประการนี้ ถือเป็นจุดที่ใช้ในการพิจารณาเหรียญว่าแท้หรือปลอม
ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการจดจำตำหนิ ที่สำคัญยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาได้ทุกเหรียญ
ไม่ว่าจะเป็นเหรียญในยุคสมัยใดก็ตาม
เพราะถึงแม้ว่ากรรมวิธีการทำปลอมในปัจจุบันจะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับของจริงแค่ไหน
แต่ธรรมชาติของการผลิตเหรียญแต่ละยุค ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ดังนั้น
จะเห็นได้ว่า การซื้อ-ขายเหรียญในปัจจุบัน
ผู้ชำนาญการจะใช้วิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญเป็นบทสรุปว่า แท้หรือไม่ เพราะ...ขอบด้านข้างของเหรียญเป็นสิ่งเดียวที่ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน เนื่องจากร่องรอยที่ด้านข้างของเหรียญนั้น
คือ ร่องรอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิตในแต่ละยุคสมัย
อย่างไรก็ตาม
การศึกษาเหรียญต่างๆ ตามข้อสังเกต 4 ข้อข้างต้นนั้น
จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปเช่าหาเหรียญมาศึกษา อีกทั้งเหรียญที่เป็นที่นิยมของวงการ
ล้วนแล้วแต่เป็นเหรียญที่มีราคาแพง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแทบทั้งสิ้น
ปัญหาจุดนี้
ผมจึงเสนอแนะแนวทางที่ประหยัดกว่า และน่าสนใจ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาแต่มีทุนน้อย
นั่นก็คือ ให้ใช้วิธีไปเช่าเหรียญเก่าที่วงการไม่นิยม และมีราคาไม่แพงแทน
เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของเหรียญ ที่เกิดจากวิวัฒนาการในการปั๊ม
และการตัดขอบเหรียญ เพราะเหรียญที่ออกมาในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน
ย่อมจะมีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้
เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ ผมจึงจำแนกเหรียญต่างๆ ตามกรรมวิธีการปั๊มตัดข้างเหรียญ
โดยแบ่งออกเป็นออก 3 ยุคสำคัญ คือ
ยุคที่ 1.ประมาณ
พ.ศ.2440-2485
ยุคที่ 2.ประมาณ
พ.ศ.2486-2499 และ
ยุคที่ 3.ประมาณ
พ.ศ.2500-ถึงปัจจุบัน
1. ช่วงปี พ.ศ2440-2485.เป็นช่วงที่นิยมสร้างเหรียญลักษณะรูปทรงกลม
รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา ซึ่งรูปทรงเหรียญทั้ง 4 ชนิดนี้ สามารถแยกตามกรรมวิธีการสร้างได้เป็น
2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย และเหรียญชนิดปั๊มข้างกระบอก
โดยเหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย
ก็คือ
การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้ตามลักษณะรูปทรงที่ต้องการ
จากนั้นจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ
ส่วนการปั๊มข้างกระบอก
ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม
เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น
ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ
อย่างไรก็ตาม บางเหรียญอาจมีเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างเหรียญ
ซึ่งเกิดจากการแต่งขอบให้สวยงามก็ได้
2.เหรียญชนิดปั๊มข้างตัด
(ปั๊มตัดยุคเก่า) เป็นยุคที่เริ่มพัฒนากรรมวิธีการจัดสร้างเหรียญ
ด้วยการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น มาใช้แทนกรรมวิธีแบบเก่า
ที่ใช้การเข้ากระบอก และต้องเลื่อยขอบออก เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย
ด้านข้างของเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก
3. เหรียญปั๊มตัด
ยุค พ.ศ.2500-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดข้างเหรียญที่ทันสมัย
เพื่อความสะดวกในการตัดขอบเหรียญในจำนวนมากๆ ตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แม้จะมีผู้จัดทำหนังสือชี้ตำหนิด้านหน้า-ด้านหลังของเหรียญออกมาแล้วมากมาย
หลายต่อหลายเล่ม แต่การเจาะลึกถึงรายละเอียดวิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญ
ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ และเป็นบทสรุปความจริง-ปลอมของเหรียญแบบนี้นั้น
แทบจะไม่เคยปรากฏในหนังสือเล่มใดเลย
ขอขอบคุณที่มาของภาพ คือคุณRONADO สมาชิกเว็บ G-PRA.COM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น