วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

วัดสร่างโศก คลองด่าน บางบ่อ สมุทรปราการ



วัดสร่างโศก คลองด่าน บางบ่อ สมุทรปราการ
วัดสร่างโศก (หรือวัดมอญในอดีต) คลองด่าน สมุทรปราการ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุราวประมาณ 300 กว่าปี อยู่ติดริมน้ำใกล้ปากคลองที่จะลงสู่ทะเลไปทางทะเลอ่าวไทย วัดสร่างโศก สร้างประมาณ พ.ศ. 2300 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2360 ตามหลักฐานของกรมที่ดิน ช่วงที่ 41 ระบุชื่อวัดนี้ว่า "วัดปากอ่าว" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดมอญ" เพราะอยู่ใกล้คลองมอญตามที่ปรากฏในระวางที่ดินและบริเวณนี้มีชาวบ้านมอญอาศัยอยู่มากด้วย แต่จากการบอกเล่าสืบต่อกันมาบ้างก็บอกว่าชื่อ "วัดอัฏฐวราราม" เพราะมีกุฎี 8 หลัง บ้างก็เรียกว่า "วัดอัศวราราม"   เพราะวัดนี้เป็นที่ตั้งกองทัพม้าของพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาภายหลังได้รับการเปลี่ยนนามวัดใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็น "วัดเตลงรมย์" ในปี พ.ศ. 2482 เปลี่ยนนามใหม่เป็น "วัดโพธิ์ทอง" ครั้นถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการได้เปลี่ยนนามวัดเสียใหม่เป็น "วัดสร่างโศก" เพื่อให้สอดคล้องกับพระนามของ "พระองค์หญิงโศกสว่าง" พระราชธิดาในสมเด็จพระปิ่นเล้า วัดสร่างโศก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. 2314
วัดสร่างโศก  จากประวัติศาสตร์ของชุมชน เล่าต่อกันมาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงล่องเรือมาจากอยุธยาทางแม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูน้ำหลาก ผ่านหน้าวัดมะกอกตอนใกล้รุ่ง และตั้งใจไว้ว่าจะตั้งกรุงใหม่แถววัดนี้ถ้าชนะศึกพม่า ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งหรือวัดอรุณราชวราราม เรือแล่นต่อไปจนถึงคลองด่าน ซึ่งเป็นชุมชนจีนชาวประมงมืออาชีพ เพราะเป็นชาวจีนที่มาจากเกาะหน่ำโปยจิว ทางใต้ของจีนที่มีอาชีพประมงและปลูกผัก โดยเฉพาะผักกาดขาว พันธุ์เมล็ดผักกาดขาวจากเมืองนี้มีชื่อ เจี๋ยไต๋ก็ใช้เมล็ดพันธ์จากที่นี่
ผู้คนคลองด่านในยุคนั้นเป็นนักเดินเรือ และชาวประมงมืออาชีพ สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นผู้รู้ทิศทางลม ทิศทางเดินเรือ และมีประสบการณ์การออกหาปลา พวกเขาออกไปหาปลาทั่วสารพัดทิศ      
คลองด่านยังเป็นชัยภูมิเหมาะที่จะมาต่อเรือ เนื่องจากเรือที่ "พระเจ้าตาก" นำมาเป็นเรือเล็ก ไม่เหมาะจะออกทะเล เดินทางไกล จนไปถึงจันทบุรี   ไม้ต่อเรือที่คลองด่านก็มีสมบูรณ์พร้อม  เรือใหม่ของ "พระเจ้าตาก" ที่ใหญ่พอกับการออกทะเล เดินทางไกล จึงถือกำเนิดขึ้นที่คลองด่าน ตามประวัติศาสตร์ปากต่อปากของชุมชน  นอกจากมีชาวประมงผู้รักชาติแล้ว การสะสมเสบียงอาหารจากคลองด่านก็ง่ายกว่า เพราะเป็นแหล่งอาหารอยู่แล้ว จึงมีคำกล่าวในประวัติชุมชนว่า...สะสมเสบียง ซ่องสุมผู้คน และต่อเรือศึกจากบาง ยิ้ม       
บาง ยิ้มก็คือคลองด่านโดยมีชื่อ นายมา ณ บาง ยิ้มเป็นหนึ่งในผู้ร่วมกู้ชาติที่มีประมาณ 500 กว่าคน
พิพิธภัณฑ์วัดสร่างโศก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น