หลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม
หลวงปู่สอ ขันติโก ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
มากด้วยอภิญญาและปฏิปทาสูงส่งที่มีอายุยืนรูปหนึ่งในภาคอีสาน
ที่ยังดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายในภาคอีสาน มีอายุที่ยืนยาวมากถึง 113 ปี ท่านเกิดเมื่อวันที่
20 พ.ค. พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง
ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นชาวบ้าน บ.บะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โดยกำเนิด ครองสมณะเพศพรรษา 93 เป็นพระเกจิที่อยู่คู่ประชาชนคนไทยถึง 6 แผ่นดิน
หลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี
ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดและเปี่ยมด้วยคุณธรรม
เป็นที่พึ่งของชาวบ้านโดยทั่วไป มีจิตที่เปี่ยมด้วยความเมตตา
อุทิศตนรับใช้พระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง
เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่สีทัตถ์
ญาณสัมปันโน อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลุ่มน้ำสองฝั่งโขงไทย-ลาว
พระเกจิผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน และพระธาตุบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
ชีวิตในวัยเด็ก เป็นคนที่เรียบง่าย
อ่อนน้อมถ่อมตน นิสัยชอบเข้าวัดฟังธรรม ผิดกับเด็กอื่นวัยเดียวกัน มีโอกาสเข้ากราบนมัสการหลวงปู่สีทัตถ์
จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงขอติดตามไปยัง ภูเขาควายฝั่งลาวและได้บวชเป็นสามเณร
คอยรับใช้อุปัฏฐากเล่าเรียนสรรพวิชาต่างๆ
กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
เข้าพิธีอุปสมบท มีหลวงปู่สีทัตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์อยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่สีทัตถ์
เป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ตามป่าเขา ถ้ำภูผาต่างๆ
จนได้ทราบข่าวอาการ ป่วยของมารดา ในขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 32
ปี พรรษา 12 จึงลาสิกขาออกมาดูแลบิดามารดาจนถึงวาระสุดท้าย ในเวลาต่อมา
จึงขอเข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง
ท่านเคร่งครัดในธรรมวินัย
วัตรปฏิบัติดี ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ตามป่าเขาในเขตพื้นที่ภาคอีสาน ครั้งนั้นข้ามไปยังฝั่งลาว
บ้านบุ่ง อยู่จำพรรษา พัฒนาวัดบ้านบุ่งอยู่หลายปี
ก่อนออกเดินทางไปพบหลวงปู่สีทัตถ์อีกครั้ง จนกระทั่งมรณภาพ
หลังจากนั้น กลับมาที่ฝั่งไทย
จำพรรษา ที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า ต.รามราช ในขณะนั้น
ยังมีครูบาอาจารย์ที่เป็นทั้งสหธรรมิกและศิษย์ผู้พี่หลายท่าน อาทิ หลวงปู่สนธิ์
วัดท่าดอกแก้ว ศิษย์ผู้ใหญ่ในหลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นศิษย์ผู้พี่ของท่าน, หลวงปู่คาร คันธิโย,
หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม
ขอศึกษากับท่านอยู่ระยะหนึ่ง
ด้านการสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่สอ
ไม่ได้จัดสร้างบ่อยนัก เน้นคำสอนให้ลูกศิษย์นำไปปฏิบัติมากกว่า
แต่จะอนุญาตให้ศิษย์ใกล้ชิดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ
ทำให้วัตถุมงคลของท่านมีจำนวนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องไม่น้อย
วัตถุมงคลรุ่นต่างๆหลวงปู่สอ
วัตถุมงคลรุ่นต่างๆหลวงปู่สอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น