พระสมเด็จนางพญาพิษณุโลก
พระสมเด็จนางพญา เป็น 1 ที่จัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคี 5 สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย
ที่เป็นที่นิยมมากของวงการพระเครื่องและครองความนิยมและสุดยอดปรารถนาของเหล่านักเลงพระ พระสมเด็จนางพญาพุทธคุณเรียกได้ว่าครบทุกด้านทั้งแคล้วคลาด
เมตตาคงกระพัน มหาอุด มีลักษณะแบบพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม
พุทธลักษณะพระประทับนั่งปางมารวิชัยไม่มีอาสนะหรือฐานรองรับ
ประวัติการสร้างพระสมเด็จนางพญา
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ
สมเด็จพระสุริโยทัย พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริษยืพม่าได้ล้อมกรุงศรอยุธยาเป็นเวลานานสองเดือนไม่สามารถบุกยึดตีกรุงศรีอยุธยาได้
ทั้งนี้เนื่องจากมีขุนพิเรนทรเทพ (พระมหาธรรมราชาที่ 3) เป็นแม่ทัพผู้นำทหาร
ทหารเอกของขุนพิเรนทรฯ นั้นมีความหมายสามารถในการรบกล้าหาญชาญชัย
ทหารทุกคนต้องมีพระเครื่องที่สำคัญเป็นกำลังใจในการออกรบทุกครั้ง
พระเครื่องในสมัยนั้นที่นิยมได้แก่ พระชินราชใยเสมาเนื้อชิน
นำมาแขวนคอโดยใช้เชือกหรือลวดถักเป็นตาข่าย และพระวัดจุฬามณี (สร้างในสมัยพญาลิไท)
นิยมพันกับผ้าประเจียดมักที่แขน นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องตระกูลลำพูน
พระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร และพระเครื่องตะกูลสุพรรณบุรี
ในการสร้างวัดและสร้างพระในสมัยพระมหาธรรมราชธิราช จะทำอย่างเปิดเผยไม่ได้
อีกประการหนึ่งศิลปะในการสร้างนั้นแตกต่างกับการสร้างพระเครื่องในสมัยพญาลิไท
เพราะบ้านเมืองอยู่ในความสงบ ร่มเย็น พระเครื่องจึงมีพุทธศิลป์ที่สวยงาม เช่น
พระชินราชใบเสมา พระณีจุฬามณี
พระสมเด็จนางพญา ออกแบบด้วยไม้มงคลแกะสลัก
เป็นต้นแบบศิลปะสมัยอยุธยาแบบ ง่ายๆ แต่แฝงความหมายอย่างลึกซึ้ง
ความหมายที่หนึ่ง
สามเหลี่ยมนั้นเป็นสัญลักษณ์ของธาตุไฟ หมายถึง ความคงกระพันชาตรีเป็นหลัก
ความหมายที่สอง
หมายถึงปัญญาหลักแหลม ชาญฉลาด ความหมายที่สาม หมายถึงพระจะต้องมีฐานตั้งบูชาได้
หลังจากการติดตัวไปรบกลับมา ทั้งยังทรงพลังในอำนาจของพีรามิดอีกด้วย
ทัศนคติความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่การสร้างพระรอดยุคแรกในสมัยของพระนางจามเทวีอีกด้วย
และเป็นที่สังเกตอีกประการหนึ่งคือ พระเครื่องที่สร้างโดยพระฤษีนั้น
ส่วนใหญ่จะตั้งบูชาได้เช่น
-
พระรอดพิมพ์ใหญ่ ยุคแรก
-
พระซุ้มกอ
-
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
-
พระนางพญา
ซึ่งพระเครื่องดังกล่าวนี้เป็นพระเบญจภาคี
ที่มีเนื้อดินผสมว่านเกสร และพระธาตุเป็นหลัก
รูปพระนางพญา เนื้อพระแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ชนิดเนื้อละเอียดปนหยาบ
พระพิมพ์เนื้อชนิดนี้จะสวยงามในทางสุนทรียภาพสวยงาม หนึกหนุ่มกว่าพระชนิดอื่น
บางคนนิยมเรียกว่า เนื้อกระดูก
มีความแข็งแกร่งพอสัมผัสกับเหงื่อจะมีความสวยตามธรรมชาติ พระเนื้อนี้จะเป็นเนื้อที่นิยมมากกว่าเนื้อพระชนิดอื่น
ชนิดเนื้อหยาบ
เนื้อชนิดนี้เซียนโบราณนิยมแต่ไม่สวย เนื้อพระผุ ขาดความงามทางสุนทรียภาพ
ชนิดเนื้อแก่แร่
เนื้อพระชนิดนี้เนื้อพระจะปรากฏมวลสารเม็ดใหญ่โผล่มาให้เห็นชัดเจน
พอสันนิษฐานได้ว่าสร้างโดยสมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์
(พระราชามารดาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เป็นพระดินเผาผสมว่านเกสรและแร่ พุทธลักษณะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา
ในทรงสามเหลี่ยม มีขนาดต่างๆ
พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก
พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก มองดูที่พระพักตร์ท่านเราก็มีความสุขแล้ว
ผู้สร้างแบบพิมพ์ สร้างสรรค์อย่างมีจิตนาการทำให้เราที่รับมรดกวัฒนธรรมมองเห็นว่า
สังคมสมัยก่อนมีศิลปะที่สรรค์สร้างงานได้อย่างยอดเยี่ยมถ่ายทอดความรู้ความสามารถสุดบรรยาย
ถือว่าเป็นศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งก็ว่าได้ พระพิมพ์นางพญาพิมพ์อกนูนเล็กองค์นี้
เนื้อดินเผาที่มองเห็นความหนึกนุ่มมาก หมายความ มีส่วนผสมของว่านมากพอสมควร
มีคราบราดำที่ผิว มีคราบฟอสซิลที่ผุดมาจากเนื้อในแสดงถึงความเก่า ผิวเดิม ๆ
ที่ไม่ผ่านการใช้ มีส่วนผสมที่เป็นแร่พองาม พิมพ์ทรงชัดทุกสัดส่วน
สภาพเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เราท่านเคยเห็นมีในหนังสือพระนางพญาเท่านั้น
พระพิมพ์นางพญาเนื้อดินพิมพ์เทวดา (ดูที่สังฆาฏิทแยงลงแล้วหักขนานกับหน้าตักไปทางด้านขวาขององค์พระ
ถ้าเป็นพิมพ์สังฆาฏิทแยงลงมาอย่างเดียว) ที่ผ่านการใช้ ทำให้ผิวดูนุ่ม แต่จริง ๆ
แล้วหนึกแกร่ง แต่พิมพ์ทรงยังดูง่าย ผิวเดิมยังมีคาบกรุเกาะ เม็ดแร่สม่ำเสมอ
พระถูกเผาจนสีผิวออกเกือบดำผสมกับเหงื่อใครที่ถูกใช้ทำให้มองยากสักนิด ต้องค่อย ๆ
ศึกษาครับ ดูบ่อย ๆ จะค่อย ๆ ซึมซับความเข้าใจในเนื้อหา พิมพ์ทรงและส่วนผสม
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงองค์นี้ จะมองผิวที่เกิดจาการเผาที่ถูกไฟมากว่าผิวหม้อใหม่
ทำให้มองเห็นเนื้อแดงเข้มแต่งแฝงด้วยความหนึกที่มองแล้วแกร่ง
มองเห็นความเหี่ยวย่นของเนื้อที่เกิดจากความเก่า เม็ดแร่เสมอ ความคมชัดเจน
บางส่วนมองดูไม่สมบูรณ์ที่เกิดชำรุดจากในกรุ ผิวเดิม พระยังไม่ถูกใช้
คาบความเก่าชัด
พระพิมพ์นางพญาองค์นี้
เป็นเนื้อดินเผาที่ผ่านการเผาถูกไฟระดับหนึ่ง ดินที่ถูกไฟเผาแล้วไฟอ่อนผิวจะ
แดงอ่อน ออกนวล ถูกไฟกลาง ๆ จะแดง แดงเข้ม หรือออกดำเมื่อถูกเผานาน
องค์นี้เป็นพิมพ์อกนูนใหญ่ผิวออกแดงนวล ที่เราเรียกว่าเป็นผิวหม้อใหม่
พิมพ์คมชัดเจนทุกส่วน เม็ดแร่ละเอียด ผิวหนึกแน่น มองดูด้านหลังแล้วไม่ต้องลงกล้อง
ดูง่าย ผู้สนใจจำพิมพ์และเนื้อหาให้ได้
เป็นพิมพ์หนึ่งของพิมพ์อกนูนใหญ่ที่หายากมาก ๆ พอมีโอกาสจึงนำมาให้ได้ศึกษากัน
พระพิมพ์นางพญา
พิมพ์อกนูนเล็กองค์นี้ถือว่าเป็นองค์ที่ยังสภาพความสมบูรณ์และสวยงามกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
และเป็นพิมพ์ที่นิยมเล่นมากที่สุด จากหลายแม่พิมพ์ เป็นเนื้อที่เรียกว่าเนื้อดินอิฐแดง
ตามซอกแขนปรากฏราดำ คาบฟอสซิล(คราบแคลเซี่ยม)แสดงความเก่า มองเห็นเม็ดแร่ที่ละเอียดสวยงามพร้อมดอกมะขามทำให้เกิดเสน่ห์ดูไม่รู้เบื่อ
พิมพ์ทรงชัดเจน มีรอยเปิดที่ใต้เข่าขวามีเสน่ห์ไปอีกแบบหนึ่ง
ด้านหลังยิ่งดูง่ายมาก ๆ ทั้งลายมือ ความหนึกแกร่งของผิวที่ไม่ผ่านการใช้
ลักษณะของเนื้อพระนางพญา
เนื้ออิฐ
เป็นเนื้อที่มีลักษณะหยาบกว่าเนื้อทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว ที่จริงแล้วเนื้ออิฐก็คือเนื้อดิน แต่มีลักษณะคล้ายอิฐเก่า ๆ มีความนุ่มพอสมควร
เนื้อเกรียม
เป็นเนื้อที่ถูกอบด้วยความร้อนตลอดเวลาที่อยู่ในกรุ
ผิวจะเข้มเกรียมเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีทั้งชนิดเนื้อว่าน เนื้อดินนุ่ม
และเนื้อดินแกร่ง
ซึ่งอาจจะเรียมมากน้อยขึ้นอยู่กับการถูกไฟมากน้อย
ลักษณะของเนื้อพระนางพญามีหลายลักษณะ
และก็คล้ายคลึงกัน แต่พอจะแยกได้ดังนี้
เนื้อว่าน
เป็นลักษณะที่มีว่านผสมอยู่ค่อนข้างมาก
ทำให้มองดูอ่อน นุ่มนวล ผิวบางแห่งจะปรากฏรอยย่นหรือรอยพับ ตามผิวขององค์พระมีลักษณะคล้ายเยื่อไม้ ผิวไม่ค่อยเสมอกัน มีทั้งสีอ่อนและสีแก่ พบเม็ดแร่น้อยมาก
เนื้อดินนุ่ม
เป็นเนื้อที่มีลักษณะดินผสมว่านเพียงเล็กน้อย มีความหนึกนุ่ม ผิวมัน
และพบเห็นแร่ละเอียดน้อย
เนื้อดินแกร่ง
เนื้อมีความละเอียดแต่มองดูไม่นุ่มนวล
พบเห็นเม็ดแร่ปรากฎแทรกตามผิวหรืออาจไม่มีก็ได้ ศึกษาง่ายเหมือพระดินเผาโดยทั่วไป
ลักษณะของดินกรุ
พระนางพญาองค์ที่มีดินอยู่ตามซอกต่าง ๆ
มีประโยชน์ในการพิจารณา
ลักษณะของดินกรุจะมีลักษณะแห้งผาก
สีซีดและจับอยู่แน่น
เมื่อสกิดหรือเอาสำลีชุบน้ำค่อย ๆ เช็ดออก เนื้อพระที่ปรากฏนั้นซีด และอ่อนกว่าผิวตรงที่ไม่มีดินจับ
ส่วนพระปลอมที่เอาไปฝังดินเพื่อให้มีคราบดินจับเนื้อกับผิวที่ล้างออกจะเหมือนกัน
เพิ่มเติมหมวดพระนางพญา
พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี ๖ พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง
พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก
ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์
รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก
พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน
มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี
และเมตตามหา นิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤษี
พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น
ปลุก เสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น
เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น
และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า
ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามาจัดเข้าชุด เบญจภาคี
พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้
โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ
ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระสมเด็จนางพญามีดังนี้
1. พระธาตุเหล็กไหล
มีความสำคัญด้านคงกระพัน
2. เหล็กน้ำพี้
มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
3. โพรงเหล็กไหล
มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด
4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู
มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์
5. ผงถ่านใบลาน
มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน
6. เกสรดอกไม้
มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
7. ว่าน 108 มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน
8. น้ำมนต์ทิพย์
มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์
9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ
มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล
10. ทรายเงินทรายทอง
มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง
ลักษณะพระสมเด็จนางพญามีดังนี้
ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดองค์พระแยกออกจากกัน
ด้านหลังบางองค์จะมีลายนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่
บางองค์ไม่มีลายนิ้วมือปรากฏแต่อย่างไร
แต่ก็สังเกตเม็ดผดปรากฏนูนขึ้นมาให้สัมผัสได้ สีขององค์พระมีดังนี้ คือ
๑. สีตับเป็ด
๒. สีดอกพิกุลแห้ง
๓. สีอิฐ
๔. สีแดง
๕. สีหัวไพลแห้ง
๖. สีขมิ้นชัน
๗. สีเขียวมะกอกดิบ
๘. สีเขียวครกหิน
๙. สีดำ
๑๐. ดอกจำปี
๑๑. สีเขียว
เนื้อพระนางพญาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
-
เนื้อละเอียดปนเนื้อหยาบ แก่ว่าน
- เนื้อหยาบ คล้ายพระผุ
ไม่สวยงามน่าดูสักเท่าไหร่
- เนื้อแก่แร่
เนื้อพระชนิดนี้จะปรากฏมวลสารเม็ดใหญ่ๆโผล่ขึ้นมาให้เห็นชัดเจน
พระนางพญาที่สร้างขึ้นครั้งแรกจะมีรูปทรงไม่สวยงามน่าดูแต่อย่างใด
สร้างครั้งที่สองจึงมีรูปทรงสวยงามกว่าครั้งแรกมาก เพราะได้นำช่างหลวงมาช่วยแกะแม่พิมพ์
แม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์พระนางพญา
การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้งครูบาอาจารย์จะนิยมสร้าง 84.000 องค์เสมอ
การจัดสร้างพระพิมพ์แต่ละครั้งจะมีแม่พิมพ์หลายอัน แม่พิมพ์แต่ละ
อันพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ คือพิมพ์ออกมาติดกันสามองค์
แล้วนำมาตัดแยกออกด้วยตอก ส่วนต่างๆขององค์พระก็มีผิดเพี้ยนไปบ้าง
แต่สภาพยังคงอยู่ดังเดิม พระพิมพ์เดียวกันบางครั้งก็คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปได้
สภาพของดินที่นำมาสร้างพระก็มีส่วนทำให้การพิมพ์พระคลาดเคลื่อนพระพิมพ์เดียวกัน บางครั้งก็คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปได้
เนื่องจากขณะที่พิมพ์พระลงไปในแม่พิมพ์ใหม่ๆดินยังสดและชื้น
แต่พอนำไปเผาก็มีการหดตัวตามธรรมชาติทำให้รูปทรงต่างๆขององค์ พระผิดเพี้ยนไป เช่น
เบี้ยวไปบ้าง ยาวไปบ้าง งอบ้าง แอ่นไปบ้าง ขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของไฟที่เผา
เซียนพระมักจะสรุปหาว่าผิดพิมพ์บ้าง พระเก๊บ้าง ขนาดเซียนยังลงความเห็นพระแท้พระจริงเป็นพระผิดพิมพ์
พระเก๊ ต่อไปภายหน้าพระแท้พระจริงก็จะหายไปจากวงการ คงเหลือไว้แต่พระนางพญาที่พระเกจิอาจารย์และเซียนสร้างขึ้นใหม่เท่านั้น
แม้แต่พระนางพญารุ่นที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้างแจกจ่ายแก่ทหารที่ออกรบ ปัจจุบันยังมีสภาพเดิมๆและดูใหม่
เซียนพระก็ยังมองเป็นพระผิดพิมพ์และพระเก๊ไปแล้ว
คงต้องปล่อยให้พระนางพญาแท้แสดงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ออกมาให้พิสูจน์ความเก่าแก่ของท่าน
เองแล้ว ของจริงของแท้แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
ก็ยังคงดำรงความเป็นของแท้และของจริงอยู่อย่างนั้นตลอดไป
ของใหม่หรือของเก่ามองดูด้วยตา เปล่าก็น่าจะรู้และดูออกแล้ว
เซียนเป็นใครอายุเท่าไหร่ เกิดก่อนคุณกี่ปี มีความรู้มาจากไหนควรนำมาพิจารณาด้วย
คนไม่เคยไปอเมริกาสามารถอธิบายลักษณะ เมือง LA จากการดูรูปถ่ายและฟังคำบอกเล่าของผู้อื่นได้ถูกต้องฉันใด
การอธิบายลักษณะพระเครื่องเก่าแก่โดยไม่เคยเห็นมาก่อนก็มีได้ฉันนั้น ส่วนจะถูกต้อง
หรือไม่คิดกันเอาเองก็แล้วกัน
พระกรุมี ๒ กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ ๑ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไหโบราณปั้นด้วยดินเผา สี่หู
กลุ่มที่ ๒ กลุ่มพระที่อยู่นอกภาชนะหรือไหดินเผา
สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสีและผิวของพระเครื่องอย่างมาก
พระที่บรรจุในไหโบราณปั้นด้วยดินจะมีสีเขียวตากบหรือสีตับเป็ด
ใกล้เคียงกับสีของพระผงสุพรรณ แต่การดูดซึมลึกลงไปในผิวมีน้อยมาก
ทั้งนี้เกิดจากขบวนการของธรรมชาติ สภาพของพระเครื่องนางพญาที่บรรจุอยู่ในไหโบราณมีลักษณะสมบูรณ์คงสภาพเดิม
คือไม่มีการชำรุดหรือแตกหักใดๆ ส่วนพระที่อยู่ภายนอกไหโบราณปั้นด้วยดิน
จะถูกห่อหุ้มด้วยอิฐหินดินทรายและคราบใคร บางองค์จะปรากฏราดำ พระที่อยู่
ในความชื้นจะเกิดราดำ ตรงกันข้ามพระที่อยู่ในที่แห้งจะไม่มีราดำแต่อย่างไร
โดยเฉพาะพระนางพญาที่ถูกนำไปแขวนสร้อยห้อยคอแล้วนานๆจะมีการแตกหักหรือ
ไม่ก็สึกกร่อนจนแทบจะจำสภาพเดิมไม่ได้ก็มี
วิธีดูพระกรุพระเก่าไว้ดังนี้ โดยเฉพาะพระนางพญา
กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
1. พระนางพญาแท้รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง
รูปทรงขององค์พระจะมีลักษณะแข็งๆ หมายถึงมีรายละเอียดไม่มากและไม่สวยงามอ่อนช้อย
เพราะพิมพ์ จากแม่พิมพ์ที่แกะจากไม้
โดยช่างฝีมือระดับชาวบ้านยังไม่มีศิลปะในการแกะแม่พิมพ์ให้ดูสวยงามมากนัก
รูปทรงขององค์พระนางพญารุ่นแรกๆจึงมีลักษณะแข็งๆไม่ สวยงาม
2. พระนางพญาที่บรรจุอยู่ในกรุหรือไหดินเผา
ถึงจะมีอายุเก่าแก่เป็นร้อยปีพันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์และคมชัดทั้งด้านหน้าด้านหลัง
ไม่ควรสึกกร่อน ใดๆปรากฏ เพราะไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน
จะมีแต่คราบใครตลอดทั้งขี้กรุและราดำหรือเขียวตามธรรมชาติเท่านั้น
3. หากพบพระกรุหรือพระเก่า
อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่ไม่มีคราบขี้กรุตลอดทั้งราดำหรือราเขียวๆปรากฏ
ดูแล้วเหมือนกระเบื้องที่เพิ่งเอาออกจากเตาอบ ก็ให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นพระใหม่
ไม่ใช่พระกรุหรือพระเก่าแน่นอน
เป็นไปไม่ได้ที่พระกรุพระเก่ามีอายุเป็นร้อยปีพันปีจะไม่มีร่องลอยของคราบใครตลอดทั้งราดำหรือ
ราเขียวปรากฏให้เห็นตามธรรมชาติ
4.พระนางพญาที่ผ่านการใช้งานมาแล้วควรจะมีสภาพสึกกร่อนทั้งด้านหน้า
และด้านหลังคล้ายๆกัน หากพบว่าด้านหน้าสึกกร่อนจนแทบจำสภาพเดิมไม่ได้
แต่ด้านหลังยังอยู่ในสภาพดีมีลายนิ้วมือปรากฏนั่นแสดงว่าพระใหม่ไม่ใช่พระเก่าหรือพระกรุแน่นอน
ในระหว่างการใช้งานด้านหลังย่อมถูไถไปมามากกว่าด้านหน้า
ด้านหลังจึงควรจะมีการสึกกร่อนมากกว่าด้านหน้า
เนื่องจากสมัยโบราณการแขวนสร้อยห้อยพระเครื่องจะนิยมถักด้วยลวดทองแดงเป็นตาข่ายไขว้ไปไขว้มา
ยังไม่มี การใส่กรอบมิดชิดเหมือนสมัยปัจจุบัน
5. ดูความหนาแน่นของเนื้อพระ
ถ้าเป็นพระเก่ามีอายุเป็นร้อยๆปีเนื้อดินหรือเนื้อปูนจะมีสภาพแน่นและแข็งแกร่งมากๆ
หากมีมวลสารและส่วนผสมของผง ใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้มากๆ
เนื้อพระเครื่องจะมีสภาพพรุนเหมือนดินผุๆมองเห็นแร่ธาตุต่างๆได้ชัดเจน
ส่วนที่เป็นผงใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้ที่อยู่ ในองค์พระด่านนอกจะถูกเผาไม่เหลืออะไรไว้ให้เห็นนอกจากรูพรุนๆ
บางองค์หักดูจะเห็นร่องรอยของเถ้าถ่านผงใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้
ฝังอยู่ในเนื้อพระ เครื่องก็มี
หากใครจะนำพระเก่าหรือพระกรุที่มีสภาพสมบูรณ์คมชัดไปให้เซียนดู
ก็ขอให้ทำใจไว้ล่วงหน้าเมื่อได้ยินเซียนท่านบอกว่าพระของคุณเป็นพระใหม่ไม่ถูกพิมพ์
ไม่ทราบเหมือนกันว่าไม่ถูกพิมพ์ของเซียนหรือว่าไม่ถูกพิมพ์ของวัดนางพญากันแน่
ส่วนมากเซียนท่านคุ้นเคยคุ้นตากับพระเครื่องที่มีสภาพสึกกร่อน พอมาเจอพระเครื่อง
ที่คุณนำไปให้ดูมีสภาพคมชัดสมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ท่านก็เลยสรุปว่าพระที่คุณนำไปให้ดูเป็นพระใหม่บ้าง พระไม่ถูกพิมพ์บ้าง พระเก๊บ้าง
6. พระนางพญารุ่นที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจัดสร้าง
ช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบและแกะแม่พิมพ์
พระนางพญายุคที่องค์สมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้สร้าง จึงมีรูปทรงองค์พระสวยงามอ่อนช้อย
ความแน่นหนาของเนื้อดินและส่วนผสมที่นำมาสร้างไม่แน่นหนาและแข็งแกร่งเหมือนพระนางพญายุคที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง
หากนำมาเทียบกันจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน
ถึงเวลาที่นักนิยมพระเครื่อง
จะได้เห็นและเป็นเจ้าของพระสมเด็จนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้างไว้สมัยกรุงศรีอยุธยา แท้ๆกันแล้ว
หากใครลงความเห็นว่าพระนางพญา กรุวัดนางพญาที่นำมาให้ชมนี้ไม่ใช่พระนางพญาแท้
เป็นพระผิดพิมพ์ หรือพระใหม่ ขอได้โปรดหันไปพิจารณาอายุและ
อาชีพดั้งเดิมของบุคคลผู้นั้นด้วยว่า มีความรู้สืบต่อกันมาอย่างไร
เคยเห็นพระสมเด็จนางพญาแท้ๆกันมาก่อนหรือไม่
อย่าฟังเหตุผลและเรื่องเล่าจากคำพูดเท่านั้น ใช้สติและ
พิจารณาหาเหตุผลด้วยต้นเองบ้าง อย่างน้อยดูสภาพความเก่าตลอดทั้งศิลปะของรูปทรงองค์พระและมวลสารต่างๆที่ควรจะมีปรากฏให้เห็น
หากเป็นพระเก่าอยู่แต่ในกรุ ถึงจะ มีเวลาผ่านไปนานกี่พันปี
ควรมีสภาพสมบูรณ์ไร้ล่องรอยของการสึกกร่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
จะมีได้แค่คราบใคร ขี้กรุฝังอยู่ในเนื้อขององค์พระเท่านั้น
การดูพระกรุ พระเก่าแก่ อายุเป็นร้อยๆปี
ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ไหนถูกบรรจุในกรุอยู่ลึกๆ
มีความอับชื้นมากย่อมมีคราบใคร ตกผลึก ฝังแน่นหนามากกว่า
บางองค์เกาะกันเป็นแผ่นเหมือนสนิมเกาะโลหะเก่าๆ
บางองค์ถูกบรรจุอยู่ในกรุตื้นๆความอับชื้นมีน้อย คราบใครตกผลึกที่องค์พระก็มีน้อยและบางตามไปด้วย
ของ
เพิ่มเติมหมวดพระนางพญา กรุวัดนางพญา 'พิมพ์เข่าโค้ง'
พระนางพญา วัดนางพญา
จังหวัดพิษณุโลก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน แต่ละพิมพ์มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป
ในตอนนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของพิมพ์เข่าโค้งก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งการศึกษาพระนางพญา
ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางพระเครื่องท่านแนะนำว่า
อันดับแรกควรจะต้องดูที่สัณฐานของพิมพ์ทั้งหมดก่อน
คือดูภาพรวมทั้งองค์แล้วจึงแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ขององค์พระ
สุดแล้วแต่ผู้ศึกษาจะแบ่งส่วนตรงไหนก่อน แต่โดยทั่วไปก็มักดูส่วนหน้าก่อนแล้วจึงไล่ลงมาถึงส่วนขององค์พระ
ดูรอยตัดข้างของพระ แล้วดูพิมพ์ด้านหลังขององค์พระทั้งหมด
อีกส่วนหนึ่งที่ใคร่ขอกล่าวไว้ในที่นี้คือ
ให้ดูร่องรอยในแม่พิมพ์ที่อยู่ส่วนลึกที่สุดขององค์พระว่ามีตำหนิอะไรบ้าง
ดูลายเส้นที่จะประกอบเป็นองค์พระทั้งหมด ลายเส้นที่ว่านี้ เช่น เส้นหูทั้งสองข้าง
เส้นเอ็นคอทั้งสองข้าง เส้นสังฆาฏิขององค์พระ เส้นอังสะลำแขน
และเส้นตวัดของปลายแขน เส้นลำขาขององค์พระ เส้นเหล่านี้จะเป็นเส้นนูนตั้งคมชัดมาก
บางเส้นจะเว้าลึกชอนเข้าตรงส่วนติดกับพื้นขององค์พระ สภาพเหล่านี้เกิดจากการมีอายุอันยาวนานขององค์พระนางพญา
จึงเกิดการหดตัวของเนื้อพระ
ในขณะที่ของปลอมก็พยายามทำเลียนแบบแต่ยังขาดความเป็นธรรมชาติ
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
จัดเป็นพิมพ์ที่สวยงามและได้รับความนิยมสูงสุด ในอดีตมีผู้รู้พูดกันว่า พระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มี 2 พิมพ์คือ
พิมพ์หน้านาง และพิมพ์ศิลปะวัดตะกวน
แต่จากการศึกษาโดยละเอียดถึงตำหนิของแม่พิมพ์ทุกจุดแล้ว ทำให้มั่นใจได้ว่า
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มีเพียง 1 พิมพ์เท่านั้น ไม่มีการแบ่งแยกเป็นพิมพ์อื่นๆ
เพราะตำหนิรายละเอียดของแม่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์หน้านาง
หรือพิมพ์ศิลปะวัดตะกวนจะเหมือนกันทุกจุด จึงถือว่าเป็นพิมพ์เดียวกัน
เพียงแต่ว่าตอนกดพิมพ์ ถ้ากดพิมพ์ได้ลึกพระจะติดลึก และดูสูงนูนมาก ศิลปะจะดูลึกคม
และบอบบางมากขึ้น แต่ถ้ากดพิมพ์เบากว่า พระจะติดตื้น และดูรู้สึกอ้วน
ล่ำสันขึ้นทุกจุด กลายเป็นศิลปะหน้าตะกวนไป
แต่รายละเอียดตำหนิส่วนลึกของแม่พิมพ์จะเหมือนกันทุกจุด จึงควรจะเป็นพิมพ์เดียวกัน
การสังเกตจดจำรูปลักษณะของพระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง ก่อนอื่นต้องเริ่มต้นดูภาพลักษณ์ทั้งองค์ของพระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้งก่อน พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง เป็นพระดินเผา รูปสามเหลี่ยม
ตัดขอบด้วยตอกทั้ง 3 ด้าน มีขนาดใกล้เคียงกันทุกองค์
จะมีขนาดใหญ่ เล็กแตกต่างกันบ้างตามสีของเนื้อพระ
ขนาดของพระนั้นเป็นจุดสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ขนาดใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไปต้องสงสัยไว้ก่อน
ถ้าเนื้อพระเขียวมีขนาดใหญ่กว่าพระเนื้อแดงทั้งที่เป็นพิมพ์เดียวกันละก็ “ไม่แท้” แน่นอน ขนาดที่ว่านี้ต้องดูขนาดขององค์พระ
มิใช่ดูขนาดของกรอบนอกสามเหลี่ยม เพราะพระนางพญาบางองค์ตัดขอบชิดมาก
พระนางพญาบางองค์ก็ตัดขอบไม่ชิดนัก ขนาดขอบของสามเหลี่ยมจึงดูใหญ่ เล็กแตกต่างกัน
นำมาเป็นบรรทัดฐานไม่ค่อยได้นัก
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
เป็นพระเครื่องที่มีพุทธศิลป์งดงาม องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย
พระหัตถ์ขวาจะพาดที่หัวเข่า พระหัตถ์ซ้ายจะวางบนหน้าตัก
หน้าตักหรือส่วนขาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อยคล้ายเรือสำเภา
วงการพระจึงขนานนามว่า “พิมพ์เข่าโค้ง” จัดเป็นพิมพ์ที่สวยงามที่สุด
และได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาพระนางพญาทั้ง 7 พิมพ์
การตัดขอบทั้ง 3 ด้าน
จะตัดค่อนข้างชิดกับองค์พระท่าน และส่วนใหญ่จะตัดปลายหูขององค์พระ
และหัวเข่าขององค์พระขาดหายไปบ้าง
เนื้อที่บริเวณปีกด้านข้างขององค์พระท่านส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีศิลปะเกลี้ยงๆ
ไม่มีหน้า มีตาชัดนัก ลักษณะของตา จมูก และปากของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
จะมีแผ่วบางเท่านั้น ไม่ชัดเจนเหมือนพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง อย่างไรก็ตาม
หากศึกษาเรื่องพระนางพญาแล้วก็จะต้องพิจารณาถึงศิลปะบนพระพักตร์ของพระนางพญา
วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในทุกๆ พิมพ์ ถึงจะมีตา จมูก และปาก
แต่ศิลปะของพระนางพญาจะเป็นลักษณะให้เห็นรางๆ หรือนูนขึ้นมาบ้างเท่านั้น
มิได้เป็นเส้นชัดเจนเหมือนพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ หรือพระในสกุลขุนแผน
นอกจากลักษณะการตัดขอบของพระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง ตลอดจนเอกลักษณ์ศิลปะพระพักตร์ของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
เอกลักษณ์ทางศิลปะของพระนางพญา ซึ่งไม่เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งเท่านั้น
แต่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของพระนางพญาทุกพิมพ์ คือ เส้นปลายพระกรรณ เส้นปลายอังสะ
เส้นปลายพระหัตถ์ โดยเฉพาะพระหัตถ์ข้างซ้ายจะมีลักษณะหนึ่งก็คือ
ที่เราเรียกว่าเม็ดผด จะขึ้นอยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้า และด้านหลังของพระนางพญา
วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ตำหนิรายละเอียดของแม่พิมพ์โดยไล่จากเกศพระนางพญา ลงมาเป็นลำดับ
1. โคนเกศ ลักษณะเหมือนหัวปลีกล้วย
2. เส้นกระจังหน้าจะคมชัด และใต้เส้นกระจังหน้าจะเป็นรอยยุบเหมือนหน้าผากยุบ
3. ซอกหูทั้ง 2 ข้างจะปรากฏเม็ดผดเรียงรายจากบนลงมาที่ปลายหู
4. ปรากฏเส้นเอ็นคอทั้ง 2 ด้าน
ในลักษณะโค้งจรดบ่าขององค์พระ
5. ระหว่างเส้นเอ็นคอ มีลักษณะเป็นเส้นนูนเหมือนสร้อยสังวาลย์
6. ตรงเส้นอังสะที่แล่นจรดพื้นซอกแขนด้านขวาขององค์พระ
จะมีเส้นคมชัดเป็นเส้นส่วนเกินผ่าจากใต้รักแร้ทะลุชายสบงจรดซี่โครงขององค์พระ
7. ปลายข้อศอกจะมีเนื้อเกินเชื่อมต่อกับปลายพระบาท
นอกจากชี้ตำหนิรายละเอียดแม่พิมพ์ด้านหน้าแล้ว
ตำหนิด้านหลังของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ก็เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่จะต้องศึกษาเช่นกัน เพราะถ้าด้านหลังขององค์พระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง แตกต่างจากตำหนิที่ชี้บอกไว้ พระนางพญาองค์นั้นก็จะเป็นพระที่น่าสงสัยเช่นกัน
1. ผิวที่เหี่ยวย่น จะมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ
2. พื้นหลังจะลาดเอียงจากกลางองค์พระ
เมื่อถึงขอบแม่พิมพ์ที่ตัดขอบจะกระดกขึ้นคล้ายขอบกระด้ง
เนื่องจากการยุบตัวของเนื้อดินที่มีอายุนานหลายร้อยปี
3. ส่วนสูงจะมีเม็ดผดเล็กๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป
เพิ่มเติมหมวดพระนางพญา กรุวัดนางพญา 'พิมพ์เข่าตรง'
จะว่าไปแล้วพระนางพญา พิมพ์เข่าตรงนั้น
ถือว่าเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่องไม่น้อยไปกว่าพิมพ์เข่าโค้ง
โดยเฉพาะองค์ที่มีความสวยงามสมบูรณ์ บางทีอาจมีมูลค่าสูงกว่าพิมพ์เข่าโค้งเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้นนักสะสมก็ไม่ควรมองข้ามพระนางพญาพิมพ์นี้เช่นกัน
การศึกษาพระนางพญา พิมพ์เข่าตรงนั้น
หลักการก็คงไม่แตกต่างกับการศึกษาพระพิมพ์อื่นๆ นั่นคือ
อันดับแรกผู้ศึกษาควรจะต้องดูภาพรวมของพิมพ์พระทั้งหมดก่อน
นั่นก็คือดูพิมพ์ให้แม่น แล้วจึงแยกไปดูรายละเอียด จุดตำหนิต่างๆ
สำหรับพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง กรุวัดนางพญา
จังหวัดพิษณุโลก ลักษณะโดยทั่วไปก็จะคล้ายกับพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
ทั้งขนาดและความหนาใกล้เคียงกันมาก ที่ต่างกันเล็กน้อยคือ ความลึกของพิมพ์ทรงนั้น
พระนางพญา พิมพ์เข่าตรงจะมีความลึกมากกว่าของพิมพ์เข่าโค้ง
และเน้นรายละเอียดมากกว่า
แต่ที่พระนางพญาทั้งสองพิมพ์มีข้อแตกต่างกันที่ชัดเจนก็คือ ส่วนที่เป็นแนวพระเพลา
และพระชานุหรือหัวเข่า
ซึ่งแสดงพุทธลักษณะขัดสมาธิราบนั้นจะวางแนวเป็นเส้นตรงและซ้อนกันเป็นเส้นขนาน
ไม่โค้งเหมือนพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง เพราะฉะนั้นจึงเรียกชื่อพระนางพญาพิมพ์นี้ว่า
“พระนางพญา
พิมพ์เข่าตรง”
ได้มีการแบ่งแยกพระนางพญา
พิมพ์เข่าตรง ออกเป็น 2 บล็อกแม่พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรงธรรมดา
และพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” ซึ่งพระนางพญาทั้ง
2 พิมพ์
นอกจากจะมีลักษณะของแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงที่มือตกเข่า
และไม่ตกเข่าแล้ว
เอกลักษณ์และรายละเอียดในแม่พิมพ์ก็มีความแตกต่างกันหลายจุดพอสมควร
ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
เมื่อพูดถึงข้อแตกต่างระหว่างพระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง และพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง
ในความเป็นจริงนั้นนอกจากความแตกต่างตรงช่วงพระเพลาที่เห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว
ก็ยังมีรายละเอียดในจุดอื่นๆ ที่แตกต่างกันอีกหลายประการ
โดยเฉพาะส่วนพระพักตร์นั้นมีข้อสังเกตประการหนึ่งก็คือ พระพักตร์ของพระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียบร้อย ไม่ค่อยมีหน้าตาปรากฏให้เห็นมากนัก
ถ้าจะเห็นก็เพียงแผ่วๆ เท่านั้นส่วนพระพักตร์ของพระนางพญา
พิมพ์เข่าตรงนั้นจะปรากฏมีหน้าตาให้เห็นชัดเจนมากกว่า
นอกจากนี้รายละเอียดเกี่ยวกับการตัดขอบสามเหลี่ยม ในพระนางพญา
พิมพ์เข่าโค้ง จะตัดขอบสามเหลี่ยมแตกต่างกับพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง
อยู่เล็กน้อยเช่นกัน ซึ่งความจริงเรื่องของการตัดขอบอาจจะนับเป็นข้อสรุปไม่ได้
เพราะไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่แล้วพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง
การตัดขอบหัวเข่าจะแคบกว่าพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
จึงดูส่วนรวมแล้วเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมที่ชะลูดสูงมากกว่าพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้งงอไม่ตกเข่า)
พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง เป็นพระเครื่องรูปทรงสามเหลี่ยมชะลูด
ขนาดของกรอบนอกสามเหลี่ยมบางองค์ตัดขอบชิดมาก พระนางพญาบางองค์ก็ตัดขอบไม่ชิดนัก
ขนาดของกรอบสามเหลี่ยมจึงดูใหญ่ เล็กแตกต่างกัน องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย
ไม่ปรากฏฐาน หรืออาสนะรองรับ พระหัตถ์ขวาจะพาดที่หัวเข่า พระหัตถ์ซ้ายจะวางบนหน้าตัก
หรือพระเพลาส่วนขาที่วางซ้อนจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง วงการพระจึงขนานนามว่า “พิมพ์เข่าตรง”
ตำหนิแม่พิมพ์ของพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง
1. พระเกศ เหมือนปลีกล้วย กล่าวคือ โคนจะใหญ่ ปลายจะเรียวสั้น
และมีผู้ให้ข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่ปลายพระเกศมักเอนไปทางขวาขององค์พระเสมอ
2. ปรากฏเส้นกระจังหน้าผากชัดเจน
3. หน้าผากจะมีลักษณะยุบ หรือบุบเล็กน้อย ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระนางพญา
ซึ่งมีข้อสังเกตว่าหน้าผาก ด้านขวาขององค์พระจะยุบ
หรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระจะแตกเป็นหางแซงแซว
5. หูซ้ายยาวเชื่อมติดกับเส้นสังฆาฏิ
6. เส้นขอบจีวรมีลักษณะเป็นเส้นโค้งเรียวเล็ก และชอนเข้าซอกแขนขวาองค์พระ
7. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็นลอน
8. ปลายมือข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
9. มือที่วางบนเข่าไม่มีนิ้วมือให้เห็น
10. มีเม็ดผดเกิดขึ้นตามองค์พระนางพญาอยู่เต็มทั้งองค์
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พิมพ์เข่าตรง
ตำหนิด้านหลังของพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง
1. รอยเหี่ยวย่น
จะเป็นร่องคล้ายรอยก้านไม้ขีดปรากฏอยู่เต็มแผ่นหลัง
เป็นรอยวัสดุบางอย่างที่ใช้กดพิมพ์
2. มีรอยนิ้วมือของผู้กดพิมพ์พระ
3. ขอบรอยตัดมีทั้งตั้งเป็นสันคม
และเอียงลาด
4. ขอบรอยตัดด้านขวามือ
จะเอียงลาดลงกว่าด้ายซ้ายมือ
5. ปรากฏเม็ดผดอันเป็นเอกลักษณ์ของพระนางพญาซึ่งอยู่เต็มทั้งองค์
พระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
ดังที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า
พระนางพญา พิมพ์เข่าตรงนี้มีอยู่ 2 บล็อกแม่พิมพ์คือ พระนางพญา
พิมพ์เข่าตรงธรรมดา และพิมพ์เข่าตรง“มือตกเข่า” เอกลักษณ์ของพระนางพญาพิมพ์นี้ก็คือ
มือขวาที่จับเข่าปลายนิ้วมือจะล้วงต่ำลงไปข้างล่าง จึงเรียกกันว่า พระนางพญา
พิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” ส่วนอีกพิมพ์มือที่วางจะเสมอเพียงเข่าเท่านั้น
ซึ่งทั้ง 2
พิมพ์นอกจากจะมีลักษณะของแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงที่มือตกเข่า
และไม่ตกเข่า แล้วเอกลักษณ์รายละเอียดในแม่พิมพ์ก็มีความแตกต่างกันหลายจุดพอสมควร
ในอดีตมีผู้สงสัยว่าพระนางพญา
พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า น่าจะเป็นพระนางพญา กรุโรงทอมากกว่ากรุวัดนางพญา
จังหวัดพิษณุโลก ด้วยเหตุที่ว่าพุทธลักษณะของพระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
มีส่วนคล้ายกับพุทธลักษณะของพระนางพญา กรุโรงทอมาก
แต่ในปัจจุบันวงการพระต่างก็ยึดถือกันว่าพระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
เป็นพระวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกแน่นอน
พิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า)
พุทธลักษณะของพระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
มีดังนี้
1. การตัดพิมพ์ ส่วนใหญ่จะตัดขอบกว้างกว่าพระนางพญาทุกพิมพ์
ทำให้มีพื้นที่ด้านหลังพระเป็นขอบทั้ง 3 ด้าน มีค่อนข้างมาก
2. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
3. เส้นกระจังหน้าผากมีลายเส้นติดกับพระเกศ
4. มีรอยยุบบริเวณหน้าผาก
ซึ่งหน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายมือขององค์พระ
5. ปลายหูด้านขวาขององค์พระจะแตกเป็นหางแซงแซว
6. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระจะเชื่อมติดเป็นเส้นเดียวกับเส้นสังฆาฏิ
7. เส้นขอบจีวรหนาใหญ่ วิ่งเป็นเส้นตรงผิดกับพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง
ซึ่งจะวิ่งเป็นเส้นโค้ง
เพิ่มเติมหมวดพระนางพญา กรุวัดนางพญา 'พิมพ์สังฆาฏิ'
สีพระนางพญาพิษณุโลก มีมากมายหลายสี คล้ายพระเนื้อดินทั่วไป
เนื่องจากการเผาใช้ไผแรงและรีบสร้างพระให้เสร็จตามกำหนดพระนางพญาจึงมีลักษณะคล้ายกับสีของพระรอด
ซึ้งมีสีต่างๆดังนี้
สีตับเป็ด หรือเขียวตากบ
(พระที่บรรจุในไห จะมีลักษณะใกล้เคียงกับสีพระผงสุพรรณแต่ราดำของพระผงสุพรรณจะมีการซึมลึก
(Osmosis)) เข้าไปในเนื้อพระมาก
เพราะมีอายุมากกว่าพระนางพญารวมทั้งความหนึกนุ่มของวรรณะของพระ)
สีดอกพิกุล แห้ง
สีอิฐ มอญ
สีแดงเข้ม
สีหัวไฟรแห้ง
สีขมิ้นชัน
สีเขียวมะกอกดิบ
สีเขียวหินครก
สีดำ
สีช็อกโกแลต (สีน้ำตาล)
สีมะขามเปียก
การเกะแบบพิมพ์สมัยก่อนไม่ได้จงใจทำให้เกิดตำหนิที่ใดๆครับแบบทรงก็เลียนแบบจากพระพุทธรูป
การที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นการผิดพลาดของแม่พิมพ์มากกว่า ไหนๆก็ว่าถึงพิมพ์นี้ ลองดูเอกลักษณ์อื่นๆดูกันดีมั้ยครับจะได้บอกออกว่าเป็นพิมพ์สังฆาฏิพอดีมีข้อมูลจากที่อื่นมา
เลยเอามาให้ดู เพราะน่าจะเป็นประโยชน์
ในส่วนของหน้าตักเราจะเห็นว่าเป็นหน้าตักที่เป็นเส้นตรง
เราก็ตัดพิมพ์เข่าโค้งไปได้เลย มาดูที่ส่วนลำพระองค์ และเห็นปลายสังฆาฏิและชายจีวร
ที่ลำพระองค์ที่เห็นเป็นลำพระองค์ที่ค่อยๆ กลืนหายลงไป ไม่เป็นส่วนของลอนท้องหรือนูนเด่นชัด
ก็ตัด พิมพ์เข่าตรงและพิมพ์อกนูนใหญ่ อกนูนเล็กไปได้ ดังนั้น
เราก็จะเหลือพิมพ์สังฆาฏิและพิมพ์เทวดาเท่านั้น
ทีนี้ก็มาดูต่อที่เส้นสังฆาฏิและเส้นชายจีวร
เราจะเห็นว่าเส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนาปลายตัดชัดเจน
และเส้นชายจีวรก็เป็นเส้นชัดเจนวาดเฉียงลงมาไปยังซอกแขนขวาขององค์พระ
ก็แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นพิมพ์สังฆาฏิ
และที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือให้สังเกตดูที่ข้อมือขวาขององค์พระที่วางมาที่หัวเข่า
จะเห็นว่าเป็นการวางมือแบบหักข้อมือ โดยที่มือวางหักออกด้านนอก
ตรงนี้เป็นเอกลักษณ์ของพระนางพญาพิษณุโลก พิมพ์สังฆาฏิโดยเฉพาะ ถ้าเราดูโดยรวมที่กรอบของพิมพ์พระ
จะเห็นว่ามีสัณฐานเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมที่เกือบจะเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า
ซึ่งแตกต่างจากพระนางพญาพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์ ส่วนพระนางพญาพิมพ์อื่นๆ
นั้นจะเป็นรูปทรงสัณฐานรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ต่อมาเราก็มาดูที่พระพักตร์ของพระนางพญา
พิมพ์สังฆาฏิ
พระพักตร์ของพระนางพญาพิมพ์นี้จะมีคางค่อนข้างใหญ่เกือบเป็นสี่เหลี่ยม
หน้าผากระหว่างเส้นไรพระศกจะเห็นว่าเป็นรอยยุบลงไปเป็นตำหนิของแม่พิมพ์
ที่พระกรรณข้างซ้ายขององค์พระจะเห็นว่าพระกรรณเป็นเส้นต่อจากไรพระศกลงมาแล้วแยกเป็นสองเส้นมาจรดเส้นสังฆาฏิและเส้นจีวรตรงบริเวณบ่าขององค์พระ
พระกรรณขวาขององค์พระที่ส่วนปลายจะแยกออกเป็นหางแซงแซว
หัวไหล่ขวาขององค์พระถ้าเราสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่า มีเนื้อเกินนูนออกมาทางด้านข้าง
ทำให้เหมือนกับว่า มีกล้ามเนื้อหัวไหล่ให้เห็นได้ชัด
ก็เป็นจุดสังเกตส่วนหนึ่งของพระนางพญา พิษณุโลก กรุวัดนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ
ขอบคุณแหล่งที่มา ดูพระแท้ดอตคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น