พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร วัดพระธาตุดอนเรือง
จากการที่ 13
ชีวิต นักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่าอคาเดมี และโค้ชผู้ฝึกสอน ได้หายไปในขณะเข้าไปเที่ยวในถ้ำหลวง
เขตวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 23
มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งการค้นหาเป็นไปอย่างต่อเนื่องก็ยังไม่พบ
ซึ่งชาวบ้านเชื่อในเรื่องความลี้ลับอาถรรพ์ถ้ำหลวงนางนอน
กระทั่งพระครูบาบุญชุ่ม
ต้องทำพิธีสำคัญ ถ้ำหลวง 2 วันซ้อน ซึ่งเป็นความหวังของ13ชีวิต ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงนางนอน หลังจากทุกหน่วยงาน องค์กร ตำรวจ ทหาร หน่วยจู่โจม พิเศษ(SEAL) สังกัดหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือของกองทัพเรือไทย
ต่างระดมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
เผยประวัติพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม
ญาณสํวโร วัดพระธาตุดอนเรือง
บิดา-มารดาพ่อคำหล้า แม่แสงหล้า
ทาแกง นามเดิม เด็กชายบุญชุ่ม ทาแกง วันเดือนปี เกิดวันอังคารที่ ๕ มกราคม พ.ศ.
๒๕๐๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ สถานที่เกิดหมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ
อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
มีพี่น้องด้วยกัน ๔ คน
๑. พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร
๒. พระครูบาวีนัส กตปุญโญ
๓. เด็กหญิงเอื้องฟ้า (เสียชีวิต)
๔. นางอ้อมใจ ปูอุตรี สมรสกับนายประทีบ ปูอุตรี
ชีวิตในวัยเยาว์
คุณแม่แสงหล้าได้แต่งงานกับคุณพ่อคำหล้า
ก่อนตั้งครรภ์พระครูบาเจ้าฯ คุณแม่แสงหล้านิมิตฝันว่า “ได้ขึ้นภูเขาไปไหว้พระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่เหลืองอร่ามงามมากนัก”
แล้วสะดุ้งตื่นอยู่มาไม่นานนัก คุณแม่แสงหล้าเริ่มตั้งครรภ์
พอตั้งครรภ์ได้ครบ ๑๐ เดือน ก็ได้ให้กำเนิดเด็กชายบุญชุ่ม
ซึ่งเป็นเด็กหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู
จากนั้นก็มีเหตุแยกจากพ่อคำหล้ากลับไปดูแลแม่อุ้ยนางหลวงที่เคยอยู่ด้วยกัน
เพราะไม่มีใครดูแล ส่วนพ่อคำหล้าก็กลับไปดูแลแม่หลวงอุ่น
จึงเป็นเหตุให้ต้องแยกกันอยู่ เมื่ออายุครบ ๖ เดือน พ่อคำหล้าได้มาเยี่ยม
ซื้อเสื้อผ้ามาฝากลูกด้วย แต่กลับไปไม่นาน คุณพ่อก็ได้ล้มป่วยด้วยโรคบิดกระทันหัน
ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี เท่านั้น เมื่อพระครูบาฯ อายุได้ ๔ ขวบ
แม่อุ้ยนางหลวงและคุณแม่แสงหล้าได้ย้ายจากบ้านด้ายไปอยู่บ้านทาดอนชัย
ตำบลป่าสักอำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ บ้านทาดอนชัย ต.แม่ทา อ.สันกำแพง
(ปัจจุบันแยกอำเภอออกมาเป็น อ.แม่ออน) จ.เชียงใหม่ และสมรสใหม่กับนายสม ชัยวงศ์คำ
มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า เด็กชายวีนัส (แดง) และบุตรหญิง ๒ คน คือเด็กหญิงเอื้องฟ้า
ถูกสุนัขกัดตาย เมื่ออายุได้ ๔ ขวบ และเด็กหญิงอ้อมใจ
เมื่อแม่อุ้ยนางหลวงได้ถึงแก่กรรมไป
ครอบครัวของเด็กชายบุญชุ่ม
ยิ่งลำบากมากกว่าเก่า บ้านก็ถูกรื้อขาย
แล้วอพยพไปอยู่เชิงดอยม่อนเรียบดอยม่อนเลี่ยม ทำกระต๊อบน้อยอยู่กัน ๔-๕ คน แม่ลูก
ฝาเรือนก็ไม่มี เวลาฝนตกหลังคาก็รั่ว เอามุ้งขาดเป็นเรือน
ผ้าห่มก็มีผืนเดียวเวลาหน้าหนาวก็หนาวเหน็บ
ต้องนอนผิงไฟเหมือนสุนัขผ้านุ่งผ้าห่มเสื้อกางเกงก็มีชุดเดียวเวลาไป
โรงเรียนก็นุ่งกางเกงขาสั้นไป เรื่องอาหารก็ตามมีตามได้ เก็บกินเต้าแตง เผือกมัน
ผักผลไม้กิน เพื่อยังชีพไปวันๆ บางทีแม่แสงหล้าก็ไปรับจ้างเกี่ยวข้าวและปลูกหอม
กระเทียม ได้ข้าวมาเลี้ยงกัน วันละลิตร สองลิตร ก็เอามาหุงต้มเลี้ยงกัน
วันไหนข้าวมีน้อย ก็เอาต้มใส่เผือกใส่มัน บางครั้งก็ได้กินหัวกลอยต่างแทนข้าว
บางครั้งได้กินข้าวกับพริกกับเกลือบ้าง บางทีแม่แสงหล้า ไม่สบายไปรับจ้างไม่ได้
พระครูบาเจ้าบุญชุ่มและน้องๆ ก็เที่ยวขอทาน ห่อข้าว ตามหมู่บ้านมาเลี้ยงดูกัน
บางวันก็ได้มากบ้างน้อยบ้าง พอประทังชีวิต บางคนก็ด่าว่าตางๆ นานา บางคนก็ดีใจ
บางคนก็ทุบต่อยตีไล่หมาใส่ ท่านก็ไม่ถือสาโกรธแค้น
ส่วนพ่อเลี้ยงก็ไม่สบายเป็นโรคบวมพองทำงานไม่ได้
พระครูบาบุญชุ่มบางทีก็ต้องเก็บใบตองไปแลกข้าวบางทีก็หาฟืนไปขาย
บางวันก็ไปรับจ้างเก็บถั่วลิสง ได้เงินมา ๑ บาท ๒ บาท ก็เอาไปซื้อข้าว
น้ำมันและพริก
เกลือมาเลี้ยงครอบครัวถึงแม้ชีวิตท่านจะลำบากเพียงใดก็ไม่เคยเป็นเด็กเกเร
ลักเล็กขโมยน้อยเด็ดขาย แม่แสงหล้าจะสอนว่า “ห้ามลักขโมยของคนอื่นมาโดยเด็ดขาด”
วันหน้าถ้ามีบุญก็จะสบายได้แล
บางวันน้องซนไม่มีใครดูแลพระครูบาเจ้าบุญชุ่มก็ฉีกเอาชายผ้าถุงของแม่ผูกขา น้องๆ
ติดกับเสาบ้านเสาเรือนไว้ แล้วก็เที่ยวขอทานมาเลี้ยงแม่เลี้ยงน้อง
เห็นทุกข์ก็เห็นธรรม
ชีวิตความเป็นอยู่ของพระครูบาเจ้าฯ
ช่างน่าสังเวช ทุกข์ลำบากเหมือนกับว่า ในโลกนี้บ่มีใครเท่าเทียมได้
ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกข์และสุขก็เป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่
ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนลำบากไม่ใช่ตัวตนของเราบังคับไม่ได้
พิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว พึงจะเบื่อหน่ายการเกิด การตาย ทุกข์ในวัฏฏะสงสารพึงสละละวางความยึดมั่น
ถือมั่น พึงคลาย ความอาลัยในตัณหาตัวนำมาเกิด พึงละอวิชชา
ความไม่รู้นำมาเกิดภพชาติ ชรามรณะทุกข์ เวียนว่าย ตายเกิด
หาที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายบ่มิได้พึงสังเวชเบื่อหน่ายโลกาอามิสทั้งปวงพึง
มีจิตยินดีในพระนิพพานเป็นอารมณ์ รีบขวนขวายหาทางดับทุกข์ ความเกิดแก่เจ็บตาย
จงสร้างแต่กุศลบุญทาน รักษาศีลภาวนา อย่าขาด อย่าประมาทในชีวิตสังขารไม่ยั่งยืน
ไม่รู้ว่าเราจะตายวันใด ที่ไหน เวลาใด ใครไม่สามารถกำหนดได้ ขอให้ทุกคน
เราท่านทั้งหลายจงทำดีให้หนีวัฏฏะสงสารไม่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะการเกิด บ่อยๆ
เป็นทุกข์ดังนี้แล
อุปนิสัยฝักใฝ่ในธรรมของพระครูบาเจ้าฯ
เนื่องจากคุณแม่แสงหล้าเป็นคนมีนิสัยใจดีมีเมตตาเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีลูกเต้า
ญาติมิตรพี่ๆ น้องๆ เป็นผู้รู้จักบุญคุณเสมอชอบทำบุญไปวัดไม่ขาด
ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะลำบากยากจนขนาดไหน
พอถึงวันพระแม่จะจัดหาอาหารตามมีตามได้ไปใส่บาตรทุกครั้ง ก่อนที่คุณยายของพระครูบาเจ้าฯ
คือยายแม่อุ้ยนางหลวง ยังไม่เสียชีวิต ดังนั้นเมื่อพระครูบาเจ้าฯ อายุได้ ๔-๕ ปี
ก็พาไปนอนวัดปฏิบัติธรรมด้วย ยายสอนว่าให้ไหว้พระสวดมนต์ และภาวนาพุทโธฯ
ตั้งแต่เล็กได้คลุกคลีอยู่กับวัดตั้งแต่ตัวน้อยๆ เวลาเข้าโรงเรียนฯ
ก็ติดกับวัดเวลาว่างก็ชอบเขาไปไหว้พระในวิหาร บางทีก็ภาวนาตามร่มไม้
ทำอยู่อย่างนี้ตลอดเท่าที่ท่านจำความได้ พระครูบาเจ้าฯ
ไม่ชอบทานเนื้อสัตว์มาตั้งแต่เกิด ถ้าจำเป็นต้องท่านก็เอาคำข้าวจิ้มแต่น้ำแกง
บางทีก็ทานข้าวเปล่าๆ บางทีก็ทานกับน้ำอ้อย บางทีก็ทานข้าวกับกล้วยไปวันๆ
คุณแม่แสงหล้ารักเอ็นดูพระครูบาเจ้าฯ
เป็นอย่างยิ่งไม่เคยด่าเคยตีด้วยไม้หรือฝ่ามือแม่แต่ครั้งเดียวในชีวิต
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าชีวิตในวัยเยาว์ของพระครูบาเจ้าฯ
จะทุกข์ยากลำบาก แต่ท่านก็เป็นเสมือนเพชรในตม
คือจิตใจของท่านที่ได้รับการปลูกฝังคุณงามความดีอยู่เสมอ
ทั้งจากคุณยายและจากคุณแม่ จากการคลุกคลีอยู่กับวัด กับพระสงฆ์
จึงทำให้จิตใจของเด็กน้อยรู้สึกผูกพันกับบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ถูกสั่งสอนให้ขยันหมั่นเรียนเขียนอ่าน และสอนให้หมั่นเพียรทำงานทุกอย่าง
แม่แสงหล้าจะใช้ไปซื้อของในตลาด บางทีมีเงินบาทเดียวได้ของมาสี่อย่าง ซื้อพริก ๑
สลึง เกลือ ๑ สลึง น้ำมัน ๑ สลึง เมี้ยง ๑ สลึง เป็นต้น
เพราะเงินสมัยนั้นมีค่าข้าวสารลิตรละ ๑ บาท ก็พอกินไป ๒ วัน
เท่าที่จำได้ตอนโตมาแล้วบางทีโรคลมของคุณแม่กำเริบก็ว่าด่าต่างๆ
ด้วยความลืมตัวบ้างเสร็จแล้วพอรู้สึกดีขึ้นคุณแม่จะมาขอขมาลาโทษทุกครั้ง
โดยการผูกข้อมือรับขวัญให้ทุกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น