บันทึกประวัติการจัดสร้าง 214
ชาตกาล
ในช่วงที่ พุทธศักราช 2543
คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดระฆังฯ ขณะนั้น ได้ทำการปรึกษาหารือในการเตรียมการจัดสร้างพระเครื่องสมเด็จวัดระฆังฯ
หลังจากว่างเว้นไปหลายปี นับจากการสร้างสมเด็จวัดระฆัง รุ่นเสาร์ 5 ปี 2539
อีกครั้งโดยลงมติความเห็นกันว่า พระเครื่องชุดนี้จะจัดสร้างในวาระ
ทำบุญครบรอบในงานบุญ “ชาตกาล” ประจำปี
หรือที่เรียกว่างานบุญปีเกิด “สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี”
เมื่อได้ขอสรุปในครั้งนั้น
ท่านพระครูปลัดสมคิด สิริวัฒฑโณ เป็นผู้ดำเนินการ จึงปรึกษาเรื่อง
แม่พิมพ์พระสมเด็จจากท่าน พระครูวินัยธรเข็ม ขนฺติพโล
ว่าพอมีแม่พิมพ์หรือต้นแบบพิมพ์ในการจัดสร้างพระในครั้งนี้หรือไม่ ประจวบเหมาะว่าท่านพระครูเข็มได้ทำสมเด็จหล่อโบราณไว้รุ่นหนึ่ง
เป็นลักษณะพระสมเด็จอกร่องเกศทะลุซุ้ม ซึ่งเมื่อพระครูปลัดสมคิด สิริวัฒฑโณ
ได้พินิจพิจารณาดูพระสมเด็จหล่อโบราณดูแล้วเห็นว่าสวยดีและเหมาะสมอย่างยิ่งในการที่จะนำมาเป็นแบบในการจัดสร้างพระผง
214 ชาตกาลพิมพ์เกศทะลุซุ้ม
พระครูเข็มนั้น เมื่อครั้งอดีต
ก่อนอุปสมบทท่านเป็นช่างปั้นมาก่อน หากจะสังเกตบริเวณหน้ากุฎีของท่าน
จะมีดินน้ำมัน มีขี้ผึ้งมีอุปกรณ์การแกะหุ่นแกะแบบพระอยู่
อีกทั้งบริเวณที่ท่านนั่งยังมีหุ่นเทียนแบบพระต่างๆที่ท่านแกะทิ้งไว้
ท่านใช้การแกะการพระปั้นพระเป็นการปฏิบัติสมถะสมาธิ อย่างหนึ่ง
ในทางพุทธศาสนาการกำหนดจิต จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ให้ซัดส่ายไปตามอารมณ์
ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งด้วย
นับเป็นวัตรปฏิบัติที่เรียบง่ายของพระครูท่านเอง
ตามคำบอกเล่าของท่านพระครูเข็มกล่าวว่า
พระสมเด็จเกศทะลุซุ้มนี้
ตั้งใจแกะขึ้นมาเพื่อหล่อเป็นพระสมเด็จหล่อโบราณซึ่งตั้งใจหล่อไว้ 85
องค์ตามอายุของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เนื่องจากว่าพระครูเข็มเองก็อุปสมบท ณ
วัดระฆังมาแล้วร่วม 38 พรรษา จึงตั้งใจสร้างพระสมเด็จเกศทะลุซุ้มหล่อโบราณ
เพื่อเป็นกตัญญูธรรมถวายแด่สมเด็จพุฒาจารย์โต
ซึ่งในครั้งนี้ไม่นับเพียงสมเด็จหล่อโบราณเพียงอย่างเดียวอีกทั้งยังมี
พระกริ่งพรหมรังสีอีกด้วย
ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2542
เพื่อเตรียมไว้แจกเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 214
ปีเกิดชาตกาลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)ในปี พ.ศ. 2545 แก่ผู้เข้าร่วมพิธีในขณะนั้น
ไม่มีจำหน่าย จึงไม่มีการพิมพ์ประชาสัมพันธ์ในใบชัวร์สั่งจองหรือที่ไหนทั้งสิ้น
โดยพระหล่อโบราณในครั้งนี้ใช้ชนวนที่เหลือก้นเบ้าจากการเททองหล่อพระยืน
ที่วัดพระแก้ว ที่ท่านพระครูได้เก็บรักษาไว้ ซึ่งเป็นชนวน
ที่เป็นเนื้อนวะโลหะเต็มสูตรที่แก่ทองคำมากที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างพระเครื่องเนื้อโลหะ
(องค์พระเครื่องจะมีน้ำหนักมากกว่าพระเครื่องเนื้อโลหะองค์อื่นๆที่มีขนาดเท่ากัน)
มาผสมเนื้อทองคำและชนวนหลวงพ่อทวดเตารีดใหญ่เข้าไปอีก
แล้วนำมาเทสร้างเป็นพระสมเด็จหล่อโบราญ จำนวนเท่าอายุสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
คือ 85 องค์ และที่เหลือเทสร้าง พระกริ่งได้อีก 142 องค์เท่านั้น
แล้วนำไปตอกโต๊ตกำกับไว้ 4 ตัว โดยโค๊ตแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
1.โค๊ต ช. หมายถึง คาถาชินบัญชร
2.โค๊ต ท. หมายถึง มีชนวนหลวงพ่อทวด
3.โค๊ต โต หมายถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต
พรหมรังสี)
4.โค๊ต ระฆัง หมายถึง
เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่โบสถ์วัดระฆังโฆษิตาราม
ต่อมาในช่วงต้นปี 2543 ช่างขุน
ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องชายของพระครูเข็ม ได้เป็นผู้จัดสร้าง พระเครื่องหลวงปู่หมุน
รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ซึ่งพระครูเข็มเห็นว่า
หลวงปู่หมุนเป็นพระเถราจารย์ผู้สูงส่งด้วยอภิญญาญาณสมาบัติ
จึงมีความตั้งใจว่าจะนำพระกริ่งพรหมรังสีและพระสมเด็จหล่อโบราญ
ที่จัดสร้างไว้แล้วนี้ เข้าพิธี รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ให้หลวงปู่หมุนได้ปลุกเสกด้วย
จึงให้ช่างขุน เอาพระเครื่องชุดนี้ไปตอกโค๊ต ที่เป็นสัญลักษณ์ขององค์หลวงปู่หมุน
เพิ่มอีก 1 ตัว เพื่อให้รู้ว่ามีหลวงปู่หมุนเสกด้วย(โดยช่างชุนได้เลือกโค๊ตเฑาะห์
ที่กำลังตอกในรุ่น เสาร์5บูชาครู)
ขณะเดียวกันนั้น
ก่อนจะมีพิธีพุทธาภิเษกรุ่นเสาร์ 5 บูชาครู อาจารย์ตั้ว วัดซับลำไย
ได้เข้ามาติดต่อช่างขุน ให้เป็นผู้ร่วมสร้างพระเครื่องหลวงปู่หมุน
ในรุ่นมหาสมปรารถนา และได้เข้ามาปรึกษากับพระครูเข็ม เรื่องจะขอนำรุ่นมหาสมปรารถนา
มาพุทธาภิเษกที่วัดระฆังโฆษิตารามในปลายปีด้วย
พร้อมกับขอให้พระครูเข็มสร้างพระสมเด็จหลังลายเซ็นเพิ่มในรุ่นสมปรารถนา(พระสมเด็จหลังลายเซ็นจึงเป็นพระเครื่องนอกรายการในใบชัวร์สั่งจองของรุ่นมหาสมปรารถนาเพราะทางวัดซับลำไยได้สั่งพิมพ์รายการเป็นโบชัวร์ไปแล้ว)
ซึ่งพระครูเข็มเห็นว่า ไหนๆหลวงปู่หมุน จะต้องมาปลุกเสกที่วัดระฆังโฆษิตาราม
จึงไม่นำพระกริ่งพรหมรังสีและพระสมเด็จหล่อโบราญ เข้าพิธีเสาร์ 5 บูชาครู
ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก โดยเก็บไว้รอเข้า"พิธีมหาสมปรารถนา" ที่วัดระฆังโฆษิตารามในปลายปีทีเดียว
ที่กล่าวมานี้จึงเป็นที่มาของแม่พิมพ์ต้นแบบของพระผงสมเด็จเกศทะลุซุ้มรุ่น
214 ชาตกาล ไม่เพียงแต่พิมพ์สมเด็จเกศทะลุซุ้มเพียงแบบเดียวเท่านั้น
ยังมีพิมพ์สมเด็จพระประธานอีกหนึ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่ หม่อมเนื่องพร
สุทัศน์ ณ อยุธยา
ได้เคยได้สั่งช่างแกะแม่พิมพ์ไว้ในคราวจัดสร้างพระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ 100 ปี
วัดระฆังเมื่อปี พ.ศ.2515 แต่ไม่ได้นำไปสร้าง ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้างรุ่น 214
ชาตกาล จึงเห็นว่า เพื่อเป็นการระลึกถึง หม่อมท่าน
จึงได้นำพิมพ์นี้มาเป็นแบบในการจัดสร้างพระสมเด็จ 214 ชาตกาลอีกพิมพ์หนึ่ง
โดยพิมพ์สมเด็จพระประธานนี้จัดสร้างจำนวน 150,000 องค์ พิมพ์เกศทะลุซุ้ม 300,000
องค์
ในส่วนของวัตถุมวลสารโดยหลักแล้วมวลสารพระสมเด็จรุ่น
214 ชาตกาล ท่านพระครูเข็มจะเป็นผู้เสาะแสวงหาเป็นหลัก มวลสารพระเครื่องชุดนี้คือ
ผงเก่าสมเด็จปิลันทน์ ชานหมากหลวงปู่หมุน ผงธูปหลวงปู่หมุน
กระเบื้องหลังพระคาอุโบสถวัดระฆังฯ ช่อฟ้าวิหารบูรพจารย์ รักดำในเสมาวัดระฆัง
ผงเก่าพระเครื่องของวัดระฆังตั้งแต่รุ่นอนุสรณ์ 100 108 118 122 ปี ผงเก่า
พระผงรุ่นเสาร์ 5 ปี 2536 และ 2539 เป็นต้น
ในช่วงแรกของการจัดสร้างพระผงสมเด็จ
ท่านพระครูเข็มได้นำน้ำผึ้งเก่าที่เก็บรักษาไว้จำนวนหนึ่งลังให้ช่างผู้กดแม่พิมพ์พระเอาไปเป็นส่วนผสมด้วย
แต่เนื่องจากน้ำผึ้งที่มีเพียงหนึ่งลังจึงผสมกดพระได้เพียง 30,000-50,000
องค์เท่านั้น น้ำผึ้งก็หมดโดยความพิเศษและแตกต่างของพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งผสมนั้น
ลักษณะเนื้อพระจะมีความฉ่ำความเหนียวของน้ำผึ้ง
มีลักษณะคล้ายกับเนื้อผงน้ำมันมีลักษณะเป็นสีเทา สีน้ำตาลเข็ม-อ่อน และเหลืองนวล
หากสังเกตพระผงชุดแรกที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งนั้นเมื่อเทียบกับกลุ่มพระเนื้อขาวที่ไม่ได้ผสมกับน้ำผึ้ง
จะสังเกตได้พระพระผงชุดแรกที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งนั้นจะมวลสารกระจุกหนาแน่นในแต่ละองค์กระจายตามองค์พระเป็นจำนวนมาก
จึงบอกได้มากพระชุดที่มีน้ำผึ้งเก่าผสมอยู่นั้นเป็นชุดพระที่แก่ผงมวลสารมากกว่าพระผงกลุ่มเนื้อสีขาว
เมื่อถึงคราวพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องรุ่น
214 ชาตกาลในวันพุทที่ เมษายน พ.ศ.2545 ได้นิมนต์พระเถราจารย์ 108 รูป
ทั่วประเทศไทยมาอธิษฐานจิต ณ พระอุโบสถวัดระฆังฯ ตั้งแต่เวลาเวลาเช้าของวันที่ 17
จนถึงเวลารุ่งเช้าของวันพฤหัสบดีที่ 18 ของอีกวันหนึ่ง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00
น. ของวันที่ 17 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็นรอบละสี่รูปตามฎีกาอาราธนานิมนต์
จนถึงรอบสุดท้ายคือเวลา 05.45 น. ของวันที่ 18 โดยพระเถราจารย์ในยุคนั้น อาทิหลวงปู่หมุน
หลวงพ่ออุตมะ หลวงพ่อลำไย หลวงพ่อรวย หลวงปู้แย้ม หลวงปู่อั๊บ
หลวงปู่เพิ่มหลวงพ่อพูล เป็นต้น
จึงนับได้ว่าพระเครื่องรุ่น 214 ชาตกาล พ.ศ. 2545
เป็นการจัดสร้างพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของวัดอีกรุ่นหนึ่งและนับจากครั้งนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน(2559)
วัดระฆังฯ ก็ยังไม่ได้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นใดมาอีกเลย
***หมายเหตุ.1***
พระครูวินัยธรวัฒนะชัย
ขตฺติพโล(พระครูเข็ม) ได้นำพระหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอัมรินทร์ ที่จัดสร้างในปี 2542
เฉพาะในส่วนที่ท่านพระครู ได้รับแจกไว้ มาตอกโค๊ตเฑาะห์
เช่นเดียวกับพระกริ่งพรหมรังสีและพระสมเด็จหล่อโบราญ อีกจำนวนประมาณ 100
องค์เพื่อเป็น"พระขวัญถุง" แต่เข้าเฉพาะพิธี
รุ่นมหาสมปรารถนาที่วัดระฆัง พิธีเดียว
ไว้สำหรับแจกผู้ที่มาช่วยงานและผู้ร่วมพิธีเช่นกันครับ
ขอบคุณข้อมูล ประวัติการจัดสร้าง 214 ชาตกาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น