วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลวงปู่ทอง ปภากโร

 


หลวงปู่ทอง_ปภากโร

ประวัติหลวงปู่ทอง ปภากโร

แห่งวัดบ้านคูบ หมู่ 3 ต.คูบ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์ที่ชาวอีสานใต้ ที่ชาว จ.ศรีสะเกษ ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นพระเถระที่รักสันโดษ พูดน้อย มีความเป็นอยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ยังคงห่มจีวรผืนเก่าๆ แม้มีผู้นำมาถวายให้ก็จะนำไปมอบให้พระภิกษุรูปอื่น

อีกทั้งยังเป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สำเร็จลุนบรมครูผู้วิเศษ แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝั่ง สปป.ลาว ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 115 ปี มีนามเดิมว่า (((ทอง สิงห์ซอม)))เกิดเมื่อ วันที่ 4 ม.ค.2449 เป็นชาวบ้านคูบ หมู่ 3 ต.คูบ อ.น้ำเกลี้ยง โดยกำเนิด บิดามารดา ชื่อ นายดอ และนางสิงห์ สิงห์ซอม มีอาชีพทำนา จบชั้น ป.4 ขณะมีอายุ 49 ปีเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ที่พัทธสีมาวัดบ้านคูบ บวชได้นานหลายปีจนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านคูบ แต่ลาออกและลาสิกขาไปใช้ชีวิตฆราวาส

ต่อมาขณะมีอายุ 72 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่อุโบสถวัดสว่างวารีรัตนาราม โดยมีพระครูสุทธิธรรม หรือหลวงปู่วัลลภ เจ้าคณะอำเภอน้ำเกลี้ยง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ไปในพื้นที่ป่าเขาลำเนาไพร ฝั่งชายแดนด้าน จ.ศรีสะเกษ ก่อนเดินทางข้ามไปในป่าลึกฝั่งประเทศลาวและประเทศกัมพูชา เพื่อปฏิบัตินั่งภาวนาจิต เพื่อให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง

เมื่อได้ปฏิบัติสำเร็จบรรลุธรรมตามที่หลวงปู่ได้ตั้งใจแล้ว ได้เดินธุดงค์จากฝั่งลาว ลัดเลาะตามชายแดนด้าน จ.อุบลราชธานี ก่อนมุ่งหน้าสู่วัดมาตุภูมิบ้านเกิด พัฒนาเสนาสนะและถาวรวัตถุในวัดสืบมาจนปัจจุบัน แต่ด้วยสังขารที่ร่วงโรย ตอนนี้จะรับกิจนิมนต์เฉพาะในวัด และนอกวัดรับกิจสงฆ์ในบางครั้ง


วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เหรียญรูปไข่รุ่นชินบัญชร หลวงปู่แสง วัดโพธิ์ชัย นครพนม

หลวงปู่แสง จนฺทวํโส วัดโพธิ์ชัย

วันที่ 21 มี.ค.2565 หลวงปู่แสง จันทวังโส พระเทพมงคลวัชรโรดม พระเกจิชื่อดัง อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง อดีตเจ้าอาวาส วัดโพธิ์ชัย บ.โพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ. นครพนม ได้ละสังขารอย่างสงบที่กุฏิ สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้กับศิษญ์ยานุศิษย์ที่ทราบข่าวเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

เป็นพระป่ากรรมฐานศิษย์สายหลวงปู่มั่น,หลวงปู่เสา  และหลวงปู่สิง เป็นสหธรรมิกกับ วัดธาตุมหาชัย พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง แห่งวัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม โดยเมื่อครั้งหลวงปู่คำพันธ์ ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด


    หลวงปู่แสง จนฺทวํโส เกิดเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2454 (ในสมัยรัชกาลที่ 6) ณ บ้านโพนตูม อำเภอนาแก ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม พื้นเพท่านเป็นชาวเมืองนครพนมโดยกำเนิด

บวชเรียน

ในวัยเยาว์ใช้ชีวิต ตามประสาเด็กชนบททั่วไป จนกระทั่งอายุ ๑๙ ปีได้บวชเณรหน้าไฟอุทิศกุศลให้คุณตา ที่วัดศรีสำราญ ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม โดยมี พระอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังจากบวชส่งศพ คุณตาสู่จิตกาธารแล้ว ท่านอยากจะสึก แต่เจ้าอาวาสไม่ยอมสึกให้ ท่านจึงธุดงค์ ไปทางจ.ขอนแก่น บ้านไผ่ จ.ร้อยเอ็ด จนถึงอำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี ใช้เวลา ๗ เดือน พร้อมอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูบริหาร เกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง อำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า จนฺทวํโสแปลว่า วงษ์แห่งพระจันทร์


    หลวงปู่แสง ได้ใช้เวลาเล่าเรียน นักธรรมตรี โท เอก จนสำเร็จ เป็นพระภิกษุผู้ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เอาใจใส่การศึกษาปฏิบัติธรรม มีความรู้ความ เห็นลึกซึ้ง มีปฏิภาณเทศนา แจ่มแจ้ง โวหารไพเราะจับใจ ทั้งยังได้เล่าเรียน อักขระเลขยันต์

วิทยาคมจนมี ความเชี่ยวชาญ เชื่อว่าท่านสำเร็จ ฌาณสมาบัติขั้นสูง เพียงท่านจับมือใครคนนั้น ท่านจะรู้หมดทุกเรื่องในตัวคนนั้น และท่านจะบอกเรื่องดี ๆ ให้คน ๆ นั้นได้พบกับความเจริญรุ่งเรือง

 

ด้านคาถาอาคม อักขระเลขยันต์ หลวงปู่แสงมีความเชี่ยวชาญยิ่งนัก กล่าวว่าเป็นผู้มากวิชา รูปหนึ่งใน เมืองไทย สมญานามที่กล่าวขานยกย่องท่านเป็น เทพเจ้าบันดาลทรัพย์ใครที่มากราบไหว้ขอพร มักได้ตามความปรารถนาเสมอ


    แม้อายุล่วงเลยมากว่า 109 ปี (พ.ศ.2563) แต่สายตาท่านยังดี หากจะอ่านหนังสือสวดมนต์หรือหนังสือธรรมะจะใส่แว่น หูได้ยิน 1 ข้าง ชอบพูดคุยสนทนาสนุกสนานติดตลก ไม่ถือเนื้อถือตัว ไม่เคยเจ็บป่วย เคยเข้าโรงพยาบาลแค่ 1 ครั้ง ด้วยสาเหตุท้องผูก ไม่เคยนอนกางมุ้ง แต่ยุงไม่กัด เป็นคนที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว อากาศหนาวเหน็บ เพียงใด จะใส่แค่สบง ห่มด้วยจีวร ปล่อยวางไม่ยึดติดกับวัตถุใด ๆ และ ไม่แสวงหา ความสุขสบาย โดยเฉพาะกุฏิหลังใหม่ที่ลูกศิษย์สร้างถวาย ๗ แสนกว่าบาท แต่ท่านไม่ไปอยู่ เพรา ะอึดอัดและ หายใจไม่ออก

หลวงปู่แสงปัจจุบัน อายุ 107 ปี พรรษา 88 พื้นเพเป็นชาว เมืองนครพนมโดยกำเนิด เกิดในสมัย รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2454 ที่บ้านโพนตูม อำเภอนาแก ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม วัยเยาว์ใช้ชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป จนกระทั่งอายุ 19 ปีได้บวชเณรหน้าไฟอุทิศกุศลให้คุณตาที่วัดศรีสำราญ ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม

โดยมี พระอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชส่งศพคุณตาสู่จิตกาธารแล้ว ท่านอยากจะสึก แต่เจ้าอาวาสไม่ยอมสึกให้ ท่านจึงธุดงค์ไปทาง จ.ขอนแก่น บ้านไผ่ จ.ร้อยเอ็ด จนถึงอำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี ใช้เวลา 7 เดือน พร้อมอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง อำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่าจนฺทวํโส

หลวงปู่แสง ได้ใช้เวลาเล่าเรียน นักธรรมตรี โท เอก จนสำเร็จ เป็นพระภิกษุผู้ปฏิบัติชอบตาม พระธรรมวินัย เอาใจใส่การศึกษาปฏิบัติธรรม มีความรู้ความเห็นลึกซึ้ง มีปฏิภาณเทศนาแจ่มแจ้ง โวหารไพเราะจับใจ เชื่อว่าท่านสำเร็จฌาณ สมาบัติขั้นสูง เพียงท่านจับมือใครคนนั้น ท่านจะรู้หมดทุกเรื่องในตัวคนนั้น และท่านจะบอก เรื่องดีๆให้คนๆนั้นได้พบกับความเจริญรุ่งเรือง

วัตถุมงคล

หลวงปู่แสงกล่าวจานว่า พุทธคุณดี ครบเครื่อง ทั้งเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด โชคลาภ ซึ่งล่าสุดที่กำลัง มาแรงคือ รุ่น มหาสมปรารถนาที่ท่านอนุญาต ให้คณะศิษย์ จัดสร้างเพื่อนำราย ได้สร้างฝ้าศาลา การเปรียญ วัดโพธิ์ชัย รูปแบบเป็นพระปิดตา รุ่นแรก

พระขุนแผน แสงสะท้าน รุ่นแรก และเหรียญเสมา โดยหลวงปู่แสงท่านปั๊มพระขุนแผนเอง กับมือตามตำราโบราณ และรุ่นนี้ทำพิธี ปลุกเสกมวลสารก่อนนำมาจัดสร้าง โดยกำหนดพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันจันทร์ที่ 3 ก.ย. 2561 เวลา 09.09 น. ณ วัดโพธิ์ชัย

พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติชอบตาม พระธรรมวินัย เอาใจใส่การศึกษาปฏิบัติธรรม มีความรู้ความ เห็นลึกซึ้ง มีปฎิภาณเทศนาแจ่มแจ้ง โวหารไพเราะจับใจ หลวงปู่แสงสำเร็จ ฌาณสมาบัติขั้นสูง เพียงท่านจับ มือใครคนนั้น ท่านจะรู้หมดทุกเรื่องใน ตัวคนนั้น และท่านจะบอก เรื่องดีๆให้แก่คุณเจริญรุ่งเรือง ท่านอยู่ในยุคราชการที่ 6 หลวงปู่แสงน่า จะเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุ88พรรษามากที่สุดอีก1รูป ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ ต่อพระศาสนา ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอุดมรังษี อดีตเจ้าคณะตำบล ก้านเหลือง

 

วันอาทิตย์ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดโพธิ์ชัย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายศุภชัย ภู่งาม องคมนตรี อัญเชิญ สัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ถวายแด่ พระครูอุดมรังษี วัดโพธิ์ชัย จังหวัดนครพนม

ด้วย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ให้ พระครูอุดมรังษี เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชมงคลวัชโรดม พุทธาคมธรรมพิสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช สถิต ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดนครพนม มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑