วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

อานุภาพ การบูชา พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 214 ปีเกิด


อานุภาพ การบูชา พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 214 ปีเกิด
พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 214 ปีเกิด ผู้ที่มีจิตใจที่ดี บริสุทธิ์สดใส เท่านั้นที่จะได้รับ อนุภาพที่ดีบูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองผาสุก ในกิจการงานแห่งชีวิต ผู้มีไว้ติดตัว จะทำให้เกิดโภคทรัพย์ในสุจริตวิถี คุ้มครองป้องกัน อันตรายให้แคล้วคลาด จากภัยทั้งหลายทั้งปวง เฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน ผู้ทำมาหากิน ด้วยแรงกาย สติปัญญาในทำนองครองธรรม ท่านจะพบแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดไป
คาถาบูชาสมเด็จ (โต)
(นะโม 3 จบ)
โอมศรีศรี พรหมรังสี
นามะเตโช มหาสัมมะโณ
มหาปัญโญ มหาลาโภ
มหายะโส สัพพะสิทธิ
ภะวันตุเม นะโม โพธิสัตโต พรหมรังสี
ซ้ำ 3 รอบ
ตั้งจิตอธิษฐานขอพรเทอญ
คาถาบูชา หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
คำอาราธนา บูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มะ อะ อุ  หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อุ อะ มะ

คาถาบูชาหลวงปู่หมุน
 "ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา"
ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านประพฤติปฏิบัติ ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามแล้ว แม้มีพระสมเด็จไว้ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือก็จะเร่งแต่ความทุกข์โศกมีภัย ตลอดกาล




วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

คาถาอาราธนาพระเครื่อง



คาถาอาราธนาพระเครื่อง
คาถาอาราธนาพระเครื่องหรือปลุกพระเครื่องเป็นการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า และคุณพระอริยะสงฆ์เจ้า และเป็นการอัญเชิญพระเครื่อง จึงจะให้มีอานุภาพขลังและศักดิ์สิทธิ์
ก่อนอื่นต้องอาบน้ำ ทำตัวให้สะอาด ทำจิตใจให้สบาย บูชาพระสวดมนต์ให้ครบพิธีเสียก่อนตามปกติ แล้วอาราธนาพระเครื่องขึ้นมาถือไว้ในมือเรา ตั้งใจให้สงบ แล้วว่าคาถาอาราธนาพระเครื่องพระเครื่องดังนี้
พุทธัง อาราธนานัง  ธัมมัง อาธนานัง  สังฆัง อาราธนานัง
เสร็จแล้วจึงนั่งขัดสมาธิ ถือพระไว้ในมือในท่าพนมมือระหว่างอก แล้วทำใจให้นิ่งว่า คาถาปลุกพระ
นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ โสทายะ



วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์


เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์ กรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น พระอภิญญาสมัยพุทธกาล ที่ศิษยานุศิษย์และประชาชนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมและมีราคาแพงซึ่งนับวันจะหายากยิ่ง
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อยอำเภอวังสะพุง จ.เลย ปี 2514  "เหรียญพระจันทร์ทรงกลดรัศมี " ประวัติการสร้าง จากข้อมูลบันทึกของวัดป่าสัมมานุสรณ์ โดยหลวงพ่อบัวคำ มหาวีโร อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสัมมานุสรณ์และ พระอาจารย์นรินทร์ สุททธจันโธ อดีตพระเลขาและอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ บันทึกไว้ว่า....... เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ชอบจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2514 ผู้ขออนุญาตจัดสร้าง คือ คุณปิยะ งามเอก และนาวาเอกเกษม งามเอก เพื่อเป็นที่ระลึกมอบให้สำหรับศิษย์ และ ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยสร้างโบสถ์น้ำวัดป่าสัมมานุสรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 4125 เหรียญ แบ่งเป็น
1. เหรียญเนื้อทองคำ จำนวน 1 เหรียญ
2. เหรียญเนื้อเงิน 20 เหรียญ
3. เหรียญเนื้ออัลปาก้า 104 เหรียญ
4. เหรียญเนื้อฝาบาตร 1000 เหรียญ นำไปกะหลั่ยทอง 300 เหรียญ
5. เหรียญเนื้อทองแดง 3000 เหรียญ นำไปกะหลั่ยเงิน 300 กะหลั่ยทอง 2000 รมดำ 700 เหรียญ
โดยเหรียญทองคำเหรียญเดียวนี้ คุณปิยะ งามเอก ผู้สร้างมีความศรัทธาเป็นอย่างยิ่งในองค์หลวงปู่ชอบ จึงได้ขออนุญาตสร้างเป็นเนื้อทองคำ ซึ่งเป็นเพียงรุ่นนี้รุ่นเดียวในการขอสร้างเหรียญรุ่นแรกของครูบาอาจารย์องค์อื่นในสายพระกรรมฐาน ที่ตระกูลงามเอกจัดสร้างช่วงเวลานั้น ส่วนเนื้อเงิน จำนวน 20 เหรียญ หลวงปู่ได้คืนให้คณะผู้สร้าง 12 เหรียญ อีก 8 เหรียญ หลวงปู่ได้มอบให้ศิษย์พระอุปัฏฐาก 4 องค์ รุ่นทายาทธรรม ส่วนอีก4 เหรียญและเนื้ออื่นๆอีก 76 เหรียญ หลวงปู่ได้ให้ศิษย์พระอุปัฏฐากใกล้ชิด พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร นำขึ้นไปบรรจุไว้ในยอดเจดีย์วัดป่าสัมมานุสรณ์ พร้อมกับเหล็กไหล และ พระกริ่งรูปเหมือน ที่จัดสร้างก่อนหน้านั้น ( ปี 2513) โดยกงศุลสถานทูตประเทศไทย ณ กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว เมื่อ 12 กุมภาพัน์ 2524  
นิมิตหมายของที่มาของเหรียญ "เหรียญพระจันทร์ทรงกลดรัศมี " ในคืนที่คณะผู้ขออนุญาตสร้างเหรียญรุ่นแรกนี้ ได้พักอยู่ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ เกิดเหตุการณ์ พระจันทร์ทรงกลด เหนือกุฏิของหลวงปู่ เกิดความสว่างไสวแสงเป็นรัศมีกระจายออกมาให้คณะผู้สร้างได้เห็น คณะผู้สร้างจึงได้เอานิมิตหมายที่เห็น " พระจันทร์ทรงกลดรัศมี " มาเป็นแบบในการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกนี้









ประวัติ  หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
           หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านเกิดที่บ้านโคกมน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2444 ชื่อว่า บ่อ แก้วสุวรรณ มีพี่น้อง 4 คน ท่านเป็นลูกชายคนโต ที่มีนิสัยเด็ดเดี่ยวมาตั้งแต่เด็ก ว่านอนสอนง่าย ช่วยเหลืองานบ้าน พูดน้อย ไม่ชอบคลุกคลีกับเพื่อน มีใจเป็นบุญไม่ชอบล่าสัตว์ ต่อมาครอบครัวท่านย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองบัวบาน ต.เชียงพิณ จ.อุดรธานี อยู่ได้ 3 ปี พ่อของท่านก็ถึงแก่กรรม ขณะที่ท่านอายุได้ 11 ปี ภาระหนักช่วยดูแลครอบครัวจึงอยู่กับท่าน
เมื่อท่านอายุได้ 14 ปี มีพระธุดงค์ ชื่อพระอาจารย์พา เป็นญาติท่านมาเยี่ยมโยมแม่ ท่านได้ไปปรนนิบัติรับใช้ พระอาจารย์พาถามเรื่องใด ท่านมักตอบว่า "ชอบครับ" พระอาจารย์พาจึงเรียกท่านว่า "เด็กชายชอบ" ชื่อของท่านจึงเปลี่ยนเป็น ชอบ มาตั้งแต่นั้น
ท่านได้บวชเป็นผ้าขาวถือศีล 8 ออกติดตามพระอาจารย์พาไป พ.ศ.2462 อายุ 19 ปี พระอาจารย์พาได้ขออนุญาตโยมแม่ให้บวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านนาแก ต.นากลาง จ.อุดรธานี พระอาจารย์พาได้พาท่านไปพักกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
ท่านบวชเป็นสามเณรได้ 5 พรรษา อายุ 23 ปี พระอาจารย์พาได้พาท่านไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสร้างโคก (วัดศรีธรรมาราม) จ.ยโสธร เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2467 ได้รับฉายาว่า ฐานสโม ท่านถือธุดงค์วัตร 13 ข้อ ตั้งแต่พรรษาแรกที่บวช ใช้คำภาวนาพุทโธ จิตโลดโผน รู้เห็นสิ่งลึกลับได้ พ.ศ.2468 ท่านจำพรรษากับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2469 ท่านจำพรรษาที่วัดศรีมงคลเหนือ จ.มุกดาหาร หลังออกพรรษาหลวงปู่เสาร์มาชวนท่านเดินธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาวลัดเลาะริมโขงไปภูเขาควาย เจอผีกองกอย มารบกวน กลับมาฝั่งไทยที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ท่านได้แยกกับหลวงปู่เสาร์ที่บ้านท่าดีหมี โดยท่านจะกลับไปบ้านหนองบัวบาน เพื่ออนุเคราะห์โยมแม่ของท่าน
ปี พ.ศ.2470 โยมแม่ของท่านอยากจะบวชเป็นแม่ชีท่านจึงพาไปบวชแม่ชีกับพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ ที่วัดป่าหนองวัวซอ และปีนี้ได้มีหลวงปู่หลุย จันทสาโร และหลวงปู่ขาว อนาลโย อยู่จำพรรษาด้วย ช่วงปี พ.ศ.2470 ท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านสามผง จ.นครพนม เวลาประมาณบ่ายสามโมงถูกหลวงปู่มั่นดุและว่าให้ไล่หนี ท่านว่าถูกฟ้าผ่าแล้งท่าน จึงไปพักที่วัดศรีวิชัย พอรุ่งเช้ามีครูบาเทสก์ เทสรังสี มาตาม พอไปถึงหลวงปู่มั่น ยิ้มให้และพูดว่าพอบอกสอนได้อยู่ ท่านจึงดีใจมาก ได้พักอยู่กับหลวงปู่มั่นระยะหนึ่ง
พ.ศ.2471 โยมแม่เรียกที่กุฏิให้ไปดูพระนางมัทรีที่ศาลา พอท่านลงจากกุฏิไม่กี่ก้าวต้นไม้ใหญ่ล้มทับกุฏิท่านแหลกไปทั้งหลัง หลวงปู่หุลุย มาช่วยค้นหาท่านนึกว่าครูบาชอบตายแล้ว ไปดูที่ศาลาก็ไม่เห็นนางมัทรี
พ.ศ.2473 ท่านเดินทางไปพบหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ที่จังหวัดขอนแก่น ช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา พ.ศ.2474 หลวงปู่สิงห์กับท่าน และคณะเดินทางไป จ.นครราชสีมา และ พ.ศ.2475 ท่านช่วยสร้างวัดป่าสาละวันด้วย
พ.ศ.2476 ท่านเดินธุดงค์จาก จ.นครราชสีมา ถึงถ้ำนายม จ.เพชรบูรณ์ มีผู้เฒ่าผ้าขาวสำเร็จเป็นพระอนาคามีอยู่ด้วย ท่านนิมิตเห็นเทวดาถามตาผ้าขาวว่าท่านสำเร็จถึงขั้นไหน ตาผ้าขาวไม่ตอบให้ไปถามท่านเอง ทำให้ท่านรู้สึกอายอย่างมากท่านจึงทำความเพียรอย่างหนัก อดอาหาร 15 วัน อดหลับอดนอน 15 คืน ตาอักเสบไม่สามารถมองแสงสว่างได้ ร่างกายอ่อนเพลียจนมีเทพธิดามาถวายโอสถทิพย์ให้กับท่าน ท่านได้สนทนาธรรมกับตาผ้าขาวและปฏิบัติได้ปัญญา ดวงตาเห็นธรรม เชื่อมั่นพระพุทธศาสนาไม่สงสัยบรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยะบุคคลชั้นต้นในพระพุทธศาสนา
ธุดงค์จากถ้ำนายมไป จ.เชียงใหม่ ตามหาหลวงปู่มั่น ระหว่างทางเวลากลางคืนพบเสือใหญ่ 2 ตัว มาดักทางข้างหน้าและข้างหลัง ท่านกลัวเสือมาก แต่มีสติ นึกพุทโธในใจให้สงบ เมื่อจิตถอนออกมาก็ไม่พบเสือเลย
พ.ศ.2477 พักอยู่กับหลวงปู่มั่นที่ป่าเมี่ยง จ.เชียงใหม่ ท่านนิมิตเห็น หลวงปู่อ่อน ญาณสิริและหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เดินทางมากราบหลวงปู่มั่นด้วย พักอยู่กับหลวงปู่มั่นที่ถ้ำดอกคำ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ วันนั้นเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ท่านนั่งสมาธิที่กุฏิ จิตสว่างไสวกลับวูบลง มีเสียงกึกก้องกัมปนาท ท่านส่งจิตออกนอกเห็นเทพยาดาทุกชั้นฟ้ามากราบหลวงปู่มั่นท่านจึงออกจากสมาธิเพื่อสรงน้ำหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นพูดว่า วันนี้เราได้บรรลุธรรมธาตุ ก้าวล่วงพ้นไปจากความทุกข์ทั้งมวลแล้ว ถ้าท่านอยากจะสำเร็จก็อย่าละความเพียร ที่ของท่านไม่ใช่เมืองไทยแต่อยู่เมืองพม่า
ที่บ้านป่าเมี่ยงท่านนิมิตเห็นพญานาคมิจฉาทิฐิ มาพ่นพิษใส่ในน้ำให้พระเณรใช้ เกิดการเจ็บป่วย ท่านได้แจ้งบอกหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นจึงได้แสดง ธรรมโปรดพญานาคจนคลายมานะทิฐิถอนพิษของจนไปจากน้ำทั้งหมด
หลวงปู่ชอบท่านธุดงค์ทางภาคเหนือท่านได้ไปพักกับครูบาเจ้า ศรีวิชัย และได้ช่วยกันบูรณะสร้างพระธาตุศรีวิชัย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
พ.ศ.2481 ท่านกับหลวงปู่พรม จิรปุญโญ เดินธุดงค์เข้าพม่าด้วยกันแต่หลวงปู่พรมจะไปที่เมืองมัณฑาเล หลวงปู่ชอบจะเข้าป่าภาวนาจึงได้แยกทางกัน พ.ศ.2483 จึงกลับมาประเทศไทยอยู่ที่บ้านแม่ระงอง จ.เชียงใหม่ นิมิตเห็นภูตผีย้ายครอบครัวมาจากภาคอิสาน
พ.ศ.2484 ท่านธุดงค์ไปพม่าครั้งที่ 2 มีพระสี พระสงข์ ตาผ้าขาวแหล่ไปด้วยท่านนิมิตเห็นวิญญาณเศรษฐีคำแสง มาบอกสมบัติเก่า ท่านจึงได้ไปดูจึงรู้ว่ามีอยู่จริงแต่ไม่ได้ไปเอาเพราะท่าน บวชมหานิพพาน ไม่ได้บวชมหาสมบัติ
เจอผีตายท้องกลมมารบกวนแต่มาทำอะไรท่านไม่ได้ ได้แต่จะปลุกปล้ำพระสี พระสังข์แทบไม่ได้เป็นอันภาวนาเลย และท่านได้แสดงธรรมโปรดวิญญาณทหารที่ยึดติดกับค่ายทหารให้ละความยึดถือไปเกิดเป็นมนุษย์ ที่บ้านกระเหรี่ยงดอยไม้แดงนี้ท่านได้ทำลาย กามราคะมองดูชายหญิงเป็นเพียงสมมติบรรลุเป็นพระอนาคามี

            17. ที่พม่าท่านทำความเพียรอย่างหนัก และอดอาหารจากหลายสถานที่พบกับฤาษีตองฉู่ ฤาษีตองฉู่ได้ทำอาหารถวายท่าน ท่านฉันจนหมดเกลี้ยง ท่านนิมิตเห็นเทวดาตีฆ้องร้องป่าวประกาศ ร่วมอนุโมทนาบุญกับฤาษีตองฉู่ ท่านจึงบอกฤาษีตองฉู่ว่า ฝันว่าเทวดามาอนุโมทนาด้วยฤาษีตองฉู่ยินดียิ่งนัก จิตท่านหมุนเป็นธรรมจักร มีพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมาเยี่ยมและแสดงธรรมโปรด คือ พระมหากัสสปะ พระภากุละ และ พระอนุรุธทะท่านรู้สึกปิติ และอิ่มเอิบในธรรมเป็นอย่างมาก และหลวงปู่มั่นก็มาแสดงธรรมในสมาธิภาวนาเสมอ
พ.ศ.2487 อายุ 43 ปี พรรษาที่ 20 ท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำหมีเก่า บ้านหนองยวนประเทศพม่าท่านนิมิตเห็นโยมแม่บ่อยมากท่านพิจารณารู้ว่าโยมแม่ป่วยหนักมาก และถึงแก่กรรมแล้วท่านก็อนุโมทนาที่โยมแม่ตายคาผ้าขาว(แม่ชี) วันหนึ่งของเดือนสิงหาคม เวลา สามทุ่ม จิตของท่านสว่างไสว ท่านเห็นอวิชชา โลกธาตุ เกิดการระเบิดสั่นไหวทั้งจักรวาลดับสูญสิ้นอาสวะกิเลสจิตเป็นธรรมธาตุอยู่เหนือสมมติ การเกิดของท่านไม่มีอีกแล้ว มีแต่ปัจจุบันที่เป็นธรรมธาตุเท่านั้น ท่านสำเร็จได้ด้วยวิชชา 3 เป็นพระอรหันต์สาวกในสมัยปัจจุบัน ท่านว่าเคยเกิดเป็นพ่อค้าขายผ้า ชาวลาวมาทานผ้าขาวหนึ่งวาและเงิน 50 สตางค์ บูชาถวายพระธาตุพนม อธิฐานขอให้ได้บวชได้พ้นทุกข์
ออกพรรษาปี พ.ศ.2487 ท่านต้องเดินทางกลับประเทศไทยเพราะภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะผลกรรมของท่านเกิดเป็นชาวพม่า มารบกับไทยแต่ยังไม่ได้ฆ่าใคร ก็อดอาหารตายเสียก่อนเพราะท่านไม่ยอมทำชั่วปล้นฆ่าชาวบ้านเหมือนเพื่อนท่าน ที่ทุกวันนี้ยังตกนรกอยู่ ไม่อย่างนั้นท่านคงยังไม่ได้มาเกิดมาบวช จนถึงทุกวันนี้ ระหว่างหลงทาง ท่านอดอาหารอยู่ 3 วัน จึงมีเทวดามาใส่บาตรและบอกเส้นทางกลับประเทศไทยได้สำเร็จ
พ.ศ.2488 หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน อยู่ด้วยกันที่วัดป่าห้วยน้ำริน จ.เชียงใหม่ เปิดธรรมธาตุให้กันฟัง หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาวได้ชวนหลวงปู่แหวน กลับภาคอิสาน แต่หลวงปู่แหวนบอกว่าถ้าผมยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะยังไม่คิดกลับภาคอิสาน ที่วัดนี้มีพญานาคขึ้นมารักษาศีลวันอุโบสถ และถวายภัตตาหารกับท่าน
หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาวจะได้ไปวัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร เพื่อกราบหลวงปู่มั่น ผ่านเทือกเขาภูพานท่านทั้งสอง ไม่มีน้ำใช้ น้ำฉัน สักครู่ก็มีน้ำผุดขึ้นมาจากผิว ดินเป็นลำธารจนท่านใช้และฉันเสร็จแล้วน้ำก็แห้งหายไปในดินเอง หลวงปู่ขาวถามว่าท่านชอบละซิ ท่านว่าเพียงแต่รำพึงในใจเท่านั้นว่า เทวดาไม่สงสารพระบ้างหรือ จะปล่อยให้พระอดน้ำตาย เมื่อถึงวัดป่าบ้านหนองผือ หลวงปู่ชอบท่านได้ช่วยงานหลวงปู่มั่น คือ ช่วยดูแลพระเณรไม่ให้คิดออกนอกลู่นอกทาง หรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ท่านจะตักเตือนทันที และช่วยแสดงธรรมโปรดเทพเทวดา แทนหลวงปู่มั่น
พ.ศ.2492 ท่านอยู่ที่วัดป่าผาแด่น นิมิตเห็นหลวงปู่มั่นนิพพานแล้ว มาบอกให้ไม่ต้องไปงานศพท่านจึงไม่ได้ไปงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่น เพราะเชื่อฟังคำพระอาจารย์ พ.ศ.2493 มีงานประชุมสงฆ์ ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ท่านลงมาจากวัดป่าผาแด่น ท่านและโยมเสาร์ (ที่ชายในอดีตชาติ) ข้ามไปไม่ได้เพราะมีน้ำป่าไหลหลากเต็มตลิ่ง ท่านยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่งน้ำป่าก็แห้งลง ท่านและโยมเสาร์จึงเดินข้ามไปได้ไม่กี่ก้าวน้ำป่าก็ไหลทะลักอย่างบ้าคลั่งเต็มตลิ่งตามเดิม
หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต มาประชุมสงฆ์ที่วัดเจดีย์หลวง ไม่รู้จักหลวงปู่ชอบ พอกลับกรุงเทพพักที่วัด บรมนิวาส ถามท่านพ่อลี วัดอโศการาม ว่าหลวงปู่ชอบเป็นใคร ท่านพ่อลีบอกว่านั่นลูกศิษย์มีอภิญญาสายหลวงปู่มั่น เท่านั้นหลวงปู่บุญฤทธิ์รีบเก็บบริขารจะไปจำพรรษากับหลวงปู่ชอบทันที เพราะเคยรู้ว่ามีพระอภิญญาสมัยพุทธกาล
พ.ศ.2501 ผู้ใหญ่ถัน วงษา ถวายที่ดิน ท่านเริ่มสร้างสำนักสงฆ์ เนื่องจากท่านเคยเกิดเป็นกวาง อยู่ที่บ้านวังม่วง ถูกยิงวิ่งหนีมาตายที่บริเวณแห่งนี้ท่านได้พาชาวบ้านรื้อหอศาลปู่ตา พาชาวบ้านทำวัตร สวดมนต์ทุกวัน พ.ศ.2503 ได้ใบตราตั้งเป็นวัดป่าสัมมานุสรณ์ พ.ศ.2514 ท่านเริ่มสร้างโบสถ์กลางน้ำ และท่านภาวนานิมิตเห็นกระดูกซีกซ้ายของท่านแตกละเอียด ท่านเริ่มมึน ชาแขนขาซีกซ้าย ทำให้ท่านเป็นอัมพาต ตั้งแต่นั้นมา พ.ศ.2518 ท่านเริ่มสร้างเจดีย์อยู่โบสถ์ขึ้น
พ.ศ.2524 ท่านสร้างวัดป่าโคกมนบริเวณป่าช้าวังหินโง้น เนื่องจากท่านเกิดเป็นหมีถูกยิงหนีมากินน้ำและตายที่หินโง้น ต่อมาหลวงปู่มั่นมาพักปักกลดที่หินโง้น ท่านจึงสร้างวัด เพื่อบูชาคุณหลวงปู่มั่น
ปลายปี พ.ศ.2537 ท่านเริ่มป่วย มีไข้ปอดขึ้น ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชระหว่างทางที่จะมาละสังขารที่วัดท่านก็มรณภาพจากอาการน้ำท่วมปอด เป็นวันพระ แรม 8 ค่ำ ตรงกับวันที่ 8 มกราคม 2538 เวลา 11.38 น. รวมอายุได้ 94 ปี 71 พรรษา ตลอดมา ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ รักษาธุดงค์วัตรด้วยดีคลอด ชอบอยู่โดดเดี่ยวในป่าเขา เป็นที่รักของเทพเทวดา อินทร์พรหม พญานาค และมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าท่านไม่ป่วยเป็นอัมพาตก็ยากที่สาธุชนจะได้กราบและทำบุญกับท่าน มีงานพระราชทานเพลิงศพท่าน ณ เมรุ วัดป่าสัมมานุสรณ์ เมื่อจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เจดีย์นี้สร้างคลอบบริเวณเมรุที่เผาศพสรีระสังขารท่าน และได้บรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2547

ภาพ http://www.tintin.99wat.com

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕



พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕
พระหลวงปู่ทวด โด่งดังเป็นที่เลื่องลือในอภินิหารยิ่งและเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของผู้มีไว้ในครอบครองอย่างสูงสุด  เพราะพระเครื่องหลวงปู่ทวดได้แสดงอภินิหารปกป้องคุ้มครองชีวิตเขาให้รอดพ้นอันตรายมาได้ด้วยปาฏิหาริย์มาแล้ว อย่าว่าแต่คนไทยที่เชื่อถือศรัทธาพระเครื่องหลวงปู่ทวดเลย  แม้แต่ฝรั่งชาวยุโรป ก็ยังศรัทธาเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์อย่างหมดหัวใจ และฝรั่งชาวยุโรปที่ว่า ไม่ใช่ธรรมดาเสียด้วยหากเป็นถึงท่านผู้นำประเทศที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดประเทศหนึ่ง
ท่านผู้นั้นคือ ประธานาธิบดีเดอโกลส์แห่งประเทศฝรั่งเศสท่านประธานาธิบดีท่านนี้เคยถูกปองร้ายหมายชีวิตจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นศัตรูทางการเมือง โดยการลอบยิงและถูกวางระเบิดถึง 7 ครั้ง แต่ก็แคล้วคลาดรอดพ้นอันตรายทุกครั้งอย่างน่าอัศจรรย์ ประชาชนชาวฝรั่งเศสยกย่องประธานาธิบดีของเขาว่าเป็นผู้นำที่โชคดีที่สุดในโลก แต่ตัวท่านประธานาธิบดีเดอโกลส์รู้อยู่แก่ใจท่านดีว่าเหตุที่ท่านรอดชีวิตมาได้ถึง 7 ครั้ง 7 ครานั้น เนื่องจากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากประเทศไทยคุ้มครอง
พระหลวงปู่ทวดพิมพ์หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕  มีการสร้างและพิธีกรรมปลุกเสก ครั้งใหญ่ (นับเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากที่มีการจัดสร้างครั้งแรกในปี ๒๔๙๗) มี พระหลวงพ่อทวด หลากหลายรูปแบบที่เข้าพิธีปลุกเสก เช่น เหรียญ พระบูชา รูปหล่อลอยองค์ พระชุดหลังเตารีด ชนิดหล่อตัดช่อแบบโบราณ เป็นต้น หนึ่งในนั้นมี พระรูปเหมือน ปั๊ม ชุดหลังหนังสือ ทั้งพิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อทองเหลืองรมดำ ส่วนเนื้อพิเศษ เช่น เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองเหลืองผิวไฟ  มีบ้างแต่พบเห็นน้อยมาก
พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕ ได้จัดทำที่ กรุงเทพมหานคร และจัดส่งไปทางรถไฟ เป็นช่วงๆ เพื่อเข้าพิธีปลุกเสกโดย พระอาจารย์ทิม ที่วัดช้างให้ เป็นที่ทราบกันดีว่า พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕ แบ่งออกได้ ๔ พิมพ์หลัก คือ พิมพ์เล็ก มีตัว ท, พิมพ์เล็ก ว จุด, พิมพ์เล็ก วงเดือน และ พิมพ์เล็ก ธรรมดา แต่ละพิมพ์ที่ว่านี้ ยังแบ่งออกได้เป็นพิมพ์ย่อยๆ อีกหลายพิมพ์ ซึ่งมักแบ่งย่อยตามลักษณะโครงหน้าของพระหลวงพ่อทวด และลักษณะของตัวหนังสือที่แตกต่างกันในรายละเอียด




พระหลวงปู่ทวดหลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๕ เท่าที่วงการเล่นหา มีการแบ่งย่อยออกไปหลายพิมพ์ โดยการแบ่งลักษณะพิมพ์ย่อยจะมองไปที่ลักษณะด้านหน้าองค์พระเป็นสำคัญ เช่น ขนาด และตำแหน่งของเม็ดตา รูปร่างของใบหู และลักษณะโครงหน้า เป็นต้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ด้านหลังองค์พระจะเหมือนกันกล่าวคือ จะมีตุ่มเล็กๆ ที่ปลายหัว ตัว และมีแพของเส้นเสี้ยนกระจายในแนวรัศมีตรงบริเวณนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ จุด อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกพิมพ์หนึ่ง ที่ด้านหลังเป็นเหมือนพิมพ์ จุด ทุกประการ แต่ด้านหน้ามีรูปแบบเฉพาะ นั่นคือ พระพิมพ์เล็ก มีตัว ซึ่งสามารถแบ่งด้านหลังออกเป็น ๒ แบบพิมพ์ คือ แบบพิมพ์ หลัง จุด ธรรมดา และ แบบพิมพ์ หลัง จุด-หลังกลึง
ขอขอบคุณเว็บ ลานพระ ที่เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูล

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา



หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 
จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ.ดินแดนที่ประดิษสถานองค์หลวงพ่อโสธรที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นประตูสู่ภาคตะวันออกเศรษฐกิจของประเทศไทย อันเป็นรากฐานของประเทศดังคำขวัญที่ว่า
แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์
ณ.ดินแดนแห่งนี้อุดมไปด้วยทรัพยากร ทั้งแร่ธาตุ และแหล่งท่องเที่ยว  รวมทั้งในแง่ศาสนาและความเชื่อ ดินแดนนี้มากมายไปด้วยเกจิอาจารย์เก่งกล้าวิทยาคม มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย หนึ่งในนั้นมีนามของ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อฟู อติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ศิษยานุศิษย์ต่างขนานนามท่านว่า เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำบางปะกง
  ประวัติหลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 
            หลวงพ่อฟู เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันอายุ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา  หลวงพ่อฟูเป็นพระสุปฏิปันโน พระนักปฏิบัติ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา อาคมขลัง สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่โด่งดังหลายรูป เช่น สายหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว พระอุปัชฌาย์ ที่เมตตาและถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ศึกษาต่อจากหลวงพ่อจอม หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี ทั้งวิชาเสืออาคม เสือสมิง ปลัดขิก หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ซึ่งถ่ายทอดวิชาหน้าผากเสือ และปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ อันลือลั่น และยังถือได้ว่าเป็นศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงพ่อดิ่ง ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม ในการสร้างวัตถุมงคล ลิงหรือหนุมานอันลือเลื่อง และสุดยอดวิชาของหลวงพ่อดิ่งคือวิชา สูญผีไล่ผี คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์
หลวงพ่อฟู เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ที่วัดบางสมัคร โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว) ผู้เป็นพระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อชื่น วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูเมธีธรรมโฆสิต (พระมหาจอม)   วัดบางสมัคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า อติภัทโทหลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาด้านคันถธุระ ที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ จนสามารถสอบได้นักธรรมโท และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดอุทยานที่ จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมเอก
จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านก็สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ต่อมาพรรษาที่ ๑๖ พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงพ่อฟูได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี เลื่อนอันดับเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลง ชาวบ้านและญาติโยมจึงนิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน    




ทั้งชีวิตท่านอุทิศเพื่อพระศาสนา ได้พัฒนาวัดบางสมัครจนเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง วันนี้มีพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้รับรางวัลพระราชทานเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความปลื้มปีติให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วทุกหย่อมหญ้า ในด้านการศึกษา หลวงพ่อฟู ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรรุ่นใหม่อีกด้วย   
หลวงพ่อฟู ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบสานวิทยาคมสายตรงจาก หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว โดยแท้ เนื่องจากเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านและยังเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมขลังยิ่ง วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมและกล่าวขานกันมากคือ เหรียญรูปไข่ รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๘๑ ตะกรุดเสือเสื้อยันต์  ลิงจับหลักแกะจากรากพุดซ้อน ว่ากันว่า หลวงพ่อดิ่ง ได้ถ่ายทอดวิชา สูญผีไล่ผี คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์อันเป็นวิชาชั้นสูงสุดของท่านและวิชาการสร้างลิงจับหลักที่แกะจากรากต้นพุดซ้อนให้หลวงพ่อฟูจนหมดสิ้น
หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี ก็ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทำเครื่องรางของขลัง ตะกรุด ผ้ายันต์ ปลัดขิก เสืออาคม เสือสมิง การเขียน และลบผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห และการสร้างพระปิดตาให้แก่หลวงพ่อฟูเช่นกัน
นอกจากนี้ หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ผู้โด่งดังทางด้านการสร้างลูกอม ก็ได้ถ่ายทอดวิชากรรมฐานในการออกธุดงค์  คาถาที่ใช้ภาวนา คือ อะระหังกับ นะ ขัตติยะให้กับหลวงพ่อฟูด้วย
หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ก็เป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อฟูให้ความเคารพ หลวงพ่อเริ่มนั้นไม่ธรรมดาสืบสานวิชา ฝนแสนห่าและ สีผึ้งเจ็ดจันทร์จากหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก วิชาทำปลัดขิก วิชาหน้าผากหนังเสือ จากหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ โดยตรง  วิชาทำผง ๑๒ นักษัตรของหลวงปู่เทียนวัดโบสถ์ วิชาการสร้างพระปิดตา และวิชาโหราศาสตร์จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ วิชาเหล่านี้หลวงพ่อเริ่มได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อฟูในฐานะศิษย์เอกจนครบถ้วนด้วย
ส่วน หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี ก็ได้สอนตำราพระเวทสายเกจิอาจารย์ชายฝั่งทะเลตะวันออก และสูตรการผสมผงสร้างพระปิดตาสายวัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ให้แก่หลวงพ่อฟู และวิชาการทำยาหอม ยาหม่อง น้ำมันใส่แผล จากสมุนไพรต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้หลวงพ่อฟูได้นำมาใช้และแจกจ่ายประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

เหรียญช้างหมอบ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ปี 2521



เหรียญช้างหมอบ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ปี 2521
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม แม้ว่า หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทิ้งร่างกายหรือมรณะภาพไปนานแล้วก็ตาม แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมเลือน อีกทั้งพระเครื่องรุ่นต่างๆ ของท่าน  ก็เป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหา เพื่อการสะสมและบูชา
เหรียญช้างหมอบ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ รุ่นปี 2521 สร้างโดย พล.ต.ท.แสวง หงษ์นคร อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และคณะ มีทั้งเหรียญหล่อ เหรียญปั๊มและพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ แกะบล็อกโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ช่างแกะบล็อกมือหนึ่งของประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อหาทุนสร้าง 1.ฌาปนสถานวัดอีสาน ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์ 2.สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโพธิ์ทอง ต.พระครู อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์ 3.ถวายวัดบูรพาราม ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นวัดของหลวงปู่ เงินที่ทางผู้สร้างได้ถวายวัด ส่วนหนึ่งได้นำไปปูพื้นถนนภายในวัด


โดยผู้สร้างได้นำวัตถุมงคลไปขอความเมตตาให้หลวงปู่อธิษฐานจิต เมื่อวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2522 และก่อนหน้านี้ได้นำไปเข้าพิธี"สรรพสิทธิชัยไพรีพินาศ"ซึ่งเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่มีพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 109 รูปจากทั่วประเทศ ณ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ นั่งปรกถึงสามวันสามคืน โดยมีวัตถุมงคลหลายรูปแบบ เช่น เหรียญหล่อฉลุเล็ก เนื้อนวโลหะ(แจกสุภาพสตรีและเด็ก)ให้เช่าเหรียญละ 100 บาท เหรียญปั๊มรุ่นพิทักษ์สันติราษฎร์ทองแดงลงยากะหลั่ยทอง เหรียญละ 50 บาท ชุดรุ่นพิเศษ ทองคำ เงิน ทองแดง ชุดละ 5,000 บาท โดยแยกเป็นเนื้อเงิน 200 บาท ทองแดงธรรมดา 30 บาท มีสองบล็อก คือ บล็อกตัวหนังสือหัวกลม และบล็อกตัวหนังสือหัวเหลี่ยมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บางเหรียญจะ
สลับด้านหน้าเป็นบล็อกตัวหนังสือหัวกลม ส่วนด้านหลังเป็นบล็อกหนังสือหัวเหลี่ยม ไม่แน่นอน บล็อกตัวหนังสือหัวกลม เหรียญจะหนากว่าบล็อกตัวหนังสือหัวเหลี่ยมเล็กน้อย ตอกโค้ดตัว ด และตัว พ บางเหรียญตอกโค้ดตัว ด บางเหรียญตอกโค้ด พ หรือทั้งสองตัว เหรียญปั๊มรูปไข่(หลังช้างหมอบ) ชุดพิเศษ ทองคำ เงิน ทองแดง 5,000 บาท โดยแยกเป็นเนื้อเงิน 200 บาท ทองแดง 30 บาท เหรียญหล่อลายฉลุพิมพ์ใหญ่ ทองคำ เงิน นวโลหะ ชุดละ 7,000 บาท เนื้อเงิน 400 บาท เนื้อนวโลหะ 200บาท เนื้อเงินลงยา 500 บาท และพระกริ่ง พระชัยวัฒน์จอมสุโข ชุดเงิน 500 บาท ชุดนวโลหะ 300 บาท
   เนื่องจากปัจจุบันเหล่านักสะสมสายหลวงปู่ดูลย์ได้กว้านเก็บจนเกือบหมด สาเหตุมาจากประสบการณ์ด้านเมตตา แคล้วคลาดและ คงกระพัน โดยเฉพาะความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน




ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม    
       หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเจ้าเมื่ออุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ
       บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล "ดีมาก" แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนักประจำอยู่ที่วัดสุดทัศนารามจังหวัด อุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่ง ซื่อพร้อม ไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า "เกษมสินธุ์" ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" ไปด้วย
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกัน คือ
       คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง
       คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)
       คนที่ 3 เป็นชาย ชื่อ แดน
       คนที่ 4 เป็นหญิง ชื่อ รัตน์
       คนที่ 5 เป็นหญิง ชื่อ ทอง 
พี่น้องของท่านตางพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวัยชรา และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปีทั้งหมด หลวงปู่ดุลย์ ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง 96 ปี
       ชีวิตของหลวงปู่ดุลย์ เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถูกำหนดให้อยู่ในเกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น เช่วยแบ่งเบาภระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นาแล้วเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
       แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าน่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้ว ยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ดุลย์ ก็มิได้หลงไหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้ามท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวชจึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านผู้มีพระคุณที่มีเมตตาชุบเลี้ยงแต่ก็ถูกท่านเหล่านั้นคัดค้านเรื่อย มา โดยเฉพาะฝ่ายบิดามารดาไม่อยากให้บวช เนื่องจากขาดกำลังทางบ้าน ไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ทั้งท่านก็เป็นบุตรชายคนโตด้วย
       แต่ในที่สุด บิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนาที่แน่วแน่ไม่คลอนแคลนของท่าน พร้อมกับมีเสียงสำทับจากบิดาว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึกหรืออยางน้อยต้องอยู่ จนได้เป็นเจ้าอาวาส ทั้งนี้เนื่องจากปู่ของท่านเคยบวชและได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว และคงเป็นเพราะเหตุนี้ด้วยกระมังท่านจึงมีอุปนิสัย รักบุญ เกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนบุคคลอื่น
       ครั้นเมื่อได้รับอนุญาตจากบิดามารดาเรียบร้อยแล้วอย่างนี้ ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัยอย่างเข้าสู่ความเป็นสมณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านมีอายุได้ 22 ปี โดยมีพวกตระกูลเจ้าของเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่าน เป็นผู้จัดแจงในเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดชุมพลสุทธาวาส ในเมืองสุรินทร์ โดยมี
       พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็น พระอุปัชฌาย์
       พระครูบึก เป็น พระกรรมวาจาจารย์
       พระครูฤทธิ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์
       เมื่อแรกบวช ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงปู่แอกวัดคอโค ซึ่งอยู่ชานเมืองสุรินทร์ วิธีการเจริญกัมมัฏฐานในสมัยนั้น ก็ไม่มีวิธีอะไรมากมายนัก วิชาที่หลวงปู่แอกสอนให้สมัยนั้น คือ จุดเทียนขึ้นมา 5 เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า "ขออัญเชิญปีติทั้ง 5 จงมาหาเรา" ดังนี้เท่านั้นแต่หลวงปู่ดุลย์ก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า พยายามบริกรรมเรื่อยมาจนครบไตรมาสโดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย
       นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนทรมานร่างกายเพื่อเผาผลาญกิเลส ด้วยความเข้มงวดกวดขันการขบฉันอาหาร วันก่อนเคยฉัน 7 คำ ก็ลดเหลือ 6 คำ แล้วลดลงไปอีกตามลำดับจนกระทั่งรางกายซูบผอมโซเซ สู้ไม่ไหว จึงหันมาฉันอาหารตามเดิม ระยะนั้นก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย
       นอกจากนี้ก็ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่นเจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย เรื่องวินัยที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากาย วาจา เพื่อเป็นรากฐานของสมาธิภาวนานั้น ท่านไม่ทราบ มิหนำซ้ำ ระหว่างที่อยู่วัดดังกล่าว พระในวัดนั้นยังใช้ให้ท่านสร้างเกวียนและเลี้ยงโคอีกด้วย ท่านจึงเกิดความสลดสังเวช และเบื่อหน่ายเป็นกำลัง แต่ก็อยู่มาจนกระทั่งได้ 6 พรรษา
   
       เมื่อทราบข่าวว่า ที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ก็เกิดความยินดีล้นพ้น รีบเข้าไปขออนุญาตท่านพระครูวิมลศีลพรต ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เพื่อไปศึกษา แต่ก็ถูกคัดค้านกลับมา ท่านมิได้ลดละคามพยายามไปขออยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งพระอุปัชฌาย์เห็นว่าท่านมีความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้ไปได้โดยมีครูและครูดิษฐ์ไปเป็นเพื่อน
       เมื่อแรกไปถึงจังหวัดอุบลฯ นั้น เขาไม่อาจรับท่านให้พำนักอยู่ที่วัดธรรมยุตได้เพราะต่างนิกายกัน แม้จะอนุมัติให้เข้าเรียนได้ก็ตาม ดังนั้น ท่านจึงต้องไปอยู่วัดหลวงซึ่งการบิณฑบาตเป็นไปได้ยากเสียเหลือเกิน พอดีหลวงพี่มนัส ซึ่งเดินทางไปเรียนก่อน ได้แวะไปเยี่ยมทราบความเข้า จึงพาท่านไปฝากอยู่อาศัยพร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรมไปด้วยที่วัดสุทัศนา ราม แต่เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรมยุตจึงไม่อาจให้ท่านอยู่ที่วัดได้ ด้วยเหตุผลที่น่าฟังว่ามิได้รังเกียจ แต่เกรงจะเกิดผลกระทบต่อความเข้าใจอันดีระหว่างผู้บริหารการคณะสงฆ์ของนิกาย ทั้งสอง
       อย่างไรก็ดี ด้วยเมตตาธรรม ทางวัดสุทัศน์ ได้แสดงความเอื้อเฟื้อด้วยวิธีการอันแยบคาย โดยรับให้ท่านพำนักอยู่ในฐานะพระอาคันตุกะผู้มาเยี่ยมเยือน แต่อยู่นานหน่อยความเป็นอยู่ของท่านจึงค่อยกระเตื้องขึ้น คือเป็นไปได้สะดวกบ้าง
       ท่านพยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเต็มสติกำลัง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยกรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ นับว่าท่านได้บรรลุปณิธานที่ได้ตั้งไว้ ในการจากบ้านเกิดเมืองนอนไป ศึกษาต่อ ณ ต่างแดนแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะการคมนาคมระหว่าง สุรินทร์-อุบลฯ ในสมัยนั้นเป็นไปโดยยากจนนับได้ว่าเป็นต่างแดนจริงๆ
       ต่อมาท่านได้พยายามอย่างยิ่งที่จะญัตติจากนิกายเดิมมา เป็นธรรมยุตติกนิกาย แต่ทางคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยเฉพาะพระธรรมปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลในขณะนั้น ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระนักบริหารผู้มีสายตาไกลและจิตใจกว้างขวาง ได้ให้ความเห็นว่า "อยากจะให้ท่านศึกษาเล่าเรียนไปก่อนไม่ต้องญัตติ เนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุตมีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนาศึกษาพระ ปริยัติธรรมที่จังหวัดสุรินทร์บ้านเกิดของท่าน ให้เจริญรุ่งเรือง เพราะถ้าหากญัตติแล้วเมื่อท่านกลับไปสุรินทร์ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัดสุรินทร์เลย" แต่ตามความตั้งใจของท่านเองนั้น มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรมจึงได้พยายามขอญัตติต่อไปอีก
       ในกาลต่อมา นับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ ท่านมีโอกาสได้คุ้นเคยกับ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านรับราชการครู ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์สิงห์ได้ชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้ช่วยเหลือท่านในการขอญัตติ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ 
       ดังนั้น ใน พ.ศ. 2461 ขณะเมื่ออายุ 31 ปี ท่านจึงได้ญัตติจากนิกายเดิมมาเป็นพระภิกษุในธรรมยุตติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ถ้าหากจะนับระยะเวลาที่ท่านไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ในฐานะพระอาคันตุกะ จนกระทั่งได้รับเมตตาอนุญาตให้ได้ญัตติก็เป็นเวลานานถึง 4 ปี รวมเวลาที่ดำรงอยู่ในภาวะของนิกายเดิมก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
       จากการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและพิจารณาข้อธรรมะเหล่านั้นจนแตก ฉานช่ำชองพอสมควรแล้ว ก็เห็นว่าการเรียนปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้นเป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะ ได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ผลและได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้นเป็นอีกเรื่อง หนึ่งต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหน่ายและท้อถอยในการเรียนพระปริยัติธรรมและมีความสนใจ โน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธรรม ทางธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่
       นับว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดุลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเองท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายอารัญญวาสี ได้เดินทางกลับจากธุดงค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ข่าวที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษา ที่วัดบูรพานั้นเลื่องลือไปทุกทิศทาง ทำให้ภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์ และประชาชนแตกตื่นฟื้นตัวพากันไปฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น
       หลวงปู่ดุลย์กับอาจารย์สิงห์ 2 สหายก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ ไม่ขาดแม้สักครั้งเดียว นอกจากได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ มีความหมายลึกซึ้งและรัดกุมกว้างขวาง ยังได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ที่งดงามน่าเลื่อมใสทุดอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจคำพูดแต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีฯ 
       ครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุ 2 รูป คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมกับหลวงปู่ดุลย์ จึงตัดสินใจสละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไปทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น
       ตามธรรมเนียมธุดงค์กัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่นมีอยู่ว่า เมื่อถึงกาลเข้าพรรษาไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกกันไปจำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นถ้ำ เป็นเขา โคนไม้ ป่าช้า ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไรตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล แต่ละคณะ
       เมื่ออกพรรษาแล้ว หากทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ ณ ที่ใดพระสงฆ์ก็พากันไปจากทุกทิศทุกทางมุ่งไปยัง ณ ที่นั้นเพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานและเล่าแจ้งถึงผลการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมีอันใดผิดพระอาจารย์จัดได้ช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้วท่านจักได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานยิ่งๆ ขึ้นไป
       ดังนั้น เมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรกแห่งการธุดงค์ของท่าน คณะหลวงปู่ดุลย์ จึงพากันแยกจากท่านพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมติทำเป็นสำนักวัดป่า เข้าพรรษาด้วยกัน 5 รูป คือ
   
       ท่านพระอาจารย์สิงห์
       ท่านพระอาจารย์บุญ
       ท่านพระอาจารย์สีทา
       ท่านพระอาจารย์หนู
       ท่านพระอาจารย์ดุลย์ อตุโล (คือ ตัวหลวงปู่เอง)
       ทุกท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด ครั้งนั้น บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้
       ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษาก็ปรากฏว่า อาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาลกันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มีความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละ จนกระทั่งองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพลงในกลางพรรษานั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมิกอย่างน่าเวทนา
       สำหรับหลวงปู่ดุลย์ ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี จึงตัดเตือนตนว่า "ถึงอย่างไร ตัวเราจักไม่พ้นเงื้อมมือของความตายในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด" จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตาย ตั้งสติให้สมบูรณ์พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือ มีมรณัสสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ไปด้วยโดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่ กำลังคุกคามจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้เลย
       ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์นี้เอง การปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดุลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละ ก็ได้บังเกิดผลอย่างเต็มภาคภูมิ กล่าวคือ ขณะที่นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกมากนั้น จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบและให้บังเกิดนิมิตขึ้นมา คือ เป็นพระพุทธรูปปรากฏขึ้นที่ตัวของท่าน ประหนึ่งว่าตัวของท่านเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตต่อไปอีก แม้ขณะที่ออกจากที่บำเพ็ญสมาธิภาวนาแล้วและขณะออกเดินไปสู่ละแวกบ้านป่า เพื่อบิณฑบาต ก็เป็นปรากฏอยู่เช่นนั้น
       วันต่อมาอีกก่อนที่รูปนิมิตจะหายไป ขณะที่เดินกลับจากบิณฑบาต ท่านได้พิจารณาดูตนเองก็ได้ปรากฏเห็นชัดว่า เป็นโครงกระดุกทุกส่วนสัด วันนั้นจึงเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหารจึงอาศัยความเอิบอิ่มใจของสมาธิ จิตกระทำความเพียรต่อไป เช่น เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างตลอดวันตลอดคืน และแล้วในขณะนั้นเองแสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่าน
       รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้
       1. บำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นปกติไม่ขาดสาย ไม่เคยขาดตกบกพร่อง กลางคืนจะพักผ่อนเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
       2. ฉันมื้อเดียวตลอดมา เว้นแต่เมื่อมีกิจนิมนต์จึงฉัน 2 มื้อ
       3. มีความเป็นอยู่ง่าย เมื่อขาดไม่ดิ้นรนแสวงหา เมื่อมีไม่สั่งสม เป็นอยู่ตามมีตามเกิดเจริญด้วยยถาลาภสันโดษ (คือสันโดษ ได้อย่างไร บริโภคอย่างนั้น)
       4. มีสัจจะ พูดอย่างไรต้องทำอย่างนั้น มีความตั้งใจจริง จะทำอะไรแล้วต้องทำจนสำเร็จ
       5. สัลลหุกวุตติ เป็นผู้มีความประพฤติเบากาย เบาใจ คือ เป็นผู้คล่องแคล่วว่องไว เดินตัวตรงและเร็ว แม้เวลาตื่นนอนพอรู้สึกตัวท่านจะลุกขึ้นทันที เหมือนคนที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา
       6. นิยมการทำตัวง่ายๆ สบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง มักตำหนิผู้ที่เจ้าบทบาท มากเกินควร
       7. การปฏิสันถาร ท่านปฏิบัติเป็นเยี่ยมตลอดมา
    
       หลวงปู่ดุลย์ เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์ มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว ... " มาก   
ธรรมโอวาท
       สำหรับหลวงปู่ดุลย์ นั้น ท่านเล่าว่าได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สญฺญา อนตฺตา" ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เดิความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับได้แล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า
       1. จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย
       2. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์
       3. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
       4. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ  
       แล้วท่านเล่าว่า เมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจทั้ง 4 ได้ดังนี้แล้ว ก็ได้พิจารณาทำความเข้าใจใน ปฏิจฺจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย
คติธรรม ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ
       "อย่าส่งจิตออกนอก"
       "จงหยุดคิดให้ได้"
       "คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้ แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้"
       "คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี"   
ปัจฉิมบท
       สังขารธรรมหนึ่งอุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2430 ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉลียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้เจริญเติบโตและรุ่งเรืองมาโดยลำดับตามวัย ได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องดีงามอยู่ภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเวลานานถึง 64 พรรษา ท่านประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา เป็นเนื้อนาบุญของโลก ท่าทนเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริง ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ บัดนี้สังขารขันธ์นั้นได้ดับลงแล้ว ตาม สภาวธรรม เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526