หลวงพ่อจุ่น จิตตสังวโร วัดโพธิ์ตาล
ในสายวิชาฝังตะกรุดทองคำใต้ท้องแขน
ในอดีตไม่มีใครเกินหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ โดยหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ นั้นเป็นลูกศิษย์“หลวงปู่คง” วัดถนนหักใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยหลวงปู่คงกับหลวงปู่นิล
เป็นสหธรรมิกที่สนิทกันมาก เคยทดสอบแลกเปลี่ยนวิชากันอยู่เป็นประจำ
จนเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาศิษย์ใกล้ชิด
หลวงพ่อจุ่น จิตตสังวโร
(พระครูโพธิกิตติวิมล) ถือเป็นพระสายปฏิบัติ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อโต
เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตาล รุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดวิชาจากหลวงปู่นิล (พระครูโพธิญาณคุณ)
เจ้าอาวาสรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นสหธรรมมิกกับ หลวงปู่คง
วัดถนนหักใหญ่ อาจารย์ของหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่
วัดโพธิ์ตาล อ.บำเหน็จณรงค์
จ.ชัยภูมิ จากคำบอกเล่าปากต่อปากและบันทึกที่พอจะสืบค้นได้ ระบุว่า
เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2320
ตรงกับปลายรัชสมัยกรุงธนบุรีของพระเจ้าตากสินมหาราช
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.2370
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานที่มีปรากฏ คือ
พระปรางค์ปราสาทสมัยขอม ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร
ถาวรวัตถุที่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง
คือ “ใบเสมาหินคู่”
ซึ่งตามบันทึกของกรมหลวงพระยาดำรงราชานุภาพระบุว่า วัดโพธิ์ตาลอาจเป็นวัดหลวงในสมัยนั้น
หรือมีการประนีประนอมของ 2 นิกายในพุทธศาสนา อันได้แก่
นิกายธรรมยุตและมหานิกาย เพื่อให้พระสงฆ์ทั้งสองนิกายกระทำสังฆ์กรรมร่วมกันได้ ณ
อุโบสถแห่งนี้
วัดโพธิ์ตาล
เป็นที่เลื่องลือเล่าขานถึงวิชาพุทธาคม ตั้งแต่ยุคสมัย หลวงปู่ขาว เจ้าอาวาสรูปแรก
ซึ่งสมัยนั้นมีพระเถราจารย์ผู้ทรงภูมิในด้านวิทยาคมเป็นจำนวนมาก อาทิ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเงิน
วัดบางคลาน จ.พิจิตร, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
ฯลฯ และในสายวิชาแต่ละสำนักล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ที่ วัดโพธิ์ตาล ที่มีหลวงพ่อจุ่น
จิตตสังวโร เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลบ้านตาล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ
ซึ่งตรงกับวันเสาร์ห้าของทุกปี ทางวัดได้จัดพิธีรับฝังตะกรุดทองคำ
ให้กับลูกศิษย์ลูกหาและประชาชน โดยในปีนี้วันที่ 17-18
มี.ค.ทางวัดได้จัดงานทอดผ้าป่า และงานไหว้ครู ลูกศิษย์เดินทางมาเป็นจำนวนมาก
โดยมีประชาชนที่ทราบข่าว ได้เดินทางมาร่วมถวายทอดผ้าป่า
และเพื่อขอนำวัตถุมงคล ของหลวงพ่อจุ่น กลับไปบูชา
เนื่องจากเป็นพระรูปเดียวที่ยังมีการสืบทอดวิชาการฝังตะกรุดทองคำแท้ ไว้ใต้แขนพับ
ขนาดยาวไม่เกิน 1 ซม. ตำรับเดียวกันกับของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
ซึ่งถือว่าในขณะนี้เหลือเพียงรูปเดียวในภาคอีสาน
ส่วนวัตถุมงคลที่ผ่านมาจัดสร้างไปแล้ว
มากกว่า 6 รุ่น
ส่วนใหญ่เป็นเหรียญและเนื้อผง ซึ่งได้รับความนิยม มีมูลค่าสูงขึ้นต่อเนื่อง
โดยเฉพาะรุ่น ที่ 4 รุ่น 5 และรุ่น 6
ที่มีทั้งทหาร
ตำรวจในพื้นที่พกติดประจำตัวเป็นกำลังใจยามต่อสู้กับโจรผู้ร้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น