หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม |
หลวงปู่อ่อง
ฐิตธัมโม
จากตำนานหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอริยะสงค์เจ้า ศิษย์สายสมเด็จลุน
ที่กำลังโด่งดังไปทั่วท้องปฐพีประเทศไทยในปัจจุบัน ได้บ่อเกิดแห่งพระอริยะสงค์เจ้า
ศิษย์สายสมเด็จลุน ศิษย์ผู้น้องคือหลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม หรือ"พระครูสถิตธรรมมงคล" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
ญาท่านอ่อง
ญาท่านอ่อง เป็นหลานแท้ๆ
ของพระกัมมัฏฐานแพง จันทสาโร ซึ่งเป็นศิษย์เอกเจ้าปู่สมเด็จลุน วัดเวินไซ
บูรพาจารย์พระเวทแห่งนครจำปาสัก ผู้เรืองวิทยาคมแห่งสองฝั่งแม่น้ำโขงไทย-ลาว อดีตเจ้าอาวาสวัดสิงหาญ
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
แม้ญาปู่อ่องจะสืบสายพุทธาคมมาทางด้านอิทธิปาฏิหาริย์
แต่ไม่เคยแสดงฤทธิ์เดชให้ใครเห็น ยกเว้นสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเองในคราวจำเป็น
หรือมีใครทดลอง เพราะได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่กรรมฐานแพง จันทสาโร
ศิษย์ผู้ใกล้ชิดสมเด็จลุน ที่จำได้ทุกตัวอักษร ว่า "หากไม่มีเหตุจำเป็น
อย่าแสดงแผงฤทธิ์เดชใดๆ" ท่านเป็นศิษย์ผู้น้องของ "ญาท่านสวน
ฉันทโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
พระครูสถิตธรรมมงคล
(หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม) เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด เป็นหลานพระกรรมฐานแพง จันทสาโร
หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2471 โยมพ่อชื่อ
พ่อคูณ โยมแม่ชื่อ แม่กอง ในสกุล อัจฉฤกษ์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 9 คน
เด็กชายอ่อง อัจฉฤกษ์ ไม่สนใจเรื่องโลกทั้งปวง
ศรัทธาเลื่อมใสในศีลาจารวัตรพระกัมมัฏฐานแพง จันทสาโร เรียนรู้ธรรมะตั้งแต่ยังเล็ก
ครั้นอายุได้ 6
ขวบก็ขออนุญาตโยมพ่อ โยมแม่ เข้าเป็นศิษย์วัด อายุ 12 ปี บวชเป็นสามเณร
โดยท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) เป็นผู้บวชให้ ต่อมาอายุครบ20 ปี พ.ศ. 2491
ก็อุปสมบทเป็นพระโดยมีท่านพระครูพิริยกิจปัญญา“หลวงปู่ฤทธิ์ วัดสระกุศกร” เป็นพระอุปฒาย์
ได้นามว่า พระอ่อง ฐิตธัมโม
หลวงปู่อ่อง
ฐิตธัมโม เริ่มออกธุดงค์ตั้งแต่เป็นสามเณร 3-4 ปีจะกลับมาครั้งหนึ่ง
หลังจากพระกัมมัฏฐานแพง จันทสาโร มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2509
เมื่อทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องศพของพระกรรมฐานแพงเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่อ่อง
ก็ออกจากวัดเทพสิงหาญเพื่อธุดงค์ตลอดมา
วัดสิงหาญ
เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีหลักฐานที่สามารถประมาณได้ว่าเคยมีพระท่านใดเป็นเจ้าอาวาสบ้าง
ก็อาศัยหลักฐานอัฐิที่มีรายชื่อจารึกอยู่รอบพระเจดีย์ ดังนี้ ญาถ่านพู
เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2350 – 2360 หลวงปู่อตมะ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2365 – 2395
เจ้าปู่สมเด็จตัน เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2480 – 2494 หลวงปู่แพง พระกัมมัฏฐานแพง จันทสาโร เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 24.. – 2509
มีหลายช่วงที่ขาดรายนามเจ้าอาวาส ในระหว่างนั้น มีพระครูพิศาลสังฆกิจ “หลวงปู่โทน
กันตสีโล” ก็เป็นเจ้าอาวาสอยู่หลายปี
สำหรับท่านพระครูสถิตธรรมมงคล “หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม” เป็นเจ้าอาวาส
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติหลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม
“ญาท่านอ่อง” เกิดในสกุลอัจฉฤกษ์
เมื่อวันวันพุธที่ ๕ กันยายน ๒๔๗๑ เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด อายุ ๑๔ ปี บรรพชา
โดยมีพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
คอยอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่แพง จันทสาโร
ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาอักขระขอมธรรมลาวและวิทยาคม รวมทั้งศึกษาวิชากรรมฐาน
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑
อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท มีพระครูโสภิตพิริยคุณ (หลวงปู่ฤทธิ์)
วัดสระกุศกร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรวิริยกิจ (ชู) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และพระครูสิริปุญญรักษ์ (สวน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิตธัมโม
มีความหมายว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นในธรรม
หลังอุปสมบท
ปฏิบัติกิจแห่งสงฆ์โดยครบถ้วน ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ
ขณะศึกษาธรรม
ท่านยังมีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณควบคู่ไปด้วยจนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป
ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ ท่านหันมาให้ความสนใจศึกษาวิทยาคม
ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด ตั้งใจทบทวนวิทยาคมที่เรียนมาจากหลวงปู่แพง
หลวงปู่ญาท่านอ่อง
ออกเดินธุดงค์ค้นหาครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาด้านพุทธาคม อบรมตนด้วยการฝึกนั่งสมาธิ
บำเพ็ญจิตภาวนา ในวิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ มิได้ขาดจากความเพียร
มากน้อยบ้างตามจริตนิสัยและโอกาสอำนวยฝึกฝนอบรมจิต จนรวมเอกัคคตารมณ์ จิตสงบรวม
สู่ฐานสมาธิ หลีกหนีจากวัฏสงสารตามแนวทางผู้เป็นอาจารย์
จากนั้นเดินธุดงค์ในแทบแม่น้ำโขงตามภูเขาน้อยใหญ่ต่างๆ ที่ค้นหาครูบาอาจารย์
ร่ำเรียนวิชา ศึกษาด้านพุทธาคมในประเทศลาวและประเทศไทย ทั้งภาคเหนือภาคใต้
ผ่านภูเขาควาย เข้าภูมะโรง เพื่อฝึกฝนจิตใจ สมาธิให้แข็งแกรง ผ่านเข้าพรรษาที่ ๑๐
เพื่อคอยดูแลรับใช้หลวงปู่กรรมฐานแพง การเรียนสรรพวิชา เวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ
ในสายสำเร็จจลุน ญาท่านกรรมฐานแพง ท่านกล่าวว่า
ผู้ที่จะเรียนวิชาในสายนี้จะต้องถือสัจจะ คือ เมื่อเรียนสำเร็จจะต้องบวชไม่สึกจนกว่าชีวิตจะหาไม่
วิชาที่ท่านร่ำเรียน
ได้แก่ มูลสังกจายน์ วิชา ธาตุ ๔ นะ มะ พะ ทะ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะโมพุทธายะ นะปัตตลอด
หนุนธาตุ กลับธาตุ วิชาหุงนวด หุงปรอด และสุดยอดวิชา คือวิชาหุงหิน
วิชาโบราณที่น้อยคนจะมีวาสนาร่ำเรียนวิชานี้สำเร็จได้ โดยการใช้ไฟบริกรรมคาถาขับธาตุให้เกิดเป็นแร่กายสิทธิ์
มีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ครอบคุมเข้มขลังในตัว
ตลอดจนหมดสิ้นวิชาที่เรียนได้รับตำรายันต์ทำผง ตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
ผงปถมัง ผงอธิเจ รัตนมาลา เขียนเองลบเอง ปลุกเสก ภายหลังจนหมดสิ้นวิชาทุกแขนง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น