เหรียญทรงเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ
50 ปี
เหรียญทรงเสมาอาร์มที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ
50 ปี
หรือเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนั่งบัลลังก์
พระราชพิธีกาญจนาภิเษก
พ.ศ. 2539 เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี ตามคติสากล พระราชพิธีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยพระองค์ทรงครองราชสมบัติ
เป็นปีที่ 50 ใน พุทธศักราช 2538 และครบรอบ 50 ปีจริงในวันที่ 9 มิถุนายน
พุทธศักราช 2539
ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ระหว่างวันที่ 8-10,12,14,23 มิถุนายน ,7พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 รวมทั้งสิ้น 7
วัน พระราชพิธีนี้
รัฐบาล สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา และ ประชาชนชาวไทย
เป็นผู้ร่วมกันจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนั่งบัลลังก์ ในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี เมื่อ พ .ศ. 2539
การสร้างเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลอง
ทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ผู้จัดสร้างได้นำเนื้อโลหะชนวนมวลสารโลหะจากพิธีสำคัญๆ
เช่น ชนวนโลหะพระกริ่งดำรงราชานุภาพในงาน 100 ปี
กระทรวงมหาดไทยจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2533 และชนวนโลหะพระนิโรคันตราย ที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วประเทศจัดสร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่
4 ธันวาคม 2538 และแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ
ทั้งนี้สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงประกอบพิธีเจริญจิตภาวนาด้วยพระองค์เอง ณ
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การจัดสร้างเหรียญครั้งนี้ เหรียญ
มีราคาถูกเป็นพิเศษเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดกาลนาน
รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายโดยพระราชกุศลมูลนิธิชัยพัฒนา
เป็นเหรียญดีมีคุณค่า ประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาดของทหารและตำรวจ
เหรียญเป็นรูปทรงใบเสมามีหู ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบนบัลลังก์
ด้านหลังตราสามง่าม และ จักร เหรียญมีขนาดขนาด 2.8 X 4 เซนติเมตร ชื่อเป็นทางการของเหรียญรุ่นนี้เรียกว่า
เหรียญทรงเสมาอาร์มที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ
50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ขอบรมราชานุญาตจัดสร้าง
พระบรมรูปและเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯออกแบบโดยกรมศิลปากร
เหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯ ด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษ์ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาลกาญจนสิงหาส์บนบัลลังก์มีข้อความว่า
“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลังเป็นรูปสัญลักษณ์ตราจักรีโดยมีข้อความว่า
”พ.ศ.2539” ถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่มีความนิยมมาก
มีประสบการณ์มาแล้วดังที่เป็นข่าวใน นสพ.ต่างๆ
มีผู้ประสบรถคว่ำสภาพพังยับเยินและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตชด.ขณะปฏิบัติหน้าที่ทางภาคใต้ถูกผู้ก่อการร้ายซุ่มยิ่งแต่ไม่ได้รับอันตรายเนื่องจากคล้องเหรียญนั่งบัลลังก์
เนื่องเพราะสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์มหากุศลจากมวลสารที่ดีเยี่ยม
จัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือ
1.เนื้อทองมี 2
เนื้อคือเนื้อทองสัมฤทธิ์จัดสร้างจำนวน 25,390 เหรียญ ราคาเหรียญละ 5,999 บาท
และเนื้อทองคำขัดเงาน้ำหนักเหรียญละ 15 กรัมสร้าง จำนวน 25,390 เหรียญ
ราคาเหรียญละ 8,999 บาท
2.เนื้อเงินขัดเงาน้ำหนักเหรียญละ 8
กรัม สร้างจำนวน 5,000,000 เหรียญ ราคาเหรียญละ 499 บาทและ
3.เนื้ออัลปาก้า สร้างจำนวน
5,000,000 เหรียญ ราคาเหรียญละ 9 บาท (จำกัดคนละไม่เกิน 11 เหรียญ)
ทั้ง 3 เนื้อเปิดให้จองระหว่างวันที่
1 - 30 กันยายน พ.ศ.2539 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถานที่ราชการต่าง ๆ
และธนาคารทั่วประเทศ
กระทรวงมหาดไทยสมัยนั้น ท่าน พลเอก
ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมี ท่านปลัดอารีย์ วงศ์อารยะ
เป็นปลัดกระทรวง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ตามคำสั่งที่ 2708/2537 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 ส่วนใหญ่มีผู้อำนวยการกองต่างๆ
และผู้แทนกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นคณะกรรมการ
กระทรวงมหาดไทยก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต
จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากหนังสือขอพระบรมราชานุญาติผ่านไปไม่นาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระกระแสปรารภว่า “ถ้าราคาสูงไป ประชาชนชาวไทยที่อยากได้
จะมีโอกาสไม่ทั่วถึง” ที่ประชุมก็ได้ถกเถียงกันว่า
เหรียญเนื้ออัลปาก้าที่จะจำหน่ายเหรียญละ 59 บาทนั้น คือ
เหรียญที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมีโอกาสได้ ควรจะราคาเท่าใดดี
เมื่อสอบถามราคาต้นทุนแล้วจำได้ว่า ประมาณเหรียญละ 5 บาท
กรรมการจึงตกลงกันว่าจะจำหน่ายเหรียญละ 10 บาท
ท่านณัฏฐ์ ศรีวิหค
ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้เสนอในที่ประชุมว่า ตัวเลข 9 น่าจะเหมาะสมกว่า
เพราะเป็น แผ่นดินรัชกาลที่ 9 ที่ประชุมเห็นชอบด้วยทั้งหมด
จึงสรุปว่า เหรียญประทับบัลลังก์ ( เหรียญนั่งบัลลังก์ ) เนื้ออัลปาก้า
จำหน่ายเหรียญละ 9 บาท ส่วน รูปหล่อประทับบัลลังก์ และ เหรียญประทับบัลลังก์ ( เหรียญนั่งบัลลังก์
) เนื้อทองคำ ตลอดจนเหรียญเงินตามที่กำหนดไว้เป็นจำนวนมากนั้น
ไม่น่าจะมีการจำหน่ายได้มากขนาดนั้น คณะกรรมการจึงขอดูกระแสความต้องการที่แท้จริงก่อนว่าจะสร้างจำนวนเท่าใดแน่นอน
หลังจากนั้นก็อยู่ในการดำเนินการสร้างต่อไป
โดยรูปปั้นนั้นได้มอบให้ อาจารย์เศวต เทศน์ธรรม เป็นผู้ปั้น ส่วน
เหรียญประทับบัลลังก์ ( เหรียญนั่งบัลลังก์ ) นั้นมอบให้ โรงงานง้วนจั๊ว
เป็นผู้ดำเนินการ ให้ ช่างชัย ศรีรองเมือง เป็นผู้แกะแม่พิมพ์
ขณะนั้นเวลาใกล้งานเข้ามา
ทางโรงงานปั๊มเหรียญเกรงว่าจะปั๊มได้ไม่ทันเวลา เพราะเป็นจำนวนมาก
คณะกรรมการได้ประชุมแล้วมอบให้ โรงงานโสภณโลหะภัณฑ์ แบ่งงานปั๊มเนื้ออัลปาก้าออกไป
3,000,000 เหรียญ
ส่วน โรงงานง้วนจั๊ว ปั๊มเนื้ออัลปาก้า 2,000,000 เหรียญ
และเหรียญเนื้อทองคำ และเนื้อเงินทั้งหมด
จำนวนเหรียญที่แน่นอนคือ
เนื้ออัลปาก้า 5,000,000 บาท จากโรงงานโสภณโลหะภัณฑ์ 3,000,000 เหรียญ
ได้รับบล็อกไป แต่บล็อกที่ได้รับไปทาง ช่างโสภณ ศรีรุ่งเรือง
ได้นำไปแกะเติมแต่งให้คมชัดขึ้น โดยเฉพาะในส่วนปลายกระบี่ที่ยาวขึ้นและพระพักตร์
ตลอดจนเส้นเกศาและเครื่องทรงให้คมชัดขึ้น และถ่ายบล็อกออกไปอีกหลายบล็อก
แต่ทุกบล็อกจะเหมือนกัน คือ คมชัด (ภายหลังมีการเรียกกันว่า บล็อกกระบี่ยาว)
เหตุที่ต้องถ่ายบล็อกออกไปอีกหลายบล็อก เพราะต้องปั๊มเหรียญจำนวนมากถึง 3,000,000 เหรียญ และเป็นการปั๊มเหรียญเนื้ออัลปาก้าซึ่งมีความแข็งมาก บล็อกจึงชำรุดง่ายต้องเปลี่ยนบล็อกบ่อย
และต้องปั๊มจากเครื่องปั๊มหลายเครื่องเพื่อให้ทันงาน
ดังนั้นเหรียญจากโรงงานนี้จึงเป็นเหรียญพิมพ์กระบี่ยาวทั้งหมด
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้ออัลปาก้า
เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า
พิมพ์นิยม กระบี่ยาว
เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า
ส่วน เหรียญประทับบัลลังก์
(เหรียญนั่งบัลลังก์ ) เนื้อเงิน และทองคำ
ที่เป็น พิมพ์กระบี่ยาว (หรือบล็อกนิยม) นั้น
จะมีหูเหรียญเหมือนเหรียญอัลปาก้าแต่ไม่เจาะรู
เป็นเหรียญที่คณะกรรมการทำกันไว้ใช้เอง มีเนื้อทองคำโดยประมาณ 20 เหรียญ
และเงินโดยประมาณ 300 เหรียญ เท่านั้น จะมี โค้ดสิงห์
ทั้งเหรียญเนื้อทองคำและ เนื้อเงิน ตอกโค้ดเดียวบ้าง สองโค้ดบ้าง
ส่วน เหรียญประทับบัลลังก์
(เหรียญนั่งบัลลังก์ ) เนื้ออัลปาก้า อีก 2,000,000 เหรียญ
ซึ่งได้ให้โรงงานง้วนจั๊วปั๊ม ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น พิมพ์กระบี่สั้น ทั้งหมด
รวมทั้ง เหรียญเนื้อทองคำ (ไม่มีหู) และเงินที่จำหน่าย (ไม่มีหู)
จะเป็นพิมพ์เดียวกันทั้งหมด จะมี โค้ดสิงห์ เฉพาะเหรียญทองคำ
ส่วนเหรียญเงินไม่ได้ตอกโค้ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น