ประวัติหลวงปู่หงส์
พรหมปัญโญ luangpuhong
หลวงปู่หงษ์
พรหมปัญโญ(พระครูปราสาทพรหมคุณ สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ในมโนสำนึกของผู้เขียนแล้ว เท่าที่ผู้เขียนจำความได้ จนถึงปัจจุบัน
ก็ได้ผ่านยุคเกจิดังระดับประเทศก็หลายองค์
แต่เชื่อไหมครับว่ามีหลวงปู่หงษ์องค์เดียวเท่านั้นที่ผู้เขียน ได้กราบนมัสการท่านอย่างใกล้ชิด
และเป็นกันเองมากที่สุด
และนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน ตั้งแต่ผู้เขียนยังวัยหนุ่ม (ตอนนี้ 50 ปี แล้ว)
“หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ” หรือ
พระครูปราสาทพรหมคุณ แห่งสุสานทุ่งมน วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งดินแดนอีสานใต้ มีนามเดิมว่า “สุวรรณหงษ์
จะมัวดี” เกิดเมื่อวันที่
23 มี.ค.2461 ที่บ้านทุ่งมน
อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4
ที่โรงเรียนวัดอุทุมพร บ้านทุ่งมน จนอายุ 18 ปี มารดาขอร้องให้บวชเณร
เพราะเป็นช่วงวัยรุ่นอารมณ์ร้อน
จากความตั้งใจที่จะบวชเพียง
7 วัน
เกิดมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เลยอยู่เรื่อยมาจนอายุครบ 20 ปี
พระอุปัชฌาย์จึงอุปสมบทให้ ณ วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
มีพระอาจารย์แป้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานาม “พรหมปัญโญ” แปลว่า “ผู้มีปัญญาดุจพรหม”
อุปสมบทแล้ว
ตั้งใจมั่นขยันหมั่นเพียรศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยเป็นผู้มีความวิริยะสูง
จดท่องแม่นยำยิ่งนัก ทั้งฝักใฝ่หาความรู้
เพียรหาครูบาอาจารย์อย่างไม่ลดละแม้จะไกลไปยาก ก็อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางไป
พ.ศ.2482
สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักโรงเรียนวัดอุทุมพร พ.ศ.2483
เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนผู้ใหญ่เพิ่มเติม สอบได้ระดับชั้นปลายภาคจากวัดศรีลำยอง
ต.สมุด
อุปสมบท 3 พรรษา
กราบลาพระอุปัชฌาย์จาริกถือธุดงควัตร อาศัยอยู่ตามโคนไม้ นุ่งห่มใช้ผ้าเพียงสามผืน
ถือที่สงบสัปปายะ เช่น ป่าช้าเป็นที่เจริญภาวนาเช้าค่ำ
ขบฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว เดินทางไปสู่เมืองขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
เพราะเป็นเขตแห่งสรรพศาสตร์มนตรา
จึงได้เข้าขอศึกษากับครูอาจารย์ที่เป็นทั้งฆราวาสก็ดี เป็นผู้ทรงศีลสมณะก็ตาม
จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขออนุญาตลากลับเพื่อจาริกธุดงค์สู่พนมเปญ กัมพูชา
เมื่อธุดงค์เข้าเขตประเทศกัมพูชา
พบกับครูบาอาจารย์ศึกษาสรรพวิชา ทั้งคาถาเมตตา มหาเสน่ห์ กำบังภัยทั้งคุ้มครอง
แคล้วคลาดกันอาวุธปืน หอก ดาบ เขี้ยว งา ช้างเสือ หุงสีผึ้ง กันยาเบื่อ ทั้งคุณไสย
ทำน้ำมนต์รดอาบ
ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์
พ.ศ.2516
เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี พ.ศ.2519
รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งมน พ.ศ.2525 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2542
เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลทุ่งมน
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ.2523
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่
พระครูประสาทพรหมคุณ พ.ศ.2535
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม
สร้างคุณูปการให้กับสังคมมากมาย
โดยเฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์ หลวงปู่หงษ์
บริจาคทรัพย์สร้างสถานีอนามัยและสถานเลี้ยงเด็ก รวมทั้งมอบเงินช่วยเหลือโรงเรียน
ปรับปรุงสถานีตำรวจ จัดตั้งมูลนิธิหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ, บริจาคเพื่อขุดแหล่งน้ำ
บ่อน้ำ และฝายกั้นน้ำ
ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หลวงปู่หงษ์ บริจาคเงินเพื่ออนุรักษ์ป่า ปลูกป่า เสริมสร้างป่าชุมชน
บริจาคเงินและตั้งกองทุนเพื่อซื้อและไถ่ชีวิตสัตว์
พ.ศ.2535
รับโล่รางวัลชนะเลิศด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่นจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.2536 รับรางวัล
ชนะเลิศวัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ.2537
รับรางวัลชนะเลิศด้านบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และรับพระราชทานเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง
ช่วงเช้าวันที่ 5 มีนาคม 2557 หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ มรณภาพ ด้วยวัย
97 ปี พรรษา 77
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น