วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เหรียญมังกรคู่กะไหล่ทอง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล





เหรียญมังกรคู่กะไหล่ทอง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
เหรียญมังกรคู่หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ปัจจุบัน( 14 มิถุนายน 2559) ถือว่าเป็นพระหลักของ หลวงปู่หมุน ที่ออกวัดป่าหนองหล่ม สร้างปี 2543 พิธีเสาร์ห้ามหาเศรษฐี  และเสกอีกหลายวาระพิธี
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 1   ทำพิธีเททองหล่อพระรูปเหมือน, รูปหล่อพิมพ์เบ้าทุบ   ครอบน้ำพุทธมนต์
รูปหล่อครึ่งซีกติดข้างขันน้ำมนต์ หลวงปู่หมุนอธิษฐานจิตเดี่ยวและเป็นประธานเททองที่ วัดป่าหนองหล่ม สระแก้ว เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 ทำพิธีพุทธาภิเษกที่อุโบสถ วัดสุทัศน์ 16 มีนาคม 2543
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 3 เสาร์ 5 วัดป่าหนองหล่ม วันที่ 8 เมษายน 2543
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 4 ที่วัดซับลำใย ในวันที่ 9 เมษายน 2543 โดยหลวงปู่หมุน อธิษฐานปลุกเสกตั้งธาตุ หนุนธาตุ หมุนธาตุ ชักยันต์ ครอบมณฑลพิธีอย่างตั้งใจ
ครั้งที่ 5 วัดสุทัศน์ฯ ในวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน เวลา 09.19 ที่อุโบสถวัดสุทัศน์ฯ
และด้วยกระแสความนิยมนี่เองทำให้ เหรียญมังกรคู่ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล  และวัตถุมงคลทุกชนิดของท่าน  มีการทำปลอมออกมาเกือบทุกรุ่น ในการเล่นหาสะสมหรือไว้บูชาต้องระวังเป็นอย่างสูง

ผมปกติจะไม่ค่อยชอบสะสมพระมาก่อน แต่นับถอยหลังไปเมื่อปลายปี 2557 ไม่รู้ว่ามีอะไรมาดนใจผมก็ไม่ทราบ ให้มีความใคร่อยากสะสมอยากมีไว้บูชา จุดเริ่มต้นที่หลวงพ่อคูณ  ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพผมเก็บสะสมไว้ได้หลายรุ่นมีมากสุดคือรุ่นสุคโต  มีอยู่ครั้งหนึ่งผมได้ไปจังหวัดสุรินทร์ และได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติเกี่ยวกับหลวงปู่หมุน ทำให้ผมเกิดความเลื่อมใส ตั้งใจว่าต้องเสาะแสวงหาวัตถุมงคลที่ทันท่านไว้บูชาให้จงได้ แต่วัตถุมงคลของท่านตอนนั้นก็แพงในความรู้สึกของผม  เนื่องจากผมไม่เคยเช่าบูชาพระที่มีราคาแพงๆมาก่อน  ทำไงทีนี้ผมคิดในใจ  แต่อยู่มาวันหนึ่งลูกน้องในแผนกที่ทำงาน  เอาเหรียญมังกรคู่หลวงปู่หมุนกะไหล่ทองมาปล่อยให้ในราคา 399 บาท ผมเห็นสวยงามดีก็เลยรับไว้  ตอนนั้นผมดูไม่เป็น  และอีกอย่างผมคิดว่าน่าจะปลอม  เพราะดูจากข้อมูลแล้วของแท้ราคาประมาณ 3000 – 4000 บาท ผมเก็บไว้บนหัวนอนเกือบปี  จึงหยิบขึ้นมาส่องดูใหม่ก็สวยดี แต่ทำไมกะไหล่ทองสีไม่เหมือนในเน็ท และถ่ายภาพเก็บไว้  นำภาพมาขยายดูตำหนิ  มีครบทุกจุด  ทำให้ผมศึกษาแบบเจาะลึก  และได้ข้อมูลที่พึงพอใจ  ผมสรุปว่าเหรียญแท้แต่กะไหล่ทองทำใหม่ครับ  เชิญท่านดูจากภาพตามครับ

เป็นภาพที่ถ่ายตอนยังไม่ใส่กรอบพลาสติก

ด้านหลังเหรียญครับ

ขอบตัดครับ

อีกด้านหนึ่ง

   ซึ่งตอนนั้นผมยังไม่ค่อยมีความรู้ด้านเหรียญมังกรคู่หลวงปู่หมุนเท่าที่ควร ต่อมาได้พยายามศึกษาอย่างจริงจังโดยการเทียบข้อที่ได้มา



ตัวอย่างโค๊ดที่เทียบครับ
ตัวอย่างโค๊ดแบบที่สาม


     เมื่อศึกษาและเทียบดูได้ข้อสรุปเรียบร้อย  ผมเลยนำไปใส่กรอบกันน้ำ มาชมภาพที่ที่ผมใส่กรอบพลาสติกกันครับ


เป็นภาพที่ถ่ายซูมผ่านแว่นขยาย

ถ่ายซูมผ่านแว่นส่องแล้วตัดเฉพาะโค๊ดครับ
                 และพออัดกรอบพลาสติกกันน้ำแล้ว  ด้วยความที่ว่าเมื่อพระแท้อย่าแท้เราคนเดียว    ต้องมองหาสถาบันรับรอง  เลยเกิดความคิดว่า  จะนำพระไปให้ทาง G-PRA    ตรวจสอบและออกบัตรให้เป็นการการันตี     อย่างน้อยก็เป็นองค์กรที่นักเล่นพระส่วนใหญ่ยอมรับ  ก็เลยทำการแกะกรอบพลาสติกออกก่อนเพื่อง่ายในการตรวจสอบ  แต่ตอนแกะกรอบออกพลาดไปนิด  ใช้ใบเลื่อยตัดถูกขอบเหรียญนิดนึงอย่างน่าเสียดาย มาชมภาพกันครับ









          เมื่อมีความชัดเจนอย่างนี้แล้ว  ผมมีความมั่นใจว่าแท้  100%  ผมจึงได้นำมาเขียนบทความออกสู่สายตาประชาชน  ไว้ผมส่งให้ G-PRA  ออกบัตรรับรองผมจะรายงานความคืบหน้าอีกครั้งหนึ่ง  ทุกท่านแสดงความคิดเห็นได้ครับ   ยินดีน้อมรับทุกคำติชม






วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลวงพ่อจื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ






หลวงพ่อจื่อ  พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ
หลวงพ่อจื่อ  พันธมุตโต (พระครูวิมลภาวนาคุณ) วัดเขาตาเงาะอุดมพร เป็นพระสงฆ์สายวิปัสสนา เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม หรือตรงกับวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๖ ที่ ต.บ้านกอก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ อุปสมบท วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ที่วัดศรีแก้งคร้อ ต.ช่องสามหมอ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระอุปัชฌาย์ คือ พระโพธิญาณมุนี ท่านกำเนิดมาในตระกูลคนยากจน บิดาเป็นคนเชื้อสายจีน ชื่อนายฮอ แซ่จึง มารดาเป็นคนไทยชื่อนางพี เฉลียวดี ท่านได้รับการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็ต้องออกมาช่วยที่บ้านทำงาน เมื่อโตขึ้นมาก็อาศัยว่ามีฝีมือในทางเย็บผ้า จึงรับจ้างเย็บผ้าหาเลี้ยงชีพ ท่านเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ก็ได้ทำงานในร้านก่อเกียรติ ซึ่งเป็นร้านตัดผ้าชั้นนำในเมืองหลวงยุคสมัยนั้น

หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต พระอริยสงฆ์แห่งภาคอีสาน วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน) อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น หลวงปู่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐาน ธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีความสงบร่มรื่นที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ทราบภูมิประเทศ แหล่งประกอบอาชีพและปัญหาการประกอบอาชีพของประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะภูมิประเทศอันเป็นแหล่งต้นกำเนิดแหล่งน้ำสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสูงจากอำเภอหนองบัวแดง ไหลผ่านอำเภอบ้านเขว้า หนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส และอำเภอเมืองชัยภูมิ เมื่อปี ๒๕๒๓ ขณะที่ท่านนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดเขาตาเงาะอุดมพร ประชาชนชาวหนองบัวระเหว ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ท่านจึงคิดพัฒนาแหล่งน้ำ "ลำเชียงทา" เป็นแหล่งน้ำที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำชี ว่าน่าจะได้มีแหล่งการเก็บกักน้ำไว้ใช้ เพื่อประโยชน์ของชาวชุมชนหนองบัวระเหวและชุมชนใกล้เคียง ท่านจึงได้นำพระภิกษุ ลูกศิษย์ และชาวบ้าน ร่วมกันก่อสร้างเขื่อนดินด้วยงบประมาณอันน้อยนิดของผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณของทางราชการที่สนับสนุน ทำให้ประชาชนในอำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอเมืองชัยภูมิ ทั้ง 3 อำเภอ ได้มีแหล่งน้ำใช้ทางการเกษตรกรรม หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต เป็นผู้เปี่ยมไปด้วยบารมี ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระนักสร้าง นักพัฒนา ได้สร้างคุณประโยชน์ให้ส่วนรวมมากมาย ทั้งถนนหนทาง และทำฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ วัดเขาตาเงาะอุดมพร ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๒ หมู่ ๔ บ้านหัวหนอง ตำบลหนองบัวระเหว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่โดยประมาณ ๒๐๐ ไร่ จากจังหวัดชัยภูมิ ผ่านบ้านเขว้า ถึงหนองบัวระเหว ๒๗-๓๐ กิโลเมตร โดยประมาณ เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๕ ชัยภูมิ-นครสวรรค์ โดยมี พระครูวิมลภาวนาคุณ (หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต) เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาตาเงาะอุดมพร

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ทำจากมวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาล





ภาพต้นแบบครับ


ล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ทำจากมวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโต ที่แตกหัก
บทความนี้ผมขอกล่าวถึงล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ทำจากมวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโต  สืบเนื่องมาจากที่ผมได้นำพระผงสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโต ไปให้ร้านทำกรอบพลาสติก (เลี่ยมกันน้ำ) ให้เจ้าหลานชายไว้แขวนบูชาเพื่อคุ้มครองและเป็นศิริมงคล แต่ร้านอัดกรอบพระฝีมือไม่ดีทั้งรานและแตกหักอย่างน่าเสียดาย  ดีที่ผมไปเช่าบูชาจากวัดมาหลายองค์
ทำให้ผมได้เกิดแนวคิดเสียดายผงพุทธคุณและมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาล ดีกว่าทิ้งไปเฉยๆ นำมาทำ ล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ไว้ใช้เองก็เข้าท่าดีเพราะ
พระสมเด็จเนื้อผงพิมพ์ทรงนิยมเกศทะลุซุ้ม รุ่น 214 ปีเกิดสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) มีชนวนมวลสารในการจัดสร้าง ที่สุดยอดกว่า พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผงทั้งหมดที่เคยจัดสร้างในนามวัดระฆังฯ มาแล้วทั้งหมด เนื่องจากเป็นการนำมวลสารเก่าของพระพิมพ์สมเด็จทุกรุ่นที่วัดระฆังฯเคยจัดสร้าง นำมาบดรวมกันเป็นชนวนมวลสารของพระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้(มีรุ่นนี้รุ่นเดียว=ได้พุทธคุณครอบคลุมครบทุกรุ่นของวัดระฆังฯ) ดังนี้
1 มวลสารเก่าของวัดระฆัง ผงสมเด็จชำรุด ผงพระปิลันท์ ผงดินสอพอง
2 พระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุดแตกหัก รุ่น100ปี,รุ่น108ปี,รุ่น118ปี,รุ่นเสาร์ห้าครั้งที่1,รุ่นเสาร์ห้าครั้งที่2

สรุปได้ว่า เพียงรุ่นเดียวพิมพ์เดียว ได้พุทธคุณครอบคลุมครบทุกรุ่นของวัดระฆังฯ

ขั้นตอนกำลังเตรียมภาพถ่าย
พระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโตที่แตกหัก

พระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโตที่แตกหัก

                ผมตั้งใจจะทำไว้ 3 องค์  ดังนั้นต้องหามวลสารเพิ่มเติม  เบื้องต้นผมมองไปที่พระผงดวงเศรษฐี 2 ซึ่ง ราคายังไม่แพง  คอยติดตามชมกันต่อนะครับ