วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เหรียญมังกรคู่กะไหล่ทอง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล





เหรียญมังกรคู่กะไหล่ทอง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
เหรียญมังกรคู่หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ปัจจุบัน( 14 มิถุนายน 2559) ถือว่าเป็นพระหลักของ หลวงปู่หมุน ที่ออกวัดป่าหนองหล่ม สร้างปี 2543 พิธีเสาร์ห้ามหาเศรษฐี  และเสกอีกหลายวาระพิธี
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 1   ทำพิธีเททองหล่อพระรูปเหมือน, รูปหล่อพิมพ์เบ้าทุบ   ครอบน้ำพุทธมนต์
รูปหล่อครึ่งซีกติดข้างขันน้ำมนต์ หลวงปู่หมุนอธิษฐานจิตเดี่ยวและเป็นประธานเททองที่ วัดป่าหนองหล่ม สระแก้ว เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 ทำพิธีพุทธาภิเษกที่อุโบสถ วัดสุทัศน์ 16 มีนาคม 2543
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 3 เสาร์ 5 วัดป่าหนองหล่ม วันที่ 8 เมษายน 2543
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 4 ที่วัดซับลำใย ในวันที่ 9 เมษายน 2543 โดยหลวงปู่หมุน อธิษฐานปลุกเสกตั้งธาตุ หนุนธาตุ หมุนธาตุ ชักยันต์ ครอบมณฑลพิธีอย่างตั้งใจ
ครั้งที่ 5 วัดสุทัศน์ฯ ในวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน เวลา 09.19 ที่อุโบสถวัดสุทัศน์ฯ
และด้วยกระแสความนิยมนี่เองทำให้ เหรียญมังกรคู่ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล  และวัตถุมงคลทุกชนิดของท่าน  มีการทำปลอมออกมาเกือบทุกรุ่น ในการเล่นหาสะสมหรือไว้บูชาต้องระวังเป็นอย่างสูง

ผมปกติจะไม่ค่อยชอบสะสมพระมาก่อน แต่นับถอยหลังไปเมื่อปลายปี 2557 ไม่รู้ว่ามีอะไรมาดนใจผมก็ไม่ทราบ ให้มีความใคร่อยากสะสมอยากมีไว้บูชา จุดเริ่มต้นที่หลวงพ่อคูณ  ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพผมเก็บสะสมไว้ได้หลายรุ่นมีมากสุดคือรุ่นสุคโต  มีอยู่ครั้งหนึ่งผมได้ไปจังหวัดสุรินทร์ และได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติเกี่ยวกับหลวงปู่หมุน ทำให้ผมเกิดความเลื่อมใส ตั้งใจว่าต้องเสาะแสวงหาวัตถุมงคลที่ทันท่านไว้บูชาให้จงได้ แต่วัตถุมงคลของท่านตอนนั้นก็แพงในความรู้สึกของผม  เนื่องจากผมไม่เคยเช่าบูชาพระที่มีราคาแพงๆมาก่อน  ทำไงทีนี้ผมคิดในใจ  แต่อยู่มาวันหนึ่งลูกน้องในแผนกที่ทำงาน  เอาเหรียญมังกรคู่หลวงปู่หมุนกะไหล่ทองมาปล่อยให้ในราคา 399 บาท ผมเห็นสวยงามดีก็เลยรับไว้  ตอนนั้นผมดูไม่เป็น  และอีกอย่างผมคิดว่าน่าจะปลอม  เพราะดูจากข้อมูลแล้วของแท้ราคาประมาณ 3000 – 4000 บาท ผมเก็บไว้บนหัวนอนเกือบปี  จึงหยิบขึ้นมาส่องดูใหม่ก็สวยดี แต่ทำไมกะไหล่ทองสีไม่เหมือนในเน็ท และถ่ายภาพเก็บไว้  นำภาพมาขยายดูตำหนิ  มีครบทุกจุด  ทำให้ผมศึกษาแบบเจาะลึก  และได้ข้อมูลที่พึงพอใจ  ผมสรุปว่าเหรียญแท้แต่กะไหล่ทองทำใหม่ครับ  เชิญท่านดูจากภาพตามครับ

เป็นภาพที่ถ่ายตอนยังไม่ใส่กรอบพลาสติก

ด้านหลังเหรียญครับ

ขอบตัดครับ

อีกด้านหนึ่ง

   ซึ่งตอนนั้นผมยังไม่ค่อยมีความรู้ด้านเหรียญมังกรคู่หลวงปู่หมุนเท่าที่ควร ต่อมาได้พยายามศึกษาอย่างจริงจังโดยการเทียบข้อที่ได้มา



ตัวอย่างโค๊ดที่เทียบครับ
ตัวอย่างโค๊ดแบบที่สาม


     เมื่อศึกษาและเทียบดูได้ข้อสรุปเรียบร้อย  ผมเลยนำไปใส่กรอบกันน้ำ มาชมภาพที่ที่ผมใส่กรอบพลาสติกกันครับ


เป็นภาพที่ถ่ายซูมผ่านแว่นขยาย

ถ่ายซูมผ่านแว่นส่องแล้วตัดเฉพาะโค๊ดครับ
                 และพออัดกรอบพลาสติกกันน้ำแล้ว  ด้วยความที่ว่าเมื่อพระแท้อย่าแท้เราคนเดียว    ต้องมองหาสถาบันรับรอง  เลยเกิดความคิดว่า  จะนำพระไปให้ทาง G-PRA    ตรวจสอบและออกบัตรให้เป็นการการันตี     อย่างน้อยก็เป็นองค์กรที่นักเล่นพระส่วนใหญ่ยอมรับ  ก็เลยทำการแกะกรอบพลาสติกออกก่อนเพื่อง่ายในการตรวจสอบ  แต่ตอนแกะกรอบออกพลาดไปนิด  ใช้ใบเลื่อยตัดถูกขอบเหรียญนิดนึงอย่างน่าเสียดาย มาชมภาพกันครับ









          เมื่อมีความชัดเจนอย่างนี้แล้ว  ผมมีความมั่นใจว่าแท้  100%  ผมจึงได้นำมาเขียนบทความออกสู่สายตาประชาชน  ไว้ผมส่งให้ G-PRA  ออกบัตรรับรองผมจะรายงานความคืบหน้าอีกครั้งหนึ่ง  ทุกท่านแสดงความคิดเห็นได้ครับ   ยินดีน้อมรับทุกคำติชม






วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลวงพ่อจื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ






หลวงพ่อจื่อ  พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ
หลวงพ่อจื่อ  พันธมุตโต (พระครูวิมลภาวนาคุณ) วัดเขาตาเงาะอุดมพร เป็นพระสงฆ์สายวิปัสสนา เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม หรือตรงกับวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๖ ที่ ต.บ้านกอก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ อุปสมบท วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ที่วัดศรีแก้งคร้อ ต.ช่องสามหมอ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระอุปัชฌาย์ คือ พระโพธิญาณมุนี ท่านกำเนิดมาในตระกูลคนยากจน บิดาเป็นคนเชื้อสายจีน ชื่อนายฮอ แซ่จึง มารดาเป็นคนไทยชื่อนางพี เฉลียวดี ท่านได้รับการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็ต้องออกมาช่วยที่บ้านทำงาน เมื่อโตขึ้นมาก็อาศัยว่ามีฝีมือในทางเย็บผ้า จึงรับจ้างเย็บผ้าหาเลี้ยงชีพ ท่านเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ก็ได้ทำงานในร้านก่อเกียรติ ซึ่งเป็นร้านตัดผ้าชั้นนำในเมืองหลวงยุคสมัยนั้น

หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต พระอริยสงฆ์แห่งภาคอีสาน วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน) อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น หลวงปู่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐาน ธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีความสงบร่มรื่นที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ทราบภูมิประเทศ แหล่งประกอบอาชีพและปัญหาการประกอบอาชีพของประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะภูมิประเทศอันเป็นแหล่งต้นกำเนิดแหล่งน้ำสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสูงจากอำเภอหนองบัวแดง ไหลผ่านอำเภอบ้านเขว้า หนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส และอำเภอเมืองชัยภูมิ เมื่อปี ๒๕๒๓ ขณะที่ท่านนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดเขาตาเงาะอุดมพร ประชาชนชาวหนองบัวระเหว ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ท่านจึงคิดพัฒนาแหล่งน้ำ "ลำเชียงทา" เป็นแหล่งน้ำที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำชี ว่าน่าจะได้มีแหล่งการเก็บกักน้ำไว้ใช้ เพื่อประโยชน์ของชาวชุมชนหนองบัวระเหวและชุมชนใกล้เคียง ท่านจึงได้นำพระภิกษุ ลูกศิษย์ และชาวบ้าน ร่วมกันก่อสร้างเขื่อนดินด้วยงบประมาณอันน้อยนิดของผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณของทางราชการที่สนับสนุน ทำให้ประชาชนในอำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอเมืองชัยภูมิ ทั้ง 3 อำเภอ ได้มีแหล่งน้ำใช้ทางการเกษตรกรรม หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต เป็นผู้เปี่ยมไปด้วยบารมี ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระนักสร้าง นักพัฒนา ได้สร้างคุณประโยชน์ให้ส่วนรวมมากมาย ทั้งถนนหนทาง และทำฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ วัดเขาตาเงาะอุดมพร ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๒ หมู่ ๔ บ้านหัวหนอง ตำบลหนองบัวระเหว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่โดยประมาณ ๒๐๐ ไร่ จากจังหวัดชัยภูมิ ผ่านบ้านเขว้า ถึงหนองบัวระเหว ๒๗-๓๐ กิโลเมตร โดยประมาณ เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๕ ชัยภูมิ-นครสวรรค์ โดยมี พระครูวิมลภาวนาคุณ (หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต) เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาตาเงาะอุดมพร

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ทำจากมวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาล





ภาพต้นแบบครับ


ล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ทำจากมวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโต ที่แตกหัก
บทความนี้ผมขอกล่าวถึงล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ทำจากมวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโต  สืบเนื่องมาจากที่ผมได้นำพระผงสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโต ไปให้ร้านทำกรอบพลาสติก (เลี่ยมกันน้ำ) ให้เจ้าหลานชายไว้แขวนบูชาเพื่อคุ้มครองและเป็นศิริมงคล แต่ร้านอัดกรอบพระฝีมือไม่ดีทั้งรานและแตกหักอย่างน่าเสียดาย  ดีที่ผมไปเช่าบูชาจากวัดมาหลายองค์
ทำให้ผมได้เกิดแนวคิดเสียดายผงพุทธคุณและมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาล ดีกว่าทิ้งไปเฉยๆ นำมาทำ ล็อคเก็ตหลวงปู่หมุน ไว้ใช้เองก็เข้าท่าดีเพราะ
พระสมเด็จเนื้อผงพิมพ์ทรงนิยมเกศทะลุซุ้ม รุ่น 214 ปีเกิดสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) มีชนวนมวลสารในการจัดสร้าง ที่สุดยอดกว่า พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผงทั้งหมดที่เคยจัดสร้างในนามวัดระฆังฯ มาแล้วทั้งหมด เนื่องจากเป็นการนำมวลสารเก่าของพระพิมพ์สมเด็จทุกรุ่นที่วัดระฆังฯเคยจัดสร้าง นำมาบดรวมกันเป็นชนวนมวลสารของพระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้(มีรุ่นนี้รุ่นเดียว=ได้พุทธคุณครอบคลุมครบทุกรุ่นของวัดระฆังฯ) ดังนี้
1 มวลสารเก่าของวัดระฆัง ผงสมเด็จชำรุด ผงพระปิลันท์ ผงดินสอพอง
2 พระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุดแตกหัก รุ่น100ปี,รุ่น108ปี,รุ่น118ปี,รุ่นเสาร์ห้าครั้งที่1,รุ่นเสาร์ห้าครั้งที่2

สรุปได้ว่า เพียงรุ่นเดียวพิมพ์เดียว ได้พุทธคุณครอบคลุมครบทุกรุ่นของวัดระฆังฯ

ขั้นตอนกำลังเตรียมภาพถ่าย
พระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโตที่แตกหัก

พระสมเด็จวัดระฆัง 214ปีชาลกาลสมเด็จโตที่แตกหัก

                ผมตั้งใจจะทำไว้ 3 องค์  ดังนั้นต้องหามวลสารเพิ่มเติม  เบื้องต้นผมมองไปที่พระผงดวงเศรษฐี 2 ซึ่ง ราคายังไม่แพง  คอยติดตามชมกันต่อนะครับ




วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 214ปี ชาตกาลสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี






พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 214ปี ชาตกาลสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 214ปี ชาตกาล สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) "เป็นท๊อกอ๊อฟเดอะทาวน์ดังระดับประเทศ" วัตถุมงคลรุ่นนี้ กำลังเป็นที่ฮือฮาในวงการพระเครื่อง สืบเนื่องมาจาก เหตุผลดังต่อไปนี้
1. มีการค้นพบข้อมูล จากพยานเอกสารและพยานบุคคลระบุว่า หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นนี้
2. พระสมเด็จเนื้อผงทรงนิยม รุ่น214 ที่มีจำนวนสร้าง 300,000 องค์ ถอดพิมพ์มาจาก พระสมเด็จหล่อโบราณหลวงปู่หมุน พิธีมหาสมปรารถนา ปี2543 ที่กำลังมาแรง ในวงการพระเครื่อง
3. รุ่น214ปี เป็นพระเครื่องรุ่นสุดท้าย ที่จัดสร้างในนามวัดระฆังฯและรุ่นสุดท้ายที่ได้ปลุกเสกในอุโบสถวัดระฆังฯ ซึ่งพระเครื่อง ที่ออกในนามวัดระฆังฯวัดสร้างทั้งหมด มีดังต่อไปนี้
1 รุ่น100ปี พ.ศ.2515
2 รุ่น108ปี พ.ศ.2523
3 รุ่น118ปี พ.ศ.2533
4 รุ่นเสาร์ 5ครั้งที่1 พ.ศ.2536
5 รุ่น122ปี พ.ศ.2537
6 รุ่นเสาร์5ครั้ง2 พ.ศ.2539
7 รุ่น214 ปี พ.ศ.2545
นอกนั้น ที่พบเห็นอีกหลายรุ่น ไม่ได้จัดสร้างในนามวัดระฆังฯ คือแต่ละคณะไปจัดสร้างกันเองหรือหน่วยงานอื่นมาขอจัดสร้าง
4. พระสมเด็จเนื้อผงพิมพ์ทรงนิยม รุ่น 214 ปีเกิดสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) มีชนวนมวลสารในการจัดสร้าง ที่สุดยอดกว่า พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผงทั้งหมดที่เคยจัดสร้างในนามวัดระฆังฯ มาแล้วทั้งหมด เนื่องจากเป็นการนำมวลสารเก่าของพระพิมพ์สมเด็จทุกรุ่นที่วัดระฆังฯเคยจัดสร้าง มาบดรวมกันเป็นชนวนมวลสารของพระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้(มีรุ่นนี้รุ่นเดียว=ได้พุทธคุณครอบคลุมครบทุกรุ่นของวัดระฆังฯ) ดังนี้
4.1 มวลสารเก่าของวัด ผงสมเด็จชำรุด ผงพระปิลันท์ ผงดินสอพอง
4.2 พระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุดแตกหัก รุ่น100ปี,รุ่น108ปี,รุ่น118ปี,รุ่นเสาร์ห้าครั้งที่1,รุ่นเสาร์ห้าครั้งที่2
สรุปได้ว่า เพียงรุ่นเดียวพิมพ์เดียว ได้พุทธคุณครอบคลุมครบทุกรุ่นของวัดระฆังฯ เป็นพระยอดนิยมของสมาคมฯ โดยบรรจุเป็นปฐมฤกษ์ในงานประกวดวันที่ 5 มิถุนายน2559   ซึ่งเป็นการเปิดตัวในงานประกวดที่ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ เพราะครั้งนี้ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเป็นเจ้าภาพด้วยตนเอง ดังนั้นใบประกาศพระติดรางวัลงานนี้ จะลงนามโดย ท่านพยัพ คำพันธ์ นายกสมาคมฯและคุณต้อย เมืองนนท์ รองนายกสมาคมฯ เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ
พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 214ปี ชาตกาล ได้ทำพิธีปลุกเสกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2545 พระได้ตกค้างอยู่ที่วัดระฆัง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี  แต่เมื่อมีการค้นพบหลักฐานว่า มีหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ซื่งเป็น 1 ใน 108 เกจิ ที่มาร่วมปลุกเสก หลังจากนั้นไม่ถึงสองเดือน ประชาชน  นักเล่นสะสมพระ  ต่างหลั่งไหลกันมาและเช่าบูชาจนหมดวัด  นับว่าสุดยอดจริงๆ ในบารมีของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
ขออธิบายเพิ่มเติมด้วยบทความของท่าน ประธานมูลนิธิหลวงปู่หมุน  ฐิตสีโล นะครับ  แล้วท่านจะทราบข้อเท็จจริง 
หลักฐาน การร่วมพิธีปลุกเสกสมเด็จ 214ของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล


          พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 214 ปี















: 728px;">

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

เหรียญหมุนเงินหมุนทองหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล






เหรียญหมุนเงินหมุนทองหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล


เหรียญหมุนเงินหมุนทองหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ออกวัดป่าหนองหล่ม ปี ๔๒ จากภาพ เป็นเหรียญบาง ประคำ ๑๘ เม็ด สภาพสวย พร้อมบัตรรับรองจากศูนย์การันตีพระ เหรียญหมุนเงินหมุนทอง เป็นเหรียญที่เข้าพิธีปลุกเสกหลายวาระดังนี้
ขั้นตอนพิธีกรรม ในการสร้างวัตถุมงคลรุ่นเจริญลาภ
วันที่ ๑ ตุลาคม ๔๒ ถึง ๓๐ ตุลาคม ๔๒ หลวงปู่หมุน ปลุกเสกมวลสาร
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๔๒ ทำพิธีพุทธาภิเษกเททองหล่อ พระกริ่ง พระบูชา โดยมีพระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศน์ ฯ จุดเทียนชัย หลวงปู่หมุนเป็นประธานพิธี
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึง ๑๙ พฤศจิกายน ๔๒ วัตถุมงคลต่างๆ ถวายให้ หลวงปู่หมุน ปลุกเสกเดี่ยวที่กุฏิ ยกเว้นพระกริ่ง และพระบูชาที่นายช่างต้องนำไปตกแต่งให้เรียบร้อย
วันที่ ๒๐,๒๑ พฤศจิกายน ๔๒ วัตถุมงคลทั้งหมดมาทำพิธีพุทธาภิเษก วันเพ็ญเดือนสิบสองที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ตามตำราสมเจพระสังฆราชแพ
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน  ถึง ๒ ธันวาคม ๔๒ นำวัตถุมงคลทั้งหมดไปถวายให้ท่านเสกเดี่ยวอีกครั้ง
วันที่ ๔-๖ ธันวาคม ๔๒ นำพระกริ่งและวัตถุมงคลมาแช่น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ผสมน้ำมนต์กลางหาว ทำพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดซับลำใย จ.ลพบุรี โดยมีหลวงปู่หมุนเป็นประธานในพิธี
พิธีเททองหล่อพระกริ่งเจริญลาภ และพุทธาภิเษก วัตถุมงคลรุ่นนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ มีปรากฏการณ์ที่อัศจรรย์เกินที่จะบรรยายได้ อาทิ มีฝนตกพร่ำตลอดในช่วงก่อนทำพิธีแต่เมื่อถึงเวลาปราฏกว่ามีแดดจ้าออกมาอย่างเหลือเชื่อ ทั้งที่บริเวณรอบวัดมีฝนตกอย่างหนัก และเมื่อหลวงปู่ท่านนั่งสมาธิ บริกรรมภาวนาเข้าฌานสมาบัติ เพื่ออธิฐานจิตเททองหล่อพระนั้นปรากฏว่า เสียงอื้ออึงของผู้คนกว่าพันคนและเสียงสัตว์นานาชนิดที่อยู่บริเวณรอบๆ ซึ่งเป็นป่าเงียบสนิทราวกับว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลยทั้งหลวงปู่ท่านได้อัญเชิญบารมีพระรัตนตรัย ในการอธิษฐานจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านได้เชิญครูบาอาจารย์ต่างๆ มารับรู้ในการทำพิธีในครั้งนี้ด้วย อาทิ สมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์, หลวงปู่เทพโลกอุดร, ล.ป. ศุข วัดปากคลอง, ล.พ. จาด วัดบางกระเบา, ล.พ. เดิม, ล.พ. เอีย, ล.พ. ปุคคโล, ล.ป.ดำ และครูบาอาจารย์ต่างๆ หลายท่าน เพื่อเป็นสักขีพยานและประสิทธิประสาทวัตถุมงคลชุดนี้ให้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์แบบตามตำราโบราณสืบไป

ในขณะที่เททองหล่อองค์พระอยู่นั้น หลวงปู่ได้เจริญธาตุวัฏฐานสมาบัติทำกิริยาอาการเอื้อมมือคว้าอากาศมาบริกรรมปลุกเสกที่ปากและทำการจับเหวี่ยงเข้าเบ้าดินไทยที่เทพระกริ่งและพระบูชาทุกองค์ทุกเบ้าจนครบวิชาอาคม แบบนี้ยังเป็นที่สงสัย และปลาบปลื้มปิติของทุกคนที่ได้พบเห็น แต่ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันหนักแน่นในความขลังศักดิ์สิทธิ์ถึงขั้นสุดยอดของวิชาตามตำราพิชัยสงครามที่ในปัจจุบัน ยังไม่มีภิกษุที่สามารถกระทำได้

รายการวัตถุมงคล รุ่น เจริญลาภ มีดังนี้
๑.พระบูชา ๕ นิ้ว เชียงแสนจกบาตร จำนวนสร้าง ๕๙ องค์
๒.พระกริ่งเจริญลาภ จำนวนสร้าง ๙๙๙ องค์
๓.ล็อกเก็ตรูปเหมือนสี่เหลี่ยม จำนวนสร้าง ๙๙๙ องค์
๔.แหวนปลอกมีดสร้างจากชนวนพระกริ่ง จำนวนสร้าง ๕๙๙ วง
๕.กำไลนาค หนัก ๒.๕ บาท จำนวนสร้าง ๙ วง
๖.กำไลเงิน หนัก ๑ บาท จำนวนสร้าง ๕๙๙ วง
๗.รูปเหมือนหลังเตารีด เนื้อชนวนพระกริ่ง จำนวนสร้าง ๙๙๙ องค์

พิธีเททองหล่อพระกริ่งพระบูชาแบบเข้าเบ้าดินไทยโบราณอันศักดิ์สิทธิ์  (เข้าพิธีรุ่นเดียวกับกริ่งเจริญลาภ) มีวัตถุมงคลดังนี้
๑.รูปหล่อลอยองค์เหลืองรมดำ
๒.พระผงรูปเหมือน นั่งตั่ง (ฝังตะกรุดทองคำ-เงิน ,ไม่ฝังตะกรุด)
๓.พระผงปิดตา
๔.เหรียญหมุนเงิน หมุนทอง
๔.๑ เนื้อทองคำ  ตามจอง
๔.๒ เนื้อเงิน    จำนวนสร้าง ๕๐๐    เหรียญ
๔.๓ เนื้อทองแดง จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
๕.เหรียญทองแดง หมุนเงิน หมุนทอง แบบมีตะกรุด
๖.ถุงโภคทรัพย์เจริญลาภ ๙๙๙ ล้าน จำนวนสร้าง ๓,๐๐๐ ถุง
๗.พระสมเด็จ

๘.เหรียญอาร์ม หลังนารายณ์ทรงครุฑ เนื้อทองแดง จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ




: 728px;">