วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พระผงรูปเหมือน พิมพ์นั่งซุ้มพญานาค หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล



-->



พระผงรูปเหมือน พิมพ์นั่งซุ้มพญานาค หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน 2543
             พระผงรูปเหมือน พิมพ์นั่งซุ้มพญานาค หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน 2543 จ.ศรีสะเกษ ทำพิธีปลุกเสกที่วัดป่าหนองหล่ม จ.สระแก้ว เมื่อ 29 ตุลาคม 2543 โดยมีเกจิอาจารย์ดัง ร่วมปลุกเสกหลายรูป องค์พระมีความสวยงาม พุทธคุณเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ค้าขายดีมากๆ


หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ก่อนละสังขารหลวงปู่หมุน ได้กล่าว วาจาสิทธิ์ ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ "ของๆ ฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะมีโชคลาภร่ำรวยตลอดเวลา ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดๆ ก็รุ่งเรือง มีเจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นความชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายร้อยเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไปด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน คำบูชาหลวงปู่หมุน ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วกล่าวว่า ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบ ไหว้ แล้วว่า  อิ มะ มะ มา มา รวม 7 ครั้ง

-->

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เหรียญมังกรคู่ เสาร์ 5 หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน จ.ศรีษะเกษ


เหรียญมังกรคู่ เสาร์ 5 หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน จ.ศรีษะเกษ
       
เหรียญมังกรคู่ เสาร์ 5 หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน จ.ศรีษะเกษ เป็นพระออกที่ วัดป่าหนองหล่ม อ.วัฒนานคร  จ.ศรีษะเกษ  ในพิธีเสาร์ 5 มหาเศรษฐี  ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มีอายุ 105 ปี หลวงปู่หมุน ท่านเป็นพระเถระผู้มีวาจาสิทธิ์ และแก่กล้ากสิน -กรรมฐาน แตกฉานในวิทยา อาคมต่างๆ เป็นผู้ที่สืบสายวิชาจากสมเด็จลุน ซึ่งเป็นพระผู้ทรงอภิญญา ที่โด่งดังก้องแดนประเทศลาว และอีสาน ดังนั้นไม่แปลกใจเลย วัตถุมงคลของท่านมีผู้เลื่อมใสศรัทธาตามเช่าเก็บสะสมเสมอ..และนับวันจะหาจะหายากขึ้น...และมีราคาแพง
โดยเหรียญมังกรคู่ เสาร์ 5 หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน รุ่นนี้จัดพิธีปลุกเสกเสาร์ 5 ซึ่ง เป็นวันแข็ง โบราณจารญ์ ท่านว่าปลุกเสกในวันนี้แล้ว วัตถุมงคลจะไม่มีวันเสื่อม
โดยมีพิธีพุทธาภิเษก 5 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543 ทำพิธีเททองหล่อพระรูป เหมือน,รูปหล่อพิมพ์เบ้าทุบ ครอบน้ำพุทธมนต์ รูปหล่อครึ่งซีกที่ติดข้างขันน้ำมนต์ หลวงปู่หมุนอธิษฐานจิตเดี่ยวและเป็นประธานเททองที่ วัดป่าหนองหล่ม จ.สระแก้ว
ครั้งที่ 2 วันที่16 มีนาคม 2543 ทำพิธีพุทธาภิเษกที่ อุโบสถ วัดสุทัศน์ โดยมีหลวงปู่ละมัย วัดโพธิ์เย็น เพชรบูรณ์ (อายุ 101 ปี),หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี,หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา,หลวงปู่ผล วัดโนนทอง ลพบุรี,หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อสินธิ์ชัย วัดโพธิ์เย็น เพชรบูรณ์,หลวงพ่อ ถนอม คณะ 2 วัดสุทัศน์ฯ

ครั้งที่ 3 วันที่ 8 เมษายน 2543 ในวันทำพิธีพุทธาภิเษกนั้นเวลา 02.30 น.ของวันพิธีพุทธาภิเษกเสาร์๕ ที่วัดป่าหนองหล่ม หลวงปู่หมุน เป็นประธานพิธีร่วมกับหลวงปู่กอง อายุ 102 ปี วัดสระมณฑล อยุธยา,หลวงปู่ละ มัย วัดโพธิ์เย็น เพชรบูรณ์ อายุ 101 ปี หลวงพ่อสมจิตร(อิน) วัดบ้านด่าน ศิษย์เอกหลวงพ่อเอีย และ หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน พระเกจิอาจารย์ผู้อยู่เหนือกาลเวลา นักบุญแห่งบ้านละล่ม จังหวัดบุรีรัมย์ มาอธิษฐานจิตตั้งกสิณไฟ ปลุกเสกเดี่ยวก่อนในเวลาตี 3 กว่าเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ แล้วท่านก็ได้กลับไปในเวลา 04.30 น. โดยประมาณ  เป็นที่ปลาบปลื้มแก่ผู้ที่อยู่ร่วมอยู่ในพิธีในขณะนั้น จากนั้นเมื่อถึงเวลาฤกษ์พิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่หมุน ได้จุดเทียนชัยมงคลนำฤกษ์ และได้เริ่มกำหนดจิตอธิฐานปลุกเสกโดยในพิธีนี้ได้มีพระเกจิอาจารย์ร่วมใน พิธีพุทธาภิเษก ทั้งสิ้น 4 ท่านโดยได้ประจำทิศทั้ง4ทิศ อันประกอบด้วย
           
หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน โดยขณะนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองหล่ม หลวงละมัย สำนักสวนสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์ ผู้สำเร็จวิชาปรอท และโด่งดังมาก ในวิชาสมุนไพรและวิชาปรอท  หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล จ.อยุธยา พระเกจิผู้แตกฉานและสืบทอดวิชาทำตะกรุดและวัตถุมงคลต่างๆสายวิชา วัดประดู่ในทรงธรรม สำนักตักศิลา แห่งเมืองเก่าอยุธยา  หลวงพ่อสมจิตร วัดบ้านด่าน(ศิษย์เอก หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน)  เทพเจ้าแห่งเมืองหน่อไม้ไผ่ตรง ผู้สืบทอดเวทยาอาคมทุกๆ ด้านจากหลวงพ่อเอีย จนหมดไส้หมดพุง



ครั้งที่ 4 วันที่ 9 เมษายน 2543 ที่วัดซับลำใย ทำพิธีพุทธาภิเษก โดยหลวงปู่หมุน อธิษฐานปลุกเสาตั้งธาตุ หนุนธาตุ หมุนธาตุ ชักยันต์ ครอบมณฑลพิธีอย่างตั้งใจ
ครั้งที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน เวลา 09.19  ที่อุโบสถวัดสุทัศน์ฯ
เหรียญหลวงปู่หมุน มังกรคู่ โดยส่วนมากจะเป็นเหรียญทองแดง  ส่วนเหรียญทองแดงกะหลั่ยทอง เป็นเหรียญแจกกรรมการ สร้างน้อยและหายาก  มีจำนวน 100 เหรียญเท่านั้น กะหลั่ยทองดั้งเดิมนั้น ผิวจะหนาๆ มีการชุบ 2 ชั้น  ชั้นแรกชุบเงินรองพื้น ชั้นที่สองชุบทอง เวลาห้อยคอหรือใช้งานไป  ผิวทองจะลอก และเห็นกะหลั่ยเงินที่อยู่ด้านใน  จุดที่จะลอกก่อน คือ ที่บริเวณจมูกพระ
ส่วนเหรียญหลวงปู่หมุน มังกรคู่ ที่นำมาชุบใหม่ เพื่ออัพราคานั้น กะหลั่ยทองจะบาง เหรียญจะดูคมชัดกว่า และอายุกะหลั่ยน้อยกว่า 12 ปี (เหรียญพระมีจมูกยุบ แต่กะหลั่ยทองไม่ลอก ระวังให้ดี.. ของแท้ดั้งเดิมสร้างแค่ 100 เหรียญ

แต่ที่เห็นตามหน้ากระดานประมูลของเว็บต่างๆ มีมากมายจริงๆ ราคาเหรียญทองแดงรมดำเดิมๆ ปิดประมูล 3 พันกว่าๆ  ทองแดงรมดำนำไปชุบทอง ลงทุนชุบ 50-200บาท มาปล่อยในราคา 10,000-15,000 บาท ผู้ที่ประสบการณ์น้อยกระดูกอ่อนๆ  อย่างเราๆ ก็โดนไปตามระเบียบ


พระผงสมเด็จแพพันหลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง



-->
พระผงสมเด็จแพพันหลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง

ประวัติหลวงพ่อแพ

หลวงพ่อแพ กำเนิดใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปี มะเส็ง ณ ต.สวนกล้วย อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี บิดาของหลวงพ่อชื่อ นายเทียน มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิต 4 คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง แต่เมื่อท่านได้อายุ 8 เดือน มารดาก็เสียชีวิต หลังจากที่มารดา ท่านจากไปแล้ว นายบุญ ขำวิบูลย์ ผู้เป็นอา และ นางเพียร ภรรยา จึงได้ได้ขอหลวงพ่อมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
เกิด                         วันที่ 1 มกราคม 2448 
บรรพชา                วันที่ 15 เมษายน 2463  ณ วัดพิกุลทอง
อุปสมบท               วันที่ 21 เมษายน 2469  ณ. พัทธสีมาวัดพิกุลทอง
มรณภาพ               วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542
รวมสิริอายุ            94 ปี
การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพนั้น ท่านมิได้เน้นเรื่องความสวยงาม หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้น ๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคม ทั้งอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง และด้วยพลังบริสุทธิ์ดังกล่าว จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพรุ่นต่าง ๆ มีประสบการณ์อภินิหารมากมาย สืบสานยาวนานมาจนทุกวันนี้
พระผงที่มีเนื้อหาจัดที่สุด ฝีมือปราณีตที่สุด และมีราคาแพงมากที่สุดของท่าน คือ พระสมเด็จแพพัน ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ คำว่า แพพัน นั้น ปรากฎที่ด้านหลังองค์พระ อยู่ชิดขอบองค์พระด้านล่าง ใต้รูปเหมือนของท่านที่หันไปทางด้านซ้ายมือของเราทุกรุ่น โดยมีคำว่า แพอยู่ด้านซ้าย และคำว่า พันอยู่ด้านขวา
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านสร้างพระไว้มาก แต่ที่นิยมแพร่หลายนั้น ส่วนมากจะเป็นเนื้อผง และพระเนื้อผงที่มีเนื้อหามวลสารจัด และมีราคาแพงมากที่สุดของท่าน คือพระสมเด็จแพพัน ที่สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๐ คำว่า แพหมายถึง หลวงพ่อแพส่วนคำว่า พันนั้น หมายถึง หลวงพ่อพันหรือ พระอธิการพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพิกุลทององค์ก่อน ซึ่งเป็นอดีตพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของท่าน ส่วนด้านหลัง จะเป็นอักขระตัวยันต์ พุฒซ้อนที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ พระสมเด็จ แพพันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเชื่อกันว่า มีพุทธคุณดีในด้านเมตตามหานิยม, แคล้วคลาด อุดมด้วยลาภผล โภคทรัพย์และสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อแพท่านมีศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแพจึงได้สร้างพระสมเด็จขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างวัตถุมงคลชุดพระสมเด็จของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ พระองค์นี้เป็นสมเด็จแพพัน หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ปีพ.ศ.๒๕๑๐  สมเด็จรุ่นแพพัน เป็นรุ่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือไปถึงแดนไกล ส่วนมากจะถูกนิมนต์ไปอยู่ต่างประเทศ  ของแท้ที่หมุนเวียนอยู่ในวงการพระเครื่องเมืองไทยมีน้อยมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dooasia.com/prathai/152.shtml







-->

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พระกริ่งพรหมปัญโญ ๙๔ หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี



-->
พระกริ่งพรหมปัญโญ ๙๔ หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี

พระกริ่งพรหมปัญโญ ๙๔ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี  อ.ปราสาท จ.สุรินทร์





-->